ต้นธารแห่งศรัธทา
นิติกรชำนาญการ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ (ปัจจุบัน) อรอนงค์ ต้นธารแห่งศรัธทา นิลธจิตรัตน์

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ อาจารย์ ดร. วิลารรณ ลาภวงศ์วัฒนา (มังคละธนกุล)ประธานกรรมการ(ตอน 3)


อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ Conventions on the Assignment of the Receivables in International Trade

ในการศึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้ศึกษาจึงมุ่งเน้นศึกษาในปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาเบื้องต้น โดยเป็นการศึกษาในลักษณะของการพิจารณาภาพรวมของอนุสัญญาฯ กับผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ว่า หากประเทศไทยจะต้องเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับนี้ จะมีผลกระทบกับการโอนสิทธิเรียกร้องกับประเทศไทยอย่างไร โดยประเทศไทยจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายในแง่ของการอนุวัตรเป็นการเฉพาะออกมาให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ หรือไม่

 

2.  วัตถุประสงค์ของการศึกษา

 2.1  เพื่อศึกษาผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศกับการโอนสิทธิเรียกร้อง

2.2  เพื่อศึกษาหลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามอนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิ     เรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ

2.3  เพื่อศึกษาหลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 303 ถึง มาตรา 313) และหลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง พ.ศ. ...

2.4  เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับนี้

 3.  สมมติฐานการศึกษา

             อนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศใช้บังคับในกรณีที่เป็นการโอนสิทธิในหนี้เงินที่เป็นสิทธิระหว่างประเทศ เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้โอนสิทธิและลูกหนี้แห่งสิทธิอยู่กันคนละประเทศ โดยใช้บังคับกับเรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมสิทธิเรียกร้องประเภทต่าง ๆ ทั้งที่เป็นสิทธิเรียกร้องทางการค้า และสิทธิเรียกร้องที่ไม่ใช่ทางการค้า รวมทั้ง เทคนิคการเงินใหม่ ๆ แต่การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้มุ่งเน้นการโอนสิทธิเรียกร้องเพื่อประโยชน์ในการหาแหล่งเงินทุน หรือการทำธุรกรรมในเชิงรุกมากนัก จึงเห็นควรศึกษาถึงผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศกับการโอนสิทธิเรียกร้องตามหลักกฎหมายไทยที่      เกี่ยวข้อง เพื่อการเตรียมพร้อมเข้าเป็นภาคีในภายภาคหน้า ด้วยการอนุวัติกฎหมายตามเป็นการเฉพาะ

 4.  ขอบเขตของการศึกษา

 ผู้ศึกษาจะทำการศึกษาถึงผลกระทบทางกฎหมายที่มีต่ออนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยศึกษากฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง ที่มีอยู่ปัจจุบัน โดยจะศึกษาหลักการโอนสิทธิเรียกร้องในมาตรา 303-313 ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นหลัก ประกอบกับหลักการโอนสิทธิเรียกร้องของร่างพระ-ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจแฟคเตอริ่ง พ.ศ. ... และอนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ (Convention on the Assignment of Receivables in International Trade) โดยผู้ศึกษาจะไม่ศึกษาในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมายขัดกันเพราะเป็นหลักทั่วไปที่อนุสัญญาทุกฉบับรองรับไว้

 5.  วิธีการดำเนินการศึกษา

 การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งใช้วิธีการศึกษาข้อมูล โดยการศึกษาเอกสารทั้งชั้นปฐมภูมิ ได้แก่ กฎหมายระหว่างประเทศ บทอนุสัญญาการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ (Convention on the Assignment of Receivables in International Trade) กฎหมายภายในประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ และขั้นทุติยภูมิ ได้แก่ ตำรา บทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ และข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยแหล่งข้อมูลของเอกสารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้แก่ คณะทำงาน     หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน

 6.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษา

 6.1  ทำให้ทราบถึงผลกระทบของการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศกับการโอนสิทธิเรียกร้อง

6.2  ทำให้ทราบถึงหลักการโอนสิทธิเรียกร้องของอนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ

6.3  ทำให้ทราบถึงหลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 303 ถึง มาตรา 313) และหลักการโอนสิทธิเรียกร้องตามร่างพระราช-บัญญัติการประกอบธุรกิจแฟคตอริ่ง พ.ศ. …

6.4  ทำให้ทราบถึงผลกระทบทางกฎหมายต่อการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคี

[8]ขณะนี้อยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา แต่กฤษฎีกาพักไว้ เพราะเหตุผลของหมวดการกำกับดูแลจะทำให้เอกชนขาดความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจและขณะเดียวกันตอนนี้ก็มีการร่างพระราชบัญญัติใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า ร่างพระราช-บัญญัติสัญญาแฟคเตอริ่ง พ.ศ. ... ร่างฉบับน

[9]จีรภา  อินทิแสง, รายงานวิจัยเรื่อง การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่งในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ (กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายระบบการเงินและระบบสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง, 2543), หน้า 37.

[10]เอกสารคณะอนุกรรมการดำเนินการจัดทำข้อเสนอการแยกคดีพาณิชย์ออกจากคดีแพ่ง หมายเลข 2/2549.

[11]อันได้แก่ สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากการซื้อขายสินค้า

[12]อาทิ แฟคเตอริ่ง ฟอร์ฟิตติ้ง

[13]เช่น Securitization (การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์) และ Project Financing (โปรเจ็คไฟแนนช์)

[14]อนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 5.

[15]วิลาวรรณ  มังคละธนะกุล, “อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องในการค้าระหว่างประเทศ,” วารสารทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 46, 6 (สิงหาคม 2546): 4.

[16]โปรดดูรายละเอียดในภาคผนวก Article 17

[17]อนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 16.3.

[18]เรื่องเดียวกัน, ข้อ 8.3.

[19]อนุสัญญาว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องทางการเงินในทางการค้าระหว่างประเทศ ข้อ 9.1.

[20]เรื่องเดียวกัน, ข้อ 9.2.

หมายเลขบันทึก: 359172เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2010 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท