การตรวจสอบคุณภาพไม้ยางพารา


การตรวจสอบคุณภาพไม้ยางพาราหลังจากอาบน้ำยา

การตรวจสอบคุณภาพไม้ยางพาราอาบน้ำยา

การอาบน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้ เป็นวิธีที่ช่วยยืดอายุการใช้งานของไม้ ให้สามารถใช้ประโยชน์ยาวนานกว่าการใช้ไม้ตามธรรมชาติ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการอาบน้ำยาเพียงเล็กน้อย ทำให้เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน วิธีการตรวจสอบไม้อาบน้ำยา ทำได้หลายวิธี เช่นการตรวจวิเคราะห์โดยใช้เครื่อง Atomic Absorption Spectroscopy หรือ Atomic Emission Spectroscopy ซึ่งหมายถึง ICP-AES ในที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นวิธีที่ใช้ทดสอบไม้ในห้องปฏิบัติการ มีความถูกต้องและแม่นยำค่อนข้างสูง

สำหรับการตรวจสอบคุณภาพไม้ในโรงงาน ขณะทำการอัดน้ำยา และอบไม้ ก่อนนำส่งห้องปฏิบัติการ มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพไม้ เพื่อตรวจสอบว่า น้ำยาเคมีที่อัดซึมเข้าไปในเนื้อไม้มากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องตรวจสอบไม้ทุกเตาอบ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างด้วยการเลือกหยิบมาตรวจ 2-3 ชิ้น ในแต่ละมุมของเตา อบ เพื่อตรวจดูว่าน้ำยาเคมี ที่อัดเข้าไปในเนื้อไม้ยางพารา ที่อบแห้งแล้ว น้ำยาซึมเข้าไปอยู่ในเนื้อไม้มากหรือน้อย เพียงพอจะป้องกันเชื้อรา และแมลงทำลายไม้ได้ พอความต้องการหรือไม่ ซึ่งมีวิธีทดสอบโดยใช้สารเคมีมาพ่นหรือทา และสารเคมีนี้จะไปทำปฏิกิริยากับตัวยาที่อยู่ในเนื้อไม้ ให้สีออกมา และสังเกตดูสีของไม้ที่เปลี่ยนแปลงด้วยตาเปล่า นับว่าเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด แต่ก็ต้องอาศัยประสบการณ์พอสมควร

หมายเลขบันทึก: 357604เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2010 10:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท