บนความแตกต่างของนักศึกษาปริญญาเอกในญี่ปุ่นและไทย - ทำไมจึงกลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพได้???


นายบอนได้ติดต่อสื่อสารทางอีเมล์กับน้องบุ๋ม จุฑารัตน์ มูลจันทร์ นักศึกษาปริญญาเอก  Division of Fish Diseases , Nippon Veterinary and Life Science University   1-7-1 kyonan-cho,Musashina-shi  Tokyo, JAPAN. อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ที่เธอบินไปเรียนที่ญี่ปุ่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ทั้งๆที่แต่ก่อน ตอนที่อยู่ในเมืองไทย ตอนที่เธอกำลังเรียนปริญญาโทสาขาชีววิทยา ที่ ม.ขอนแก่น  ไม่เคยติดต่อสื่อสารกันเลย ไม่มีเมล์มาถึงแบบนี้ด้วยซ้ำ

ในช่วงนี้น้องบุ๋มกำลังวุ่นกับการทำการทดลอง, เตรียมงานเขียน แก้ไขบทความวิจัยที่ส่งตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ  และในเดือน กรกฎาคม 49 นี้ ก็จะนั่งเครื่องบินไปทำการทดลองที่ เอฮิมะ กับท่าน อ.ฮาไต อาจารย์ที่ปรึกษาชาวญี่ปุ่น

ในเดือนสิงหาคม จะต้องไป Oral Presentation ที่  Cairns,Australia  งานนี้เป็นการขึ้นเวที เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการต่อหน้าผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัยมากมาย ทำเอาน้องบุ๋มเกิดอาการเกร็ง  ซึ่งงานนี้ ต้องพึ่งตัวเอง ช่วยเหลือตัวเอง เพราะไม่มีเพื่อนสนิทคนไทยที่คบกันมานาน ไม่มีญาติ ไม่มีพ่อแม่พี่น้องอยู่ใกล้ตัว ให้ไปขอกำลังใจ ขอความช่วยเหลือได้เช่นเดิม ต้องพึ่งตัวเองเท่านั้น

เมื่อเกร็งถึงเพียงนี้ เจ้าตัวเลยตั้งใจพยายามจะฟิตซ้อมให้ดีที่สุด เลยส่งเมล์มาขอให้นาบอนส่งกำลังใจไปให้ด้วยอีกแรงหนึ่ง...

ในที่สุดก็อ้อนขอกำลังใจจนได้สิครับ

ในช่วงเวลานี้ เธอต้องทำการทดลองในห้องปฏิบัติการ ทำหลายอย่างจนรู้สึกว่า Overload ทั้งวัน ต้องยกกล่องเครื่องมือ กล่อง petri dish อุปกรณ์ต่างๆด้วยตัวเอง ทั้งเหนื่อย ทั้งปวดหลัง เมื่อต้องอ่านตำรา เขียน paper สายตาก็เริ่มเบลอๆ เริ่มมองไม่ค่อยชัด คาดว่า คงจะต้องได้ไปวัดสายตาประกอบแว่นในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย

นายบอนสังเกตดูแล้ว แตกต่างจากตอนเรียนปริญญาโทอย่างชัดเจน ในเวลานั้น ยังดูเหมือนจะไม่รับผิดชอบเหมือนช่วงเวลานี้

ประเด็นน่าคิด
1)  การทำการทดลองอยู่ในเมืองไทย มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการคอยอำนวยความสะดวกหลายอย่าง แม้อาจารย์จะบอกให้ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่บางครั้งก็สามารถไหว้วานให้ทำบางอย่างได้ อยู่ที่ญี่ปุ่นไม่มีคนให้ไหว้วานได้เลย

2) เมื่องานมาก ความรับผิดชอบเยอะ ต้องฝึกฝนตนเอง รักษาเวลา แบ่งเวลาให้ลงตัว 24 ชั่วโมงใน 1 วันก็ยังทำงานไม่ทัน จึงเกิดความมีวินัยในตัวเองโดยอัตโนมัติ

3) รู้ถึงคุณค่าของมิตรภาพในยามห่างไกล เมื่อห่างเหินอยู่ต่างประเทศ ยิ่งเห็นความสำคัญ หมั่นติดต่อ ในขณะที่เพื่อนๆอีกหลายคน  หากไม่สนิทสนมด้วย ก็ห่างเหิน จนขาดการติดต่อไปเลย

4) อาจารย์ที่ปรึกษา ช่วยฝึกฝนและสนับสนุนอย่างเต็มที่ ดูแล ควบคุม และมอบงานให้แบบเต็มๆ

5) จากความมุ่งมั่นตั้งใจแต่เดิมมา ทำให้อาจารย์ที่ปรึกษามองเห็นแวว จึงส่งเสริมและสนับสนุน ซึ่ง อ.ที่ปรึกษาของ น้องบุ๋มตอนเรียนปริญญาโท  คือ   รศ.ดร.ชุติมา หาญจวณิช  แห่วภาควิชาชีววิทยา ม.ขอนแก่น ที่ได้ช่วยกระตุ้น ให้แนวคิด ทำการติดต่อทางญี่ปุ่นจนถึงกับได้ทุนเดินทางไปเรียนต่อปริญญาเอกที่ญี่ปุ่น แล้วยังคอยเป็นพี่เลี้ยง ดูแล ติดตามทางอีเมล์จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง

6) การที่ได้ลงมือทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ในต่างแดน เกิดการเรียนรู้ ค้นพบข้อผิดพลาด ได้แก้ไขปัญหาด้วยตัวเองอยู่บ่อยๆ ทำให้มีประสบการณ์เยอะขึ้น คิดอย่างรอบคอบมากขึ้น

7)  มีมุมมองที่กว้างไกล เมื่อเรียนจบ กลับมาทำงานในไทย กลับมาสอนหนังสือสามารถจะมองนักศึกษาแต่ละคนได้ว่า คนที่ทำงานในลักษณะนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป ทำการทดลอง ศึกษาค้นคว้าเรียนรู้แบบนี้ จะพบกับปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง สามารถที่จะให้คำแนะนำได้ตรงประเด็น จากเดิม เมื่อตัวเองพบกับปัญหากลับมองหาทางแก้ปัญหาไม่ได้

8) ทั้งหมดจะทำให้ได้รับการหล่อหลอมให้กลายเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ





หมายเลขบันทึก: 36073เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2006 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 04:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ครับคุณบอน ปัจจัยที่ำสำคัญอย่างมากในการที่จะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นมาได้นั่นก็คือ "ครู" ครับหรือที่้บ้านเราเรียกว่าอาจารย์กัน ศิษย์ต้องมีครู ครับ ครูจะเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง ครูจะมอบสิ่งสำคัญสองอย่างให้เราเสมอก็คือ แผ่นที่ กับเข็มทิศ ในการดำเนินชีวิต ทำให้เดินไปอย่างถูกต้องเดินไปในทางที่ดี ยินบุคลากรต่าง ๆ รวมถึงประชาชนที่จะได้รับสิ่งดี ๆ จากคุณบอนและน้องบุ๋มหลังจากที่สำเร็จมาศึกษามาแล้วครับ เพราะคนดีจะมองสิ่งดี ๆ ให้กับคนที่อยู่รอบข้างเสมอครับ

ป.ล. ผมกำลังจะไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีครับ จะต้องเดินทางไปถึงวันจัันทร์ที่ 2 กรกฎาคมนี้ครับ คงจะต้องเรียนที่นั่นอีกหลายปีครับ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผมคงจะได้มีโอกาสไปเยี่ยมและได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคุณบอนครับ เพราะอยู่ใกล้กันมากขึ้น การเดินทางไม่ห่างไกลนัก ถ้ามีคำแนะนำอย่างไรช่วยบอกผมด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ

ขอขอบคุณอาจารย์บอน...                                  

  • ขอแสดงความยินดีกับคุณบุ๋มที่มีโอกาสไปศึกษาในประเทศญี่ปุ่น

สมัยก่อนลูกพระราชาดูจะมีการส่งไปเรียนที่ไกลๆ...

(1). เป็นโอกาสที่จะเรียนรู้เรื่องศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมที่ต่างออกไป (crossculture study) เป็นการกะเทาะ "กะลา" ให้เปิดออก รับแสงภายนอก และเพิ่มโอกาสออกนอกกะลา

(2). การเรียนการสอนในตักสิลา (Taxilla... ปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน)มี 2 แบบได้แก่ แบบจ่ายค่าเล่าเรียน (paid) และแบบทำงานไปด้วย-เรียนไป (apprentice) ด้วย

ดูจะมีพระราชาบางพระองค์ให้พระโอรสไปเรียนแบบทำงาน เพื่อให้มีโอกาสเรียนรุ้ผ่านการทำงานร่วมกัน (อาจารย์ ศ.นพ.ประเวศท่านว่าเป็น interactive learning through action)

การทำงานเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ... ขอให้อาจารย์บุ๋มตั้งใจเล่าเรียน จะได้เป็นกำลังสำคัญของชาติต่อไปครับ...

 

ต้องยอมรับว่านักศึกษาป.เอก ญี่ปุ่น "อึด" ค่ะ

น่านับถือตรงนี้ ขยันจริงๆเพราะสังคมที่นั่นเป็๋นแบบนั้น

overload แบบที่คุณบอนบันทึกไว้

(ทำงานหนักกว่าชาวบ้านประเทศอื่นโดยเฉลี่ย)

ขอให้กำลังใจคุณบุ๋มนะคะ และ ขอบคุณ คุณบอน ที่เป็น blogger แนวหน้า นำเรื่องราวดีๆมาเสนอเป็นประจำค่ะ 

อย่างน้อยนายบอนก็ดีใจที่มีน้องสาวเก่ง แถมยังเก่งกว่าตัวเองซะอีกนะครับ

ที่บอกว่า นายบอนเป็นแนวหน้าอะไรเนี่ย นึกว่า ผมเป็นทหารแนวหน้าซะอีก
  • การใส่งานเข้ามาเยอะเยอะ แล้วให้เด็กเรียนรู้การจัดลำดับความสำคัญว่า จะทำงานไหนก่อน งานไหนหลัง เพื่อให้สำเร็จในเวลาที่เท่ากัน เป็นกุศโลบายที่ดีอย่างหนึ่งของการเรียนที่ญี่ปุ่นครับ ซึ่งในบ้านเราให้ความสำคัญในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยครับ

เป็นกำลังใจให้บุ๋มครับแล้วพี่บอนมีเมล์บุ๋มหรือป่าวครับพอดีเป็นเพื่อนเก่าสมัยเรียน ป.ตรี

ลองโทรติดต่อบุ๋มที่ร้อยเอ็ดสิครับ

แสดงความยินดีกับปุ๋มด้วยนะคับที่แต่งงานไป27กพ.53

มีความสุขมากๆคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท