การป้องกันโรคจุดวงแหวนของมะละกอ.......แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน


ป้องกันเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นพาหะของโรค
การป้องกันโรคจุดวงแหวนของมะละกอ.......แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน        วันนี้ได้มีการนั่งคุยกัน มีสาวน้อยนางหนึ่งเดินเข้ามาแล้วชักชวนกันว่า เที่ยงนี้เราไปทานส้มตำด้วยกันมั้ย ? ซึ่งแน่ล่ะ! ใครจะไปปฏิเสธมันเป็นอาหารยอดนิยมไปเสียแล้ว  ในวงสนทนาก็เลยเปิดประเด็น โรคจุดวงแหวนของมะละกอขึ้นมา ด้วยความเป็นห่วงว่า จะไม่ได้ทานส้มตำของโปรดกันอีกต่อไป หากไม่สามารถควบคุมโรคนี้ ได้  โรคนี้ไม่สามารถรักษาได้ต้องใช้วิธีการป้องกันเพียงอย่างเดียว      คุณบุญเกื้อ ผู้มีประสบการณ์การปลูกมะละกอ ได้เคยเดินทางไปในแหล่งปลูกมะละกอภาคกลาง ได้เห็นภูมิปัญญาชาวบ้าน  แก้ไขการระบาดของเชื้อไวรัสในมะละกอ   โดยการตัดต้นมะละกอที่เป็นโรคซึ่งแสดงอาการแรกเริ่มเป็นจุด ที่ลำต้นส่วนบน  และยอดเริ่มหงิก  ตัดมาไว้นอกสวนและใช้น้ำมันดีเซลหรือน้ำมันโซล่าฉีดพ่น  เพื่อป้องกัน เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค และแมลงอื่นๆ ที่เข้าทำลายมะละกอได้ เช่น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เหตุที่ใช้น้ำมันดีเซลเพราะ น้ำมันดีเซลมีกลิ่นเหม็น แมลงเหล่านั้น ไม่มารุมตอมและหาอาหารเป็นเหตุให้เชื้อไวรัสไม่ระบาดไปกับแมลงพาหะที่แพร่เชื้อโรค  เป็นการช่วยป้องกันอีกทางหนึ่งเพื่อรักษามะละกอและอาหารจานโปรดเอาไว้
คำสำคัญ (Tags): #โรคของไม้ผล
หมายเลขบันทึก: 36083เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

แล้วลูกมะละกอจะมีปัญหามั้ยค่ะ

ผลมะละกอของต้นที่เป็นโรค ถ้ามีอาการของโรคน้อยหรือเกิดเฉพาะที่ใบ ผลอาจจะเป็นปกติ แต่ถ้าเป็นมากจะมีอาการที่ผลด้วย ผลจะเสียหาย รับประทานไม่ได้ ถ้าเป็นโรคมากจะไม่มีผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท