บริหารอย่างไรให้ "วงไม่แตก" (AI ภาค Pissa-ดาร ตอน 2)


Appreciative Coaching

Appreciative COACHING มาควบคู่กับ Appreciative Inquiry ครับ 

 

เหมือนกาแฟ กับน้ำร้อน ครับ มีคนถามผมว่าขอบเขตมันอยู่ที่ไหน 

 

ผมยังบอกไม่ได้ครับ 

 

เพราะแต่ละคนมีความท้าทาย มีีฝัน มีปัญหา ไม่เหมือนกัน

 

ความท้าทายที่คุณอาจถึงกับมองไม่เห็น (ราวกับตาบอด) ที่สุด คือ "ตัวคุณเอง" ครับ

.....................................................................................................

ผมกำลังกล่า ว ถึง "ความโลภ" ครับ

 

ภาษาทาง Organization Development เ ราเ รียกว่า "Self-serving" ครับ

 

ลักษณะนี่คืออาการของการที่เราเชื่อมั่นในความคิด ว่าสิ่งที่เราทำนั้นมัน "ดี" และ อยากให้คนอื่น "เป็นอย่างเรา" บ้าง

 

อาการนี้หมายรวมถึง การพยายามทำอะไร ก็ตามเพื่อยังประโยน์ต่อตัวเองทั้งภายภาคหน้า และปัจจุบัน

 

ผมอธิบายด้วยปรากฏการณ์นี้ง่ายกว่า "เคยเจอคนที่รู้จักคุณ พยายามคุย ให้เกียรติคุณแต่สุดท้าย ชวนไปฟังขายตรงไหมครับ พอคุณไม่ไปก็พยายามคะยั้นคะยอ แต่ในที่สุดก็ไม่เกิดอะไรขึ้น คุณกลับไม่ชอบ เขาก็ไม่มาอีก คุณก็รูุ้สึกไม่ดีกับเขาไปเลย"

...................................................................................................

อัันนี้หยาบๆนะครับ ส่วนละเอียดๆ เช่นคิดว่า AI, KM LO ดีสุดแล้ว ก็พยายามยัดเยียดให้คนอื่นทำตาม

 

อันนี้ในที่สุด ไม่เกิดการเรียนรู้อะไร ครับ

...........................................................................................................

สมัยก่อนทำ AI ใหม่ๆ ผมก็มีความรู้สึกเช่นนั้นครับ ผมทำตัวเหมือนพนักงานขายคิดสั้นครับ

 

กลายเป็นว่าบางคนที่เราเอาเข้ามาในทีุ่สุด เขาก็ไม่สามารถสร้างผลงานอะไรดีๆได้ สร้างความผิดหวังให้ทั้งสองฝ่าย 

..................................................................................................

Self-serving  โดยเฉพาะด้านวิชาการ เป็นความโลภประเภทหนึ่งครับ เป็นภาวะที่พอจะอธิบายไ้ว่า "กู ดีสุด โปรดเดินตาม (ไม่ตาม ถือว่าคุณหลงทาง)" 

 

หรือ "ของกู ดีสุด ไปทำอย่างอื่น นะคิดผิด" 

 

แต่ก่อนผมพยายามขาย idea สุดๆ ครับ มาทำกับผมเถอะ ขายมันทุกวัน หลายครั้ง Defense ความคิดตนเอง ว่า AI ดีอย่างโน้นดีอย่างนี้  

 

นำมาสู่ความทุขมากกว่า ผมมองว่าสิ่งที่ผมทำมาสมัยก่อนคือ Self-serving 

 

ครับ

 

ทำมันด้วยอัตตา ว่า "กูแน่" "ของกู ดีสุด"

.......................................................................................................

สิ่งที่เสนอวันนี้ครับ จะช่วยคุณได้มากคือ พยายามทำสิ่งต่อไปนี้ อย่างเข้มข้นครับ 

 1. ยอมรับก่อนครับ สิ่งที่เราทำอยู่ย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ไม่มีศาสตร์ใดอยู่คั้าไฟ้า และ Perfect ครับ เล่าให้เขาฟัง ใช้ case study ครับ ว่าใครทำอะไรไปบ้าง ได้ผลแบบไหน ไม่ได้ผลแบบไหน ทั้งดีไม่ดี ให้เขาตัดสินใจเอง    

2. ถ้าเป็น IS หรือวิทยานิพนธ์ ผมจะบอกเลยครับ ว่าใช้ AI ยากหรือแทบจะปิดโอกาสการได้คะแนนดีๆ เพราะกรรมการส่วนใหญ่ยังไม่ชิน บางคนถึงขั้นต่อต้าน ถึงขั้นเสีย self ได้  

3. แนะนำครับ เปิดให้เขาท้าทาย ถามคุณให้มากที่สุด ให้สิ้นสงสัย ไม่รู้ตอบว่าไม่รู้ ทำได้แค่ไหน ก็บอกไป  

4. ให้เขามีโอกาสไปเจอกับคนที่ทำ AI แล้ว work หรือไม่ work ก็ได้ ให้เขาไปสัมผัสเลยครับ เข้ามาในวงเลยครับ อย่าพยายามปิดปังอะไร  

5. ฟังเยอะๆครับ

""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

สิ่งที่แปลกคือ หลังจากผมทำอย่างนี้ (สักสองปี มาแล้วครับ)

 

กลับมีนักศึกษาเก่งๆ ทั้งด้านนิสัย และความมุ่งมั่น  มาขอทำ IS และวิทยานิพนธ์ด้วย มากกว่าเดิมครับ อย่างเห็นได้ชัดครับ 

 

บรรยากาศในชุมชน ดีกว่าเดิม สนุกกว่าเดิม ลุยกว่าเดิม แบบไม่น่าเชื่อ

 

ไม่รู้คิดเองรึเปล่า ว่า พัฒนาการของคนในชุมชนระยะสองปีหลังนี้ ไปไวกว่าเดิมมากๆ

 

ผลงานประณีตกว่า แรงกว่า  

 

ครับ เป็นงัยบ้างครับ 

 

คุณคิดอย่างไร

 

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 357608เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ อ.โย

   ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ กับประเด็น Self-serving  

   ผมก็เป็นนะครับ Self-serving   พอไปรับ idea อะไรมา  ก็มักจะออกเร่ขายไอเดีย  โฆษนาชวนเชื่อ  ให้หลายคนนำเอาไอเดียที่ผมรับมา  ไปใช้ด้วย   ประมาณว่า หาพวก   หาแนวร่วม

   ผมก็โฆษนาชวนเชื่อพร้อมยกแม่น้ำทั้งห้ามากล่อมให้เชื่อว่า "ดีจริงๆ"

   แต่ที่ผ่านมา  ไม่ค่อยประสบผลสำเร็จหรอกครับ  ก็ได้แนวร่วมมาบ้างนิดหน่อย

   ตามความคิดของผมนะครับ   จะให้คนศรัทธาไอเดียอะไรสักอย่าง  ผมว่าอยู่ที่ตรงนี้ครับ

   ถ้าคุณพูด   จะมีคนฟัง    ถ้าคุณทำ   จะมีคนเชื่อ

   ผมต้องนำไอเดียมาทำให้เห็นจริงครับว่าได้ผลดีอย่างแท้จริง  และ  ต้องทำให้มาก    นั่นคือ    ต้องเห็นผลทั้งในเชิงปริมาณ  และ  คุณภาพ

    และที่สำคัญ  ต้องให้คำตอบเขาได้ในทุกคำถาม

    "เหนื่อย" ครับ  กว่าที่จะให้คนเชื่อและศรัทธา ในไอเดียของเรา 

                  ขอบคุณครับ

อันนี้จริงครับ

ต้องทำให้ดู ครับ

เอาไปใช้จน อิน นะแหละครับ

ถึงทำให้คนเชื่อได้ครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่แวะมาครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สวัสดีครับท่านอาจารย์ภิญโญ

เคยเป็นครับ

เห็นว่าอะไรดี เราก็พยายามให้เขาทำ โดยพูดเกือบทุกวัน (คนอื่นอาจมองว่าเรายัดเยียด) เพราะเรามองว่ามันดีสำหรับคนอื่น คนที่เรารัก คนในครอบครัว

แต่สุดท้ายกลับเหมือนเป็นการสร้างกำแพง และ เกิดการต่อต้าน ไม่สนใจ ไม่อยากทำ ยังไม่พร้อม ยุ่งเรื่องงาน เรื่องชีวิต

เลยต้องเปลี่ยนเป็นค่อยๆหยอดครับ ค่อยๆแนะนำ ทำให้ดู เล่าให้ฟัง โดยรอบรรยากาศดีดี

จะทำ หรือ ไม่ทำก็เป็นสิทธิที่จะเลือกได้

ถ้าสนใจ เราก็ยินดีที่จะบอกทางเท่าที่เราเคยเดินผ่านมาครับ...

สรุปได้จากทั้งสองท่านครับ ทั้งท่าน Small man และคุณ Phornphon คือ

ทำให้ดู

หยอดไปเรื่อยๆ ครับ

ขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท