ข้อคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยไทย


ข้อคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยไทย

          มาจากเว็บไซต์ของ Times Higher Education ที่นี่   เวลานี้ประเทศต่างๆ มุ่งสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยโดยเอาอย่างสหรัฐ   การเอาอย่างต้องเข้าใจบริบทและประวัติศาสตร์การสร้างตัวของมหาวิทยาลัยวิจัยเหล่านั้น   ที่สร้างความเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยจากการทำงานรับใช้สังคมของเขา   
          การสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยไทยก็ควรใช้ยุทธศาสตร์สร้างตัวจากการรับใช้ชุมชนและสังคมไทย
 
วิจารณ์ พานิช
๑๙ เม.ย. ๕๓
        
หมายเลขบันทึก: 357323เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2010 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ต้องขอขอบคุณท่านอาจารย์หมอวิจารณ์มากเลยครับที่แนะนำบทความของ Lloyd Armstrong, Professor & Provost Emeritus แห่ง University of Southern California เรื่อง From where I sit : Don’t assume one (US) size fits all ซึ่งทำให้ได้ข้อคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยไทยในมิติที่เราอาจจะมองข้ามไปก่อนหน้านี้ นั่นก็คือประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย น่าจะมุ่งพัฒนาคุณภาพมหาวิทยาลัยในประเทศของตน โดยตอบสนองต่อความต้องการ (=ความขาดแคลน) โอกาส และสถานการณ์ของชุมชนและสังคมตนเอง มากกว่าการวิ่งตามกระแสโลก เพราะแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลก ส่วนใหญ่ก็เริ่มต้นจากการเป็นสถาบันการศึกษาขนาดเล็ก ที่พัฒนายกระดับขึ้นมาโดยการใช้ยุทธศาสตร์ตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและสังคมก่อน

ในประเด็นคุณภาพการวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในสัปดาห์นี้มีผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยในเอเชียโดย QS Asian Univerrsity Rankings 2010 [http://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/overall] ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยของไทย 7 แห่ง ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ Top 200 ของเอเชีย ตามลำดับ ดังนี้

28 มหาวิทยาลัยมหิดล (80.20), 44 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (73.30), 79 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (61.20), 91 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (57.20), 101 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (54.40), 122 มหาวิทยาลัยขอนแก่น (49.00), 126 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (47.50) โดยปีนี้มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นกว่าปี 2009 ทั้งนี้เกณฑ์การจัดอันดับประกอบด้วย Research Quality 60% (Asian Academic Peer Review 30%, Papers/Faculty 15%, Citations/Paper 15%), Teaching Quality 20% (Students/Faculty), Graduate Employabilty 10%, Internationalization 10% ซึ่งถ้าหากพิจารณาการจัดอันดับในระดับภูมิภาคเอเชียด้วยกันนี้ น่าจะทำให้เราทราบถึงสถานภาพของมหาวิทยาลัยของไทยได้ดีกว่าการที่จะพยายามไปเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นในระดับโลก และถ้าหากเราใจกว้างพอ ระดมผู้ที่มีศักยภาพจริงของทั้งประเทศ มาทำงานด้วยกัน ตามสาขาวิชาที่เรามีโอกาสสูง [โปรดดู ผลงานวิชาการตีพิมพ์ของประเทศไทยในปี ๒๕๕๒ จำแนกตามสาขาวิชาที่ http://gotoknow.org/blog/council/339915] ก็น่าจะทำให้ มหาวิทยาลัยไทยขยับไปข้างหน้าได้มากกว่าปัจจุบันนี้

สำหรับ Top 10 ของเอเชีย เป็นมหาวิทยาลัยในฮ่องกง 3 สถาบัน สิงคโปร์ 1 สถาบัน ญี่ปุ่น 5 สถาบัน และเกาหลีใต้ 1 สถาบัน อาจารย์และท่านผู้อ่านทั้งหลายมีข้อคิดอะไรที่จะมา ลปรร. กันในเรื่องนี้บ้างครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท