เทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์


เทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

               มัลติมีเดีย (Multimedia) พัฒนามาพร้อมกับการออกเเบบระบบคอมพิวเตอร์ ให้มีปฏิสัมพันธ์หรือโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ผู้ใช้ ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า เมาส์ (mouse) ชี้ตำแหน่งบนจอภาพ ใช้แป้นพิมพ์ (keyboard)ป้อนข้อมูล หรือใช้ จอยสติก( joystick )ควบคุมการเคลื่อนไหวของภาพในขณะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ส่วนคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลโต้ตอบเป็นข้อความ และภาพทางจอภาพ เป็นเสียงออกทางลำโพง สื่อมัลติมีเดียเช่นนี้เรียกว่า สื่อมัลติมีเดียที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้         

ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นสื่อมัลติมีเดียชนิดหนึ่ง

               การที่คอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปได้ทันที ทำให้ผู้ที่ใช้สื่อมัลติมีเดียสำหรับการศึกษา สามารถประเมินผลการเรียนหรือทราบผลความก้าวหน้าในการเรียนของตนเองได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ตามความสนใจ และช้าเร็วตามความสามารถของตนเอง

ตัวอย่างการนำเอาสื่อมัลติมีเดียมาใช้

                 การนำเอาคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียมาใช้ในยุคแรก ๆ นั้น อยู่ในรูปของเกมเพื่อความสนุกสนาน ชื่อที่เรียกว่า นินเทนโด (Nintendo)หรือ เซกา(Zega)หรือ แฟมมิลี่ (Family) นั้น เป็นชื่อเรียกตามชื่อเครื่องเล่นเกมที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เด็ก ๆ คุ้นเคยกับตลับเกมเล็ก ๆ เสียบลงบนอุปกรณ์เล่นเกม แล้วต่อภาพออกจอทีวี ภาพและสีที่มองเห็นบนจอทีวีนั้น มีความเร้าใจ ท้าทายให้เอาชนะ บางครั้งเต็มไปด้วยความดุเดือดรุนแรงด้วยการขาย "ความมัน" เหล่านี้ จึงทำให้เกมเหล่านี้ครองตลาดบันเทิงสำหรับเด็ก ๆ นับแต่ ค.ศ.1980 เป็นต้นมา

เกม ตัวอย่างของสื่อมัลติมีเดียที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

 

 


 

ที่มา :  พรวิไล  เลิศวิชา. มัลติมีเดียเทคโนโลยี กับโรงเรียนในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ. สวทช.2544

http://www.basice.co.th/ 

หมายเลขบันทึก: 36079เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท