ดูวิธีคิด การประยุกต์ใช้ KM ที่ปูนแก่งคอย อย่างไร?


เขาพร้อมที่จะมอบ ความรู้เชิงวิชาการ ให้แก่เรา พร้อมกับสอดแทรก วิธีคิดของเขา ว่าเขาประยุกต์ใช้ ความรู้เชิงวิชาการนั้นอย่างไร? ผู้เขียนมองว่า เขาให้ทั้ง Explicit และ Tacit Knowledge

             ผู้เขียนร่วมเดินทางกับคณะดูงานจาก สคส. และภาคราชการ 8 หน่วยงาน ไปเยี่ยมชม การพัฒนาองค์กร ของ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด  จังหวัดสระบุรี  ในวันที่  26  มิถุนายน  2549

             ผู้เขียนดูงานในเครือซิเมนต์ไทย  ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3  นับตั้งแต่ผู้เขียน อายุประมาณ 25 ปี 

  • ในครั้งแรก เป็นการดูกระบวนการผลิต  ระบบคุณภาพ  ที่บ้านโป่ง  จ.ราชบุรี   ในฐานะ ลูกค้า ในฐานะทีมงานระบบคุณภาพ
  • ครั้งที่ 2 เป็นการดูงาน เรื่อง Culture  งาน HR  และระบบ IT ในงาน HR  ที่สำนักงานใหญ่ บางซื่อ ในฐานะผู้ติดต่อประสานงาน ในฐานะ HR  ในฐานะองค์กรภายนอก ที่อาจจะเป็นลูกค้า
  • การดูงานครั้งนี้ ผู้เขียนไปเข้าใจตนเอง  ตอบจบการดูงาน ช่วง 15.00 น.  ว่า  ตัวเองมาดูวิธีคิด การประยุกต์ใช้ KM ที่ปูนแก่งคอย   ในฐานะ KM Internship ของ สคส.   ในฐานะ นัก KM ปฏิบัติ

             ความรู้เดิมจากการดูงาน 2 ที่ ถูกนำมาใช้ ในการอ่าน การมองเชิงวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ยืนยัน  เพราะ Tacit Knowledge ที่ติดตัวมายังไม่จางหายไปไหน  คือ การสัมผัสวัฒนธรรมการทำงานของเขา  แนวนโยบายในการทำงาน เป็นต้น

  • ทุกครั้งที่ไปดูงาน ผู้เขียนก็ยังประทับใจ ในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เราสัมผัสได้จากการต้อนรับ
  • ทุกครั้งที่ไปดูงาน ผู้เขียนก็พบว่า เขาพร้อมที่จะมอบ ความรู้เชิงวิชาการ ให้แก่เรา  พร้อมกับสอดแทรก วิธีคิดของเขา ว่าเขาประยุกต์ใช้ ความรู้เชิงวิชาการนั้นอย่างไร?  ผู้เขียนมองว่า เขาให้ทั้ง Explicit และ Tacit  Knowledge
  • เมื่อเปรียบเทียบ การไปดูงาน 3 ครั้ง  ในเวลาต่างกัน  เรื่องราวต่างกัน สถานที่ต่างกัน คนอธิบายถ่ายทอดต่างกัน  ที่เหมือนกัน คือคนดู กับคนให้ดู ...เครือซิเมนต์ไทย     ผู้เขียนทึ่งในความเป็นเอกภาพ  แนวคิด การทำงานของคน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และมีความทันสมัย ตามสภาวการณ์ ในแต่ละยุค
  • จริงๆผู้เขียนได้สัมผัส เครือซิเมนต์ไทย  ในอีก 2 มุม คือ ในฐานะผู้เรียนกับอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาการ ทางการตลาด  และ ในฐานะผู้ร่วมดูงาน Culture และ KM  ที่ AIS

สิ่งที่ผู้เขียนดูเขา แล้วยืนยันกับองค์ความรู้เดิมของตนเอง ในแนว KM ปฏิบัติ ยกตัวอย่าง เช่น

  • เขาจะทำให้คน Need to know คือเรียกร้องหา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เอง   ผู้เขียนใช้คำว่า ค้นคว้า และไขว่คว้า ที่จะรู้ ในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งแตกต่างกับ ปีพ.ศ. 2498 แน่นอน  ที่มี ครูบาอาจารย์ สอนให้ที่วัด  ที่โรงเรียน  เรียกผู้เรียนมาสอน แต่ยุคสมัยนี้ ผู้เรียนรู้ ต้องเสาะแสวงหา...เอง
  • คำว่า “สร้างโอกาส” ที่ปรากฏ ใน Mission  รวมถึงคำว่า  “เปลี่ยนแปลง” ยืนยันกับผู้เขียน โดยไม่ต้องตั้งคำถาม ว่า  เขาคิดในเรื่อง Management ระดับลึก   โอกาส จังหวะ  เป็นปัจจัยสำคัญ ที่นักบริหารต่างทราบกันดี   ...ถ้าผ่านมา แล้วไม่คว้าไว้ ปล่อยให้ผ่านไป ก็เหมือนทิ้งทองคำ   ดังนั้น ทำอย่างไร?  สร้างโอกาสให้เรา หรือ ทำให้ โอกาสเปิด จังหวะเปิดให้เราได้ทำ...      การเปลี่ยนแปลง อาจหมายถึงการปรับตัว สำหรับทุกสถานการณ์  ทุกรูปแบบ  หรือ พร้อมเผชิญ  ตามความเข้าใจของผู้เขียน
  • ผู้เขียนอยากถาม Engineer ของเขาว่า  "มีวิธีสร้างความคิดใหม่ๆ อย่างไร?"  แต่กลับได้รับคำตอบ โดยไม่ต้องถามอีกเช่นกัน  ผู้เขียน เชื่อโดยส่วนตัว ว่า “วงเหล้า” เป็นเคล็ดลับหนึ่ง ในการเปิดความคิดของคน  การสนทนากันเป็นกลุ่มแบบเปิดใจเช่นนี้ ก็อาจเรียกว่า การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือ KM    ผู้เขียนเคยเจอ อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักเขียน ไปนั่ง ดื่ม กิน และ สนทนากัน ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง หลังเลิกงานโดยพกคุณลิขิต ไปคอยนั่งจดด้วย  ...รุ่งเช้าคงมีใครสักคนต้องบทความให้สำนักพิมพ์
  • การShare ทั้ง Best & Bad Practice  คงเป็นอีกประเด็น ที่น่าสนใจ ในอนาคต  ผู้เขียนมองว่า เป็นสิ่งที่ใช่  คือ ถ้าเราลองถูกก็เป็นประสบการณ์  ถ้าลองผิดก็เป็นบทเรียน  การลงมือทำ มีทั้งผิดและถูก เมื่อเราทบทวนก็จะเข้าใจ   ผู้เขียนย้อนคิดถึงตัวเองที่เคยผ่านวงสนทนาแบบกันเองนั้น   ผู้ชวนคุย ก็เล่าให้ฟังทั้งเรื่องที่เคยทำผิด และทำถูก    ณ ขณะเล่า ถ้ามีการตัดสินใจกระทำไปแล้ว ก็จะทบทวนให้ผู้ฟังรู้ ว่า ผู้ชวนคุยทำผิด หรือถูก  ถ้าทำถูกก็ดีใจกัน  ถ้าทำผิดก็ต้องหยุดพูดสักพัก  หรือไม่ก็ กินเจ  เป็นต้น   คนที่พบปัญหาชีวิต เมื่อได้ฟังบทเรียน ก็อาจได้คิด  และคิดได้ ในที่สุด

             เห็นจะจริงดังที่ผู้ดำเนินรายการบอกว่า  “เราเริ่มด้วย KM จบด้วย KM”   เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้เป็น คนเก่ง  คนดี  และมีความสุข   นี่คือการพัฒนาองค์กร ที่แฝง KM  ปฏิบัติไว้อย่างแนบแน่น ...ที่ปูนแก่งคอย

 

หมายเลขบันทึก: 35750เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2006 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ต้องขอขอบคุณอย่างมากครับที่ให้เราชาวปูนแก่งคอยได้มีโอกาสต้อนรับและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมงาน ของ สคส. หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องในเรื่องของการต้อนรับ ก็ต้องขออภัยไว้ ณ.โอกาสนี้ด้วยนะครับ

สำหรับวิธีสร้าง "วิธีคิดใหม่"นั้น ก็มีทั้งจาก "วงเหล้า"ในบางโอกาสแล้ว และ เราก็พยายามสร้าง "วงเล่า"  ในที่ทำงานด้วยครับ ด้วยการจัดให้มีการ Show & Shared ครับ

ขอบคุณที่เล่าชุดความรู้ดูงานให้ทราบ ประเด็น need to know เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากสำหรับองค์กรแต่ละองค์กร แต่อยากให้เล่าต่อว่าเขาทำอย่างไรด้วย คิดว่าข้อมูลคงมีอยู่แล้ว(บันทึกไว้แล้ว) หรือไว้ค่อยเล่าตอนต่อไป จะได้ความครบถ้วนมากขึ้นครับ

เรียน  คุณภูคา

          ผู้เขียนคุยกันในวงสนทนาเปิดภูมิปัญญาเสมอ ว่า คำไทยแฝงความหมายลึกซึ้ง เรากินเหล้า เพราะจะได้เล่าเรื่องกันสนุกไงคะ?  ภาวะใจเปิด ซึ่งสูงกว่าเปิดใจ บางครั้งก็ต้องละวางหลายสิ่งหลายอย่างทางความคิดที่ติดตัวเรามา ซึ่งก็ไม่ง่ายนักตามใจเราที่อยากจะทำ  มีบางการกระทำที่เราทำโดยธรรมชาติ แต่กลับเอื้ออำนวยให้เกิดบางสิ่งที่เราต้องการ  

          การShow &Share น่าจะเป็นการนำมาใช้ในเนื้องาน มีตรรกะเยอะกว่า อีกวงที่ใช้ศิลปะมากกว่า สำหรับตัวผู้เขียน มองว่าจุดสำคัญเริ่มที่วงธรรมชาติก่อน แล้วมาต่อยอดเป็นทางการที่วง Show & Share ซึ่งหลายที่ก็ทำกัน แต่กลับไม่ใช่เคล็ดลับ เพราะเขาไม่ค่อยได้ความคิดใหม่จริงๆ  ยังอยู่ใน ขั้น "ปรีชาญาณ" เท่านั้น  ปูนฯมีคนระดับ IQ สูงอยู่แล้ว  จริงๆวงนี้ก็ได้เปรียบ จะนำความนึกคิดเชิงปัญญาจากวงเหล้า มาใช้ต่อ เพื่อพูดคุยในระดับปรีชาญาณ ซึ่งอาจจะสังเคราะห์ มาเก็บในรูปแบบ Explicit Knowledge ในที่สุด

           ทาง สคส. คงต้องขอขอบคุณ ปูนฯ เช่นกัน ที่จัดการต้อนรับได้อย่างอบอุ่น เป็นกันเอง และขออภัยในข้อผิดพลาดในส่วนของเราเช่นกัน โดยจะปรับปรุงทันที  โดยส่วนตัวผู้เขียนชอบตรงที่ ท่านแก้ลบให้เป็นบวกอย่างทันท่วงที เช่นการปรับเปลี่ยนข้อมูลจัดการ กระทันหัน แต่รับมือได้อย่างทันท่วงที แสดงว่า เป็นนักเผชิญปัญหา ลงถึงเนื้องาน ไม่ใช่จัดการเป็น เฉพาะข้อมูลแบบไม่ผันผวนเท่านั้น จึงทำให้แขกไม่เกิดรู้สึกกระทบใดๆเลย

ขอบคุณค่ะ

คุณลิขิต

เรียน คุณครูนงเมืองคอน

         ผู้เขียนเห็นว่า รายละเอียด ทำอย่างไร (How to..) คงจะมีท่านอื่นๆ เขียนเล่าอยู่แล้ว จึงเจาะจง นำเสนอ แบบเจาะ ในเรื่องเชิง การบริหารจัดการ เพื่อประโยชน์ในสมาชิกบางกลุ่ม 

          อย่างไรก็ตาม คุณครูอดใจรอนิดหนึ่งนะคะ ถ้ายังไม่มีใครเขียนเล่า... ในอีก 2-3 วันนี้ จะจัดการให้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณ  คุณลิขิตมากครับ  โดยรวมแล้วเราก็ใช้ทั้งสองวงนั่นแหละครับ  แบบว่าเรียนรู้ทุกสถานการณ์ไงครับ เรียนรู้แบบหนุกหนาน ปรับตัวเข้ากับทุกสถานการณ์ ครับ

คุณลิขิต   สมแล้ว ที่เป็นคุณลิขิต

เขียน และ จับประเด็น  ได้ยอดเยี่ยมครับ

 

ขอบคุณค่ะ

ลิขิต ความหมายตื้น ตามความเข้าใจผู้เขียน คือ "ขีดเขียน"  แต่ผู้เขียน ก็ตั้งใจระลึกถึงผู้มีพระคุณ ที่พูดคำนี้ให้ติดหูตนเอง และท่านสอนให้ผู้เขียน ฟังเป็น รู้จักฟัง และเข้าใจฟัง  พร้อมทั้งฝึกให้พูดเป็น รู้จักพูด และเข้าใจพูด  ผู้เขียนต้องฝึกอ่านเป็นระดับ เช่นกัน  จนรู้สึกว่าอยากเขียน   เวทีนี้จึงกลายเป็นที่ระบาย  ความต้องการและความสุข ของผู้เขียนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท