รู้ว่า..การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติทางอาญา สมัยที่ 12 เป็นอย่างไร


น่ายินดีที่ร่าง....ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วย.....การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการโดยไม่ใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง ของไทยได้ถูกกล่าวถึงอีกครั้ง

 

 เตือนใจ เจริญพงษ์

แม้ว่าสถานการณ์การเมืองในบ้านเรายังอึมครึม
แต่การทำงานอีกหลายภาคส่วน
ก็ต้องขับเคลื่อนต่อไป ......
ทั้งงาน....ไทย ....งานเทศ
................................................................................................. วันนี้ขอนำเรื่องราว....
ความสำคัญของ ....
......ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม
และความยุติทางอาญา สมัยที่ 12
มาฝากคะ
...............................................................................................

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม
และความยุติทางอาญา
เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ว่า
" United Nations Congress on Crime Prevention
and Criminal Justice "
................................................................................................
เป็นการประชุมระหว่างประเทศในระบบสหประชาชาติที่เก่าแก่ที่สุด
มีความสำคัญ....ในการกำหนดทิศทาง
และ ..นโยบายในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของโลก
ตลอดจน...การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
ระหว่างประเทศสมาชิกองค์การระหว่างประเทศ ภาควิชาการ
และ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
จัดขึ้น..ทุก 5 ปี
...............................................................................................

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม
และความยุติทางอาญา สมัยที่ 12
(Twelfth United Nations Congress on Crime Prevention and
Criminal Justice) ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-19 เมษายน 2553
ณ เมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล
...............................................................................................
โดยมีการประชุม Pre Congress Consultation
ในวันที่ 11 เมษายน 2553
และ การหารือระดับสูง (High-level Segment)
ใน 2 วันสุดท้ายของการประชุม คือวันที่ 18-19 เมษายน 2553
การประชุมสหประชาชาติฯ สมัยที่ 12 นี้
................................................................................................. มี....เนื้อหาหลัก (Main Theme) ของการประชุม
คือ ...... “Comprehensive Strategies for global challenges:
crime prevention and criminal justice system and
their development in a changing world”
มีหัวข้อการประชุม 8 หัวข้อ
และการประชุมเชิงปฏิบัติการ 5 หัวข้อ
.................................................................................................

ประกอบด้วย.....
ผู้แทนจากจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ....
ได้แก่........
.....สำนักงานอัยการสูงสุด
.....กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
.....กรมราชทัณฑ์
.....สำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นต้น
ได้เดินทางเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้
มี....นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
................................................................................................

การประชุมในครั้งนี้ ......
นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์
ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เข้าร่วมเป็นวิทยากร (panelist)
ในการประชุมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ Strategies and Best Practices
against Overcrowding in Prison Facilities
และได้กล่าวถ้อยแถลงในช่วงการการหารือระดับสูง
(High-level Segment) เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ด้านสารัตถะของ
ประเทศไทยต่อปัญหาความท้าทายด้านการป้องกันอาชญากรรม
และความยุติธรรมทางอาญา เพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างประเทศใน
บริบทดังกล่าวต่อไป
................................................................................................

สำนักงานกิจการยุติธรรม
ในฐานะเลขานุการคณะทำงานแห่งชาติเพื่อเตรียมการสำหรับการ
ประชุม 12th UN Congress .......
มีภารกิจสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์
ในการผลักดันโครงการ ELFI
ในพระดำริฯให้เป็นที่ยอมรับจากนานานาประเทศ
.................................................................................................
เรื่องนี้....
นายวิทยา สุริยะวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม
ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ในหัวข้อ Survey of United Nations and other best
practices in the treatment of prisoners in the criminal
justice system ในฐานะวิทยากร (panelist)
และ บรรยายในหัวข้อ .....
" Good Practices on the Treatment of Women in Prison:
A proposal for Supplementary Rules for the treatment of
women prisoners and non-custodial measures for women
offenders และทำหน้าที่ผู้ดำเนินรายการ (moderator)
.................................................................................................
ในการประชุมคู่ขนาน (ancillary meeting)
ภายใต้หัวข้อ Enhancing Lives of Female Inmates: Thailand’s
proposal for the draft supplementary rules to the 1955
โดย...มีผู้เชี่ยวชาญที่มีส่วนร่วม
ในการยกร่าง....
ข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วย.....
......การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ
และมาตรการโดยไม่ใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง
................................................................................................. นอกจากนี้ ยังมีการประชาสัมพันธ์โครงการ ELFI
เช่น จัดนิทรรศการ พร้อมทั้งแจกของที่ระลึก
ภายในอาคารที่ประชุม ตลอดช่วงเวลาการประชุมสหประชาชาติฯ
.................................................................................................

สิ่งที่ได้.....จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน
อาชญากรรมและความยุติทางอาญา สมัยที่ 12 นี้
................................................................................................
คือ ..การได้มาซึ่งปฏิญญาซัลวาดอร์
(Salvador Declaration)
อันเป็นเจตนารมณ์ทางการเมืองในด้านการป้องกันอาชญากรรม
และความยุติธรรมทางอาญา
................................................................................................

ซึ่งผ่านการเห็นชอบจากประเทศสมาชิก
ทั้งนี้......
..... ร่างข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง
ในเรือนจำและมาตรการโดยไม่ใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิด
หญิง...... ที่ประเทศไทยเป็นผู้เสนอนั้น
ได้ถูกกล่าวถึงในย่อหน้าที่ 50 ของปฏิญญาซัล-วาดอร์
โดยที่ประชุมสหประชาชาติฯ ....
ได้แสดงการต้อนรับและเสนอแนะ....
...ให้คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความ
ยุติธรรมทางอาญา (Commission on Crime Prevention and
Criminal Justice)
อันเป็นองค์กรด้านการบริหารและกำหนดนโยบาย
ในระบบสหประชาชาติในด้านการป้องกันอาชญากรรม
และความยุติธรรมทางอาญาดำเนินการต่อไป
................................................................................................ ผลจากการประชุมดังกล่าวถือเป็นส่วนสำคัญ
ในการนำร่างข้อกำหนดฯ
ไปสู่ขั้นตอนสุดท้ายในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
(United Nations General Assembly) สมัยสามัญ สมัยที่ 65
................................................................................................

“We welcome the draft United Nations rules for
the treatment of women prisoners and non-custodial
measures for women offenders. Taking note of the outcome
and the recommendations of the meeting of the expert group
to develop supplementary rules specific to the treatment of
women in detention and in custodial and non-custodial
settings, we recommend that the Commission on Crime
Prevention and Criminal Justice consider them as a matter of
priority for appropriate action.”

(Paragraph 50 of the Salvador Declaration)
................................................................................................

 

หมายเลขบันทึก: 357960เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2010 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท