เป้าหมายในศตวรรษที่ 21


เป้าหมายในศตวรรษที่ 21

                  นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลก ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเรียนการสอน การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตลอดมา ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นต่างก็เป็นไปเพื่อเตรียมผู้คน โดยเฉพาะอนุชนรุ่นหลังให้สามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่และสืบทอดสังคมที่สามารถพัฒนาและก้าวหน้าต่อไปได้

                 หลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมา ต่างก็มีปรัชญาแห่งยุค มีแนวคิดในการดำเนินชีวิตและใช้ชีวิตในสังคมที่แตกต่างกันไป สิ่งเหล่านั้นส่งผลต่อการกำหนดเนื้อหาและวิธีการในการจัดการศึกษา อันส่งผลสะท้อนกลับ คลี่คลายปรากฏเป็นภาพสังคมที่เคลื่อนเข้าแทนที่ในกาลเวลาถัดมา

                 ณ จุดปัจจุบัน ภาพของสังคมบางด้านกำลังปรากฏให้เราเห็นอยู่ เรารู้เห็นสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมสังคมเมือง เราได้รับรู้พฤติกรรมและบทบาทของผู้คนและองค์กรต่างๆ เรารับรู้ถึงอิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยีที่เป็นไปอย่างฉาบฉวยและผิวเผิน เด็กและเยาวชนใช้เวลาอยู่กับหน้าจอเพื่อเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เพื่อแชต(chat) หรือเพื่อความบันเทิงจนน่ากลัวว่าอาจจะเป็นไปอย่างไร้ขอบเขตที่เหมาะสม ความน่าตื่นเต้นของเทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาตอบสนองการเรียนรู้ แต่กลับมีแนวโน้มว่ากำลังถูกใช้ไปในด้านการบันเทิงและการโอ้อวดด้านฐานะและรสนิยม เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สมควรนำมาพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์ เพราะเหล่านี้เป็นจิ๊กซอหรือชิ้นภาพต่อของสังคมในอนาคต เราควรจะมีคำถามว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร หรือเราต้องการอะไรจากเทคโนโลยี

                ทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยงข้องกับการศึกษา ควรมองหาหนทางแห่งการถ่ายทอดวิธีคิดและองค์ความรู้ อันจะช่วยให้ผู้รับผิดชอบสังคมรุ่นใหม่ ดำรงรักษาพัฒนาสังคมนี้ ให่เหมาะแก่ชีวิตอันควรค่าแก่ชีวิตสืบไป โดยที่เห็นว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่ง ไม่ใช่เป้าหมายของชีวิตและสังคม

        บทความที่เกี่ยวข้องน่าสนใจ

บทความ "ไอทีภายใต้วัฒนธรรมทางปัญญา"

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตโต)

                "......ในการปฏิบัติต่อข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐาน (คือการศึกษา) ผู้จัดสรรข้อมูลข่าวสารให้แก่เด็กในฐานะที่เรียกว่ากัลยาณมิตร จะต้องทำหน้าที่โดยพยายามจัดสิ่งที่ดีที่สุด เช่น เป็นพ่อแม่ก็ต้องพยายามหาสิ่งแวดล้อมข่าวสารข้อมูลที่ดี หาสื่อที่ดีที่สุดให้แก่เด็ก แต่ในเวลาเดียวกันบุคคลนั้นหรือเด็กก็ควรได้รับการศึกษาชนิดที่ว่าจะทำให้เป็นคนที่สามารถเอาประโยชน์จากสิ่งที่เลวที่สุดสองอย่างนี้คู่กัน ย้อนแย้งกัน แต่สำคัญมาก คือ

                   1. ในฐานะผู้จัดให้ ต้องจัดสิ่งที่ดีที่สุด

                   2. ในฐานะผู้รับ คือผู้ศุกษา จะต้องสร้างความสามารถที่จะเอาประโยชน์ได้จากสิ่งแวดล้อมและข่าวสารข้อมูลที่เลวที่สุด.....

                   .....เราต้องมุ่งสร้างการศึกษาให้เด็กของเราเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษยชาติ อย่ามองแคบแค่สังคมไทยเท่านั้น เวลานี้เป็นเวลาโลกาภิวัฒน์แล้ว อารยธรรมก็ต้องสร้างให้ทันกัน อารยธรรมที่ทันกันก็คือให้มนุษย์ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาของโลก และสร้างสรรค์อารยธรรมของมนุษย์ชาติ...........

(จากบทความ "ไอทีภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา"
ในหนังสือ ไอทีเพื่อประชาชน พิมพ์เนื่องในงาน ไอทีเฉลิมพระเกียรติ
1-4 มิถนายน 2538)

 

หมายเลขบันทึก: 35878เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
น.ส. กมลรัตน์ นักพรรษา
โอ เก่งมากเลย  ทำblogได้น่าสนใจมาก  ชอบม๊าก  มาก

ชอบสุดๆ อยากบอกว่าเก่งมากเลยค่ะ

น.ส. อรพรรณ บูรณะกิติ

เปิดอ่านดูครั้งแรกก็น่าสนใจมากค่ะ  เก่งมากๆที่ทำขึ้นมา  อยากให้อัปเดตข่าวสารการศึกษาทุกวันเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท