โครงการจิตอาสาพัฒนาการอ่าน เขียน เรียนรู้สู่เด็กและเยาวชน กศน.อำเภอหนองหิน


1.      โครงการจิตอาสาพัฒนาการอ่าน เขียน เรียนรู้สู่เด็กและเยาวชน 

1.สถานการณ์การการอ่านหนังสือของคนไทย       

                สถานการณ์ หนังสือ เป็นเครื่องมือสำคัญต่อการเรียนรู้และการพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน เป็นสื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  ทั้งยังเป็นเครื่องมือในการสร้างสัมพันธภาพของครอบครัว ชุมชน  การส่งเสริมการอ่านหนังสือจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ต้อง การพัฒนาคนและพัฒนาสังคม

สถานการณ์ด้านอุปสงค์(demand)
•   อัตราการอ่านหนังสือของคนไทยยังน้อย เฉลี่ย 5 เล่มต่อคนต่อปี ในขณะที่ สิงค์โปร์และเวียตนาม 40-60 เล่มต่อคนต่อปี (ปี2549)
•  อัตราการอ่านหนังสือของเด็กไทยอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้งหนังสือที่อ่านส่วนใหญ่คือตำราเรียน  และอัตราการอ่านลดลงตามลำดับเมื่อมีอายุสูงขึ้น ทุกกลุ่มวัยมีแนวโน้มการอ่านหนังสือลดลง (จากประชากรผู้ที่อ่านหนังสือร้อยละ69.1ในปี2548 เหลือ 66.3ในปี 2551)  ทั้งนี้เพราะมีสื่ออื่นที่สนใจกว่า เช่น โทรทัศน์ เกม เป็นต้น( สนง.สถิติแห่งชาติ 2551)
•   อัตราการซื้อหนังสือของคนไทย 2 เล่ม/คน/ปี หรือร้อยละ 0.22 ของรายได้ต่อหัว (ปี2550)
•  การสำรวจพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของเยาวชน ร้อยละ 46 ใช้บริการห้องสมุดเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ส่วนผู้ปกครอง ร้อยละ 56 แทบไม่ได้ไปใช้บริการห้องสมุดเลย (สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ 2551)
•   ปัจจัยหลักที่ทำให้ไม่อ่านหนังสือ เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งเริ่มตั้งจากครอบครัว จนถึงหน่วยที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐบาล ที่ผ่านมาการรณรงค์ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านของสังคมไม่มีเอกภาพ และไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน หรือ

สนับสนุน
สถานการณ์ด้านอุปทาน (supply)
•  อัตราการขยายตัวของตลาดหนังสือเด็กยังจำกัด  ปริมาณการขายหนังสือเด็กทุกประเภทลดลง ประมาณ ร้อยละ30  เนื่องจากปัญหากำลังซื้อและทัศนคติของผู้ปกครองที่ไม่เห็นความสำคัญ  และหนังสือเด็กมีราคาแพงขึ้น (ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 2550 )
•  สัดส่วนร้านหนังสือต่อประชากรอยู่ในระดับต่ำ และกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ ทำให้การกระจายหนังสือไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างจังหวัด  จำนวนประชากรต่อร้านหนังสือ คือ 32,952 คน ต่อ 1 ร้าน ในขณะที่ไต้หวันและญี่ปุ่นประมาณ  8,000  คน (ปี 2550)
•  ในประเทศที่มีการตื่นตัวต่อการเรียนรู้ พบว่ารัฐบาลทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นให้ความสำคัญต่อการลงทุนพัฒนา ห้องสมุดสาธารณะ เช่นในประเทศเกาหลีสัดส่วนของห้องสมุดต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ หนึ่ง ต่อ 20,000 คน ในขณะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งต่อ 84,000 คน หรือมากว่า 4 เท่า

            จากสถานการณ์ดังกล่าว คณะรัฐมนตรีไดมีมติเห็นชอบกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยกำหนดให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็นวันรักการอ่าน กำหนดให้ปี 2552-2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่าน และกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นกลไกขับเคลื่อนการส่งเสริมการอ่านให้เกิดเป็นรูปธรรม ซึ่งคนไทยจะได้รับการพัฒนาความสามารถในการอ่านและการรู้หนังสือภายในปี 2555

       ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหินตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านหนังสือของเด็กและเยาวชน จึงเสนอรูปแบบการพัฒนาการอ่าน เพื่อให้อาสาสมัครส่งเสริมการอ่านนำไปปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมาย ชอบและรักการอ่านหนังสือจนเป็นนิสัยติดตามตัวตลอดไป รูปแบบการพัฒนาการอ่าน จะนำไปเป็นแนวดำเนินในเขตพื้นที่อำเภอหนองหิน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 (เริ่มเดือนพฤษภาคม-กันยายน 2553)

  2. วัตุประสงค์

2.1 เพื่อนำรูปแบบการพัฒนาการอ่านหนังสือ ไปดำเนินกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก และเยาวชนอำเภอหนองหิน โดยมีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านเป็นผู้ดำเนินการ

2.2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนอำเภอหนองหิน เกิดทักษะการเรียนรู้จากการอ่าน การเขียน  นำไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้

2.3 เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ชอบการอ่าน การเขียน อย่างต่อเนื่อง เป็นคุณสมบัติ(นิสัย)ประจำตัว ตลอดไป

 

3. กลุ่มเป้าหมาย

3.1 ด้านปริมาณ

3.1.1 อาสาสมัคร(จิตอาสา กศน.) จาก 36 หมู่บ้านละ 2 คน รวมเป็น 72 คน

3.1.2 เด็กและเยาวชน 1440 คนเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีอาสาสมัคร 1 คนรับผิดเด็กและเยาวชน 20 คน

3.1.3 บุคลากร กศน.และเครือข่าย 44 คน เป็นผู้นิเทสและติดตามการดำเนินงาน

3.2 ด้านคุณภาพ

   3.2.1 อาสาสมัครทุกคน มีแผนดำเนินงาน ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสถานศึกษา

   3.2.2 เด็กและเยาวชนหมู่บ้านละ 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตามรูปแบบการพัฒนาการอ่านหนังสือ ตามแผนดำเนินงานของอาสาสมัครครบทุกคน

   3.2.3 สื่อส่งเสริมการอ่านมีหลากหลายและมีคุณภาพจาก กศน.อำเภอหนองหินและห้องสมุดประชาชนอำเภอหนองหิน

  3.2.4 เด็กและเยาวชน ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมการอ่าน เกิดความชอบและรักการอ่านหนังสือเป็นคุณสมบัติประจำตัว(นิสัยประจำตัว)

  3.2.5 การนิเทศติดตามผลและการประเมินผลการดำเนินงานเป็นอย่างต่อเนื่อง เพราะมีกรรมการแบบประชานิเทสเต็มทุกหมู่บ้าน

  3.2.6 การรายงานผลออกมาเป็นเอกสารเชิงวิชาการและการวิจัย

 

4.      ระยะเวลาดำเนินงาน/พื้นที่ดำเนินงาน

เดือนพฤษาภาคม-กันยายน 2553 พื้นที่อำเภอหนองหิน ดำเนินงานในตำบลหนองหิน 15 หมู่บ้าน ตำบลปวนพุ 16 หมู่บ้าน และตำบลตาดข่า 5 หมู่บ้าน รวม 36 หมู่บ้าน

 

5.      การดำเนินการ

  1. แผนพัฒนาส่งเสริมการอ่านหนังสือ

5.1.1 ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง(ครู กศน./อาสาสมัคร/และผู้ผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ)

5.1.2 จัดทำแผน/โครงการพัฒนาส่งเสริมการอ่านหนังสือสู่เด็กและเยาวชน(พฤษภาคม – กันยายน    2553)

5.1.3 จัดทำประชาคมทุกหมู่บ้านเพื่อค้นหาเด็กและเยวชนผู้เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านละ 40 คน

5.1.4 อาสาสมัครปฏิบัติการตามรูปแบบการส่งเสริมการอ่านหนังสือ

5.1.5 กรรมการนิเทศติดตามผลและประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

5.1.6 จัดงานวรรณกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือสู่เด็กและเยาวชน 1 ครั้ง เพื่อให้เด้กและเยาวชนได้แสดงความสามารถในเชิงวรรณกรรมส่งเสริมการอ่านบนเวที

5.1.7 สรุปผลและประเมินผลการดำเนินงาน/จัดทำเอกสารเชิงวิชาการงานวิจัย

 

6.      รูปแบบการพัฒนาส่งเสริมการอ่านหนังสือ

6.1 อาสาสมัครศึกษาเด็กและเยาวชนเป็นรายบุคคลเพื่อทราบพื้นฐานของแต่ละคน

6.2 อาสาสมัครจัดทำแผนส่งเสริมการอ่านร่วมกันกับเด็กและเยาวชนที่เข้าโครงการ

6.3 อาสาสมัครแจกจ่ายหนังสืออ่านให้กับเด็กและเยาวชนอ่านสัปดาห์ละ 1 เล่ม รวม 15 เล่มจนสิ้นสุดโครงการนำไปอ่านที่บ้าน (จัดหนังสือดีอ่านตามความต้องการ)

6.4 เด็กและเยาวชนที่อ่านหนังสือไม่ได้และไม่ค่อยได้ให้บอกอาสาสมัครเพื่อสอนปรับพื้นฐานการอ่าน

6.5 อาสาสมัครพบกลุ่มเด็กและเยาวชนที่รับผิดชอบพร้อมกันเดือนละครั้งที่ กศน.ตำบลหรือที่ที่ กำหนดไว้ เพื่อรายงานผลความก้าวหน้าและแสดงกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและสันทนาการร่วมกันสร้างสรรค์เชิงคุณธรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น

6.6 จัดงานมหกรรมส่งเสริมการอ่านเชิงวิชาการและนันทนาการร่วมกันทุกกลุ่ม เมื่อใกล้สิ้นสุดโครงการ

6.7 สัมมนาอาสาสมัครส่งเสริมการอ่านและผู้เกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

6.8 ประเมินผลโครงการถึงความก้าวหน้า/ปัญหา/อุปสรค/และแนวทางแก้ไขต่อไป

6.9 รายงานผลในรูปเอกสารวิชาการเชิงวิจัย แก่ผู้เกี่ยวข้องและเผยแพร่ต่อไป

 

เอกสารวิชาการหมายเลข 1

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองหิน

09/05/53

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 357349เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 11:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท