ซักซ้อม "วิธีการสร้าง KV"


คงถึงเวลาที่รุ่นพี่ ๆ ควรถ่ายทอดความรู้และฝึกวิชาชีพส่งเสริมการเกษตรที่ถูกต้องให้กับคนรุ่นหลังได้ก้าวเดินในทิศทางที่เป็น "นักส่งเสริมฯมืออาชีพ" ได้อย่างสง่าผ่าเผยและมีศักดิ์ศรี

   เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ได้เข้าร่วมประชุมทีมงานจัดการความรู้ ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกระบวนการ "สร้างความรู้ความเข้าใจ" เกี่ยวกับการจัดการความรู้ให้กับผู้บริหารในสังกัดสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้แก่  ผอ. ส่วนฯ  ผอ. กลุ่ม  และหัวหน้าฝ่าย  ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 17  กรกฏาคม 2549  ณ ห้องประชุมขยายเมล็ดพันธุ์พืช  ชั้น 4

                                  

   โดยเนื้อหาสาระที่เป็นเป้าหมายหลัก ได้แก่  1)  แนวคิดและหลักการการจัดการความรู้  2) การสร้าง KV  และ 3) การค้นหาความรู้ภายในองค์กร 

   นอกจากนี้ในที่ประชุมก็ได้มีการจัดสรรและแบ่งบทบาทหน้าที่เป็นทีมงานย่อย ๆ คือ  ทีมงานวิชาการ  คลังความรู้  บริการ  และ ทีมงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

   ทีนี้พอมาถึงประเด็น ของการ "สร้าง KV...จะทำกันอย่างไรดีละ...ถึงจะได้เป้าหมายงาน ของสำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีออกมา" ฉะนั้น ที่ประชุมจึงปรึกษาหารือและเริ่มจากทดลองค้นหาองค์ความรู้ที่องค์กรมาอยู่ก่อน แล้วค่อยนำมาใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายที่เป็นไปได้ โดยเริ่มจาก

     ขั้นที่ 1  รวบรวมองค์ความรู้  โดยให้ทุกคนตอบโจทย์ที่ว่า "ในความคิดเห็นของท่าน...ท่านคิดว่า...ตัวท่านเองมีความรู้อะไรบ้าง?...ที่ท่านทำเป็น"

   หลังจากนั้นก็มีการแจกบัตรคำให้ทุกคนเขียน  แล้วนำมาประมวลเป็นคำตอบรวม คือ

     1)  พัฒนาบุคลากร 

     2)  ผลิตสื่อ

     3)  การออกแบบสื่อ

     4)  การฝึกอบรม

     5)  การประสานงานและให้บริการ

     6)  การจัดการหนังสือ

     7)  เทคนิคการผลิตสื่อฝึกอบรมและเผยแพร่

     ขั้นที่ 2  ประเมินองค์ความรู้  จากคำตอบที่ประมวลออกมาและทำการจัดกลุ่มเป็น 7 เรื่อง ซึ่งได้ทำการประเมิน โดยตั้งโจทย์ว่า  "แต่ละท่านช่วยประเมินดูซิว่า...ในขณะนี้นั้น...ความรู้ดังกล่าวขององค์กรเราอยู่ในระดับใด?"  ซึ่งได้หยิบยกเกณฑ์การประเมินขึ้นมา 2 เกณฑ์ เพื่อให้พิจารณาเลือก คือ

          1)  ให้เกรด เป็น 4 เกณฑ์ คือ

     A  = 4                     C  = 2

     B  = 3                     D  = 1

          2)  เกณฑ์ให้นำหนัก เป็น  5 เกณฑ์ คือ

     5  =  รู้มากที่สุด                     2  =  รู้น้อย

     4  =  รู้มาก                             1  =  รู้พอใช้

     3  =  รู้ปานกลาง

     ทั้งนี้  ที่ประชุมมีมติให้เลือกเกณฑ์ที่ 2  เพราะเข้าใจง่ายและใช้ง่าย

   ดังนั้น  เมื่อนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ประเมินความรู้ความสามารถที่องค์กรมีอยู่ในขณะนี้นั้น มีผลออกมา คือ

     1)  พัฒนาบุคลากร                    ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3 

     2)  ผลิตสื่อ                                ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3 

     3)  การออกแบบสื่อ                   ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3 

     4)  การฝึกอบรม                         ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3 

     5)  การประสานงานและให้บริการ  ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3 

     6)  การจัดการหนังสือ  แบ่งเป็น

           (1)  เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3            

           (2)  ผู้รับบริการ                   ผลการประเมินอยู่ในระดับ  2

     7)  เทคนิคการผลิตสื่อฝึกบรมและเผยแพร่ ผลการประเมินอยู่ในระดับ  3 

     ขั้นที่ 3  ประมวลสรุปผล  เมื่อได้ผลข้อมูลของระดับความรู้ที่องค์กรมีอยู่ในขณะนี้นั้นก็ได้ถามโจทย์ต่อไปว่า "จากความรู้ที่มีอยู่ในขณะนี้...เราสามารถตั้งเป้าหมางานทำอะไรได้บ้างที่น่าจะบรรลุผล"  ซึ่งคำตอบที่เกิดขึ้นที่เป้าหมายที่เราจะทำ คือ "สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด"

     ขั้นที่ 4  การปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย  โดยเสริมจัดแข็งและแก้จุดอ่อน จากข้อมูลของระดับความรู้ที่องค์กรมีอยู่ก็ได้นำมาใช้ในการยกระดับและการพัฒนาเจ้าหน้าที่ ในองค์กรให้สามารถปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย เช่น 

         1)  การเขียนหนังสือราชการที่อยู่ในระดับ 2 ก็จะพัฒนาและยกระดับเป็น 4  (ส่วนวิธีการทำอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องแลกเปลี่ยนและวางแผนกันต่อไป) 

         2)  การพัฒนาบุคลากรที่อยู่ในระดับ 3 ก็จะยกระดับเป็น 4  (ส่วนวิธีการทำอย่างไรนั้นเป็นรายละเอียดที่ต้องแลกเปลี่ยนและวางแผนกันต่อไป)

                                  

     นี่เป็นเพียงตัวอย่างที่ทีมงานได้ทำการซักซ้อมกระบวนการก่อนที่จะลงมือทำจริง โดยมีทีมงานวิชาการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ขณะปฏิบัติการณ์จริง  ซึ่งมี คุณนันทา ติงสมบัติยุทธิ์  และ ดิฉัน (ศิริวรรณ  หวังดี)  เป็นเพียงที่ปรึกษาเท่านั้น  และคงถึงเวลาที่ควรจะฝึกคนรุ่นใหม่ให้ทำงานในวิชาชีพส่งเสริมการเกษตรเป็น.

                                              ศิริวรรณ  หวังดี

 

หมายเลขบันทึก: 36177เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2006 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ดีใจด้วยที่เห็นความก้าวหน้า km สพท. วันที่ 13 ก.ค.คงเป็นเวทีที่มีชีวิตชีวา

อยากไปร่วมงานด้วยอ่ะ..แต่ติดภารกิจที่เราต้องเป้นเจ้าภาพก็เลยไปไม่ได้..ยังไงก็จะติดตามนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท