การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนเพื่อพัฒนาทันตสุขภาพในสถานรับเลี้ยงเด็ก:กรณีศึกษา สถานรับเลี้ยงเด็กในชุมชนด้อยโอกาส กรุงเทพมหานคร


การส่งเสริมทันตสุขภาพที่มีเรื่องทันตสุขภาพเป็นประเด็นเล็ก ส่วนหนึ่งของแผน ผสมผสานไปกับประเด็นสุขภาพน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการทำงานส่งเสริมสุขภาพในบริบทของสังคมไทยที่มีข้อจำกัด

 

 

 

เสรีนา สิรรัตน์ สกุลณะมรรคา ณัฐวุธ แก้วสุทธา กิตติธัช มงคลศิวะ

ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็กและทันตกรรมป้องกัน  คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ     

การวิจัยเชิงปฎิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของคนในชุมชนให้สามารถตัดสินใจเลือกทำกิจกรรมเต็มตามศักยภาพของชุมชน โดยกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทันตสุขภาพและ ปัญหาที่เกี่ยวข้องทางสังคมในชุมชนเพื่อจัดทำแผนแม่บท สถานรับเลี้ยงเด็กพึ่งตนเองให้เป็นแผนพัฒนา  สถานรับเลี้ยงเด็กน่าอยู่ของชุมชนและได้กระบวนการต้นแบบเพื่อนำไปปรับใช้กับชุมชนด้อยโอกาสอื่น มีวิธีการดำเนินงานผ่านกระบวนการทำแผนอย่างมีส่วนร่วม ผลการศึกษาปรากฎว่าชุมชนตกลงใจร่วมกันแก้ไขปัญหา ใน 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลเด็กเล็กให้เหมาะสม ส่งเสริมลักษณนิสัยของเด็กและรักษาสิ่งแวดล้อมของสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยกำหนดเป็นคำขวัญของชุมชนว่า “โรงเรียนน่าอยู่ “คุณครูใจดี เด็กดีมีวินัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” และกำหนดเป็นแผนงานแม่บทสถานรับเลี้ยงเด็กน่าอยู่ของชุมชน โดยมีรูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพที่มีเรื่องทันตสุขภาพเป็นประเด็นเล็ก ส่วนหนึ่งของแผน ผสมผสานไปกับประเด็นสุขภาพ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการทำงานในบริบทของสังคมไทยที่มีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต บุคลากรทางทันตสาธารณสุขควรมีความเข้าใจและไม่ละเลยประเด็นอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวโยงลึกซึ้งกับความต้องการของคนในชุมชนเพื่อให้การทำงานส่งเสริมทันตสุขภาพประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนพร้อมกับการพัฒนาด้านอื่นของชีวิตของคนในชุมชน  

 

Abstract

The participatory action research (PAR) is for improving a stability of local communities to be able to choose activities with their full potentials. The objectives of the research are to study and analyze dental care problems and any involved community problems in order to draft a master plan of a self-reliant child development center to be a model for other disadvantaged communities to apply for their own communities by using a participatory learning process (PLP).This master plan of the self-reliant child development center  focusing on the dental health issue in conjunction with the health issue should be an appropriate alternative for implementation in the Thai society with a limitation of living. Dental health care technicians should understand and pay closely attention to other issues involved with the need of the local communities so that the plan to improve the dental health care as well as the well-being development of the community will be a sustainable success.

 

หมายเลขบันทึก: 360127เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2010 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท