ความคิดที่มีชีวิต


ความคิดดีๆ ไม่ควรจะปล่อยให้มันหลุดลอยไป ปลุกให้มันมีชีวิตครับ ให้มันโลดแล่นออกมาเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้

     ผมเคยนั่งนับว่า วันๆนึงมีความคิดผ่านเข้ามาในหัวผมซักกี่เรื่อง ไม่เคยนับได้สำเร็จหรอกครับ รู้แต่ว่ามีมากมายทั้งเรื่องดี เรื่องไม่ดี เรื่องสงสัย เรื่องวิตกกังวล ฯลฯ ถ้าพวกเรารู้ตัวไม่ไหลไปตามความคิด ก็จะเห็นความคิดเหล่านั้น และก็จะมีเวลาจัดการพวกมันได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที ความคิดร้ายๆแย่ๆ ก็ปล่อยให้มันลอยผ่านไปนะครับ ส่วนความคิดดีๆ ไม่ควรจะปล่อยให้มันหลุดลอยไป ปลุกให้มันมีชีวิตครับ ให้มันโลดแล่นออกมาเป็นรูปธรรมที่สัมผัสได้ ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมได้ดังใจที่ประสงค์ดีของเรา

     จุดเริ่มต้นของงานวิจัยก็คือความคิดที่ดีๆเหล่านี้แหละครับ เมื่อเกิดความคิดดีๆก็จำเป็นต้องหา เครื่องมือ เพื่อจะพิสูจน์ความคิดนั้นๆว่าทำได้หรือไม่ หรือว่าดีจริงหรือไม่ เครื่องมือของการวิจัยเชิงคุณภาพมีหลายประเภทแล้วแต่จะเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการสังเกต

    การสังเกต ถ้าทำได้ดีๆนะครับจะได้ข้อมูลที่สำคัญมาก นักวิจัยคุณภาพ ต้องรู้จักสังเกตให้ได้ประโยชน์ ทั้งในชีวิตประจำวันและเหตุการณ์สำคัญของชุมชนที่เราศึกษา หัดสังเกตจากหลายมุมมอง ทั้งฝ่ายเห็นด้วยและคัดค้าน มองหาข้อขัดข้องและหนทางคลี่คลายปัญหา  

     ถ้าเรามีความคิดดี เลือกใช้เครื่องมือถูกต้อง ความคิดดีๆเหล่านั้นจะเป็นความคิดที่มีชีวิตครับ มีชีวิตที่โลดแล่นเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน แล้ววันหนึ่ง ผมจะนั่งจิบน้ำชามองความคิดที่มีชีวิตเหล่านั้นล้อมรอบตัวผมอย่างมีความสุข

หมายเลขบันทึก: 35872เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2006 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ความคิดดีๆ เก็บไว้ให้ ขอร่วมทางด้วยคะ   พี่เนียร เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท