Vacuum Dressing in Surgery Ward


การรักษาแผลเปิดด้วยชุดปิดแผลสูญญากาศ

5

 Vacuum Dressing ถูกนำมาใช้โดย นพ.บัญชร เช่นเคย(รู้สึกท่านจะชอบนวตกรรมแปลกใหม่อยู่เรื่อย)

กลไกการทำงาน     ชุดปิดแผลสูญญากาศมีกลไกการทำงาน 4 ประการซึ่งช่วยให้แผลหายเร็วคือ 1. ลดการบวมของแผลและเนื้อเยื่อใกล้เคียง ทันทีที่เปิดเครื่องดูด  2. เพิ่มปริมาณเลือดมาสู่แผล ผลจากแรงระหว่างเนื้อเยื่อแผลกับแผ่นโฟมทำให้เลือดไหลมาสู่แผล            3.กระตุ้นการงอกใหม่ของเซลล์ แรงจากการยืด(mechanical stretching) 4. ลดแบคทีเรียในแผล

ข้อบ่งชี้    ชุดปิดแผลด้วยสูญญากาศเหมาะกับแผลสะอาดถ้าแผลที่มีเนื้อตาย ควรตัดเล็มหรือเลาะเนื้อตายออกก่อนและเปลี่ยนแผลทุก 2 วัน

 

4  

ข้อห้าม   ไม่ให้ใช้กับแผลที่มี fistula และไม่ให้วางแผ่นโฟมสัมผัสกับอวัยวะภายในโดยตรง จึงห้ามไม่ให้ใช้กับแผลที่มี Exposed bowel

ข้อควรระวัง   ควรวางแผ่นโฟมให้สัมผัสพื้นแผลทุกส่วนและลอกแผ่นโฟมออกหมดทุกครั้งที่เปลี่ยนแผลโดยปิดเครื่องดูดก่อนเพื่อป้องกันเนื้อแผลบาดเจ็บและมีเลือดออกมาก

ประสบการณ์จากการดูแลผู้ป่วยที่ตึกศัลยกรรม   จากการประเมินพบว่าใช้ได้ผลดีแต่มีปัญหาบ้างในเรื่องของการปรับขนาดแรงดันลบ ปรับได้ตั้งแต่ 50 -200 mmHg และเลือกทำได้ทั้ง 2 แบบคือแบบที่เครื่องดูดทำงานตลอดเวลา(Continuous) และแบบทำงานสลับกับพัก  โดยทั่วไปใช้แรงดันลบ 125 mmHg เปลี่ยนแผลทุก 2 วัน ตั้งเครื่องให้ทำงานตลอดเวลา หรือทำงาน 5 นาที สลับพัก 2 นาที(เนื่องจากงานวิจัยพบว่าได้ผลดีที่สุด)

โดย ณัฐนันท์  หาญณรงค์ 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 35759เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 11:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เพิ่มเติมเรื่องราคาอีกนิดก็จะดีนะคะ

เสนอให้พี่จิ๋มนำเสนอในมหกรรมคุณภาพของสถาบันด้วยนะคะ

เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์จริงๆ

การดูการทำงานว่า work หรือเปล่าดูยังไงคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท