Benchmarking คืออะไร ?


Benchmarking คืออะไร ?

 

 

"Benchmarking  คืออะไร ?"

 

                ท่านทราบหรือไม่ว่า "Benchmarking  คืออะไร ?"  สำหรับบันทึกนี้ ผู้เขียนขอนำเรื่อง "Benchmarking  คืออะไร ?"  ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ที่นำมาใช้กับระบบราชการไทย มาแจ้งให้ทราบ...เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบและเกิดความเข้าใจ... ดังนี้ค่ะ...

ประวัติและความเป็นมา

                บริษัท Xerox  เป็นบริษัทแรกที่นำเอาแนวคิด Benchmarking  มาใช้ในบริษัท  เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้านการตลาดอย่างรุนแรง  อันเนื่องมาจาก การที่บริษัทถูกผู้ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารจากประเทศญี่ปุ่น ที่เข้ามาตีตลาดด้วยราคาสินค้าที่ต่ำกว่า และคุณภาพที่ดีกว่า แนวคิด Benchmarking ของบริษัท Xerox  คือ  วิธีที่จะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันในตลาดได้อีกครั้ง

ความหมาย

Benchmark

                หมายถึง  เกณฑ์ที่ใช้ในการเปรียบเทียบสมรรถนะ หรือความสามารถ

                หมายถึง  ตำแหน่งหรือจุดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิง

Benchmarking

                หมายถึง  วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบ  ผลิตภัณฑ์  บริการและวิธีการปฏิบัติกับองค์การที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง  ผลที่ได้รับจากการทำ Benchmarking  คือ  ทำให้เรารู้ว่าใครที่เป็นผู้ปฏิบัติได้ดีที่สุด (Best Practice) และเขามีวิธีการอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการทำ Benchmarking

                1.  สามารถทำให้องค์กรรู้จุดแข็ง  จุดอ่อน  ของตนเอง

                2.  สามารถกำหนดกลยุทธ์  เพื่อสร้างข้อได้เปรียบเทียบแก่คู่แข่งขันได้

                3.  เป็นวิธีการเรียนทางลัด  เพื่อก้าวให้ทันองค์กรอื่น ๆ

                4.  เพื่อทราบถึงความคืบหน้าของวิธีการ  หรือ  การปรับปรุงแนวทางใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

ลักษณะสำคัญของ Benchmarking

                เป็นกระบวนการการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากผู้อื่น  ซึ่งเป็นการปฏิบัติอย่างเปิดเผยเป็นระบบและมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ  แต่เป็นการนำเอาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศเพื่อนำมาประยุกต์ให้เหมาะสมกับตนเอง ซึ่งการทำ Benchmarking ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะกับคู่แข่งขันเท่านั้น เราสามารถจะทำกับใครก็ได้ที่มีวิธีปฏิบัติที่ดีกว่าเรา และเราต้องการที่จะเรียนรู้จากเขา

ประเด็นที่ไม่ใช่การทำ Benchmarking

               1. การวิเคราะห์คู่แข่งขันเท่านั้น

               2. การเยี่ยมชมงาน

               3. การลอกเลียนแบบ

               4. การเข้าไปสืบความลับ

ประโยชน์ของการทำ Benchmarking

               1. ได้แนวคิดการทำงานที่ดีกว่าเดิม

               2. มีทางเลือกใหม่ ๆ เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน

               3. มีเป้าหมายที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศได้อย่างชัดเจน

               4. เกิดความเข้าใจถึงเป้าหมายการตลาดที่สูงกว่า

               5. เกิดกระบวนการปรับปรุงที่เป็นเชิงรุก

               6. มีกลไกในการขับเคลื่อนการที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ

               7. เกิดระบบการจัดการที่ดีอย่างเป็นจริง  และเป็นรูปธรรม

               8. มีแนวคิดการมุ่งสู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมได้

 

  ที่มา  :  http://gotoknow.org/file/bussayamas/PDF1.pdf

 

อย่าลืม !  อ่านประเภทของ Benchmarking และแนวทางการทำ Benchmarking นะค่ะ...

 

 

หมายเลขบันทึก: 357003เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2010 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท