การสร้างเอกสารประกอบการเรียนการสอน


เอกสารประกอบการเรียนการสอน

เอกสารประกอบการเรียนการสอน

ความหมาย

            นิรมล   ศตวุฒิ  และ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล (2546, หน้า 10-11) กล่าวว่า เอกสารประกอบการสอน หมายถึง เอกสารวิชาการที่ผู้สอนวิชาใดวิชาหนึ่งเขียนและเรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสอนหรือเป็นเอกสารเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม ตัวอย่างเอกสารที่ใช้เป็นแนวทางในการสอน เช่น แผนการสอนระยะยาว แผนการสอนรายคาบ เค้าโครงเนื้อหาวิชาทั้งวิชา เป็นต้น ตัวอย่างเอกสารที่จัดทำเป็นเอกสารเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม เช่น สรุปสาระของเนื้อหาวิชาพร้อมทั้งแบบฝึกหัด เป็นต้น

             สนม   ครุฑเมือง (2549, หน้า 90) กล่าวว่า เอกสารประกอบการสอนเป็นเอกสารหรือสื่อที่สร้างและเขียนเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาใดวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของสถาบันการศึกษา โดยศึกษาความมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของหลักสูตร เพื่อนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างสอดคล้องกับสภาพการสอนจริง เอกสารประกอบการสอนต้องมีเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง มีข้อมูลอ้างอิง มีระบบขั้นตอนในการเรียน การจัดทำรูปเล่มอาจตีพิมพ์หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่มก็ได้

            สุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป., หน้า 2) ได้กล่าวถึงเอกสารประกอบการเรียนการสอน คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนของครู หรือประกอบการเรียนของนักเรียนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ควรมีหัวเรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา สาระและกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด

            สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการเรียนการสอน หมายถึง สื่อที่ผู้สอนเรียบเรียงเขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนวิชาใดวิชาหนึ่ง ต้องมีเนื้อหาสาระที่ถูกต้อง มีข้อมูลอ้างอิง มีระบบขั้นตอนในการเรียน สำหรับให้ผู้เรียนได้ศึกษาเพิ่มเติม เช่น สรุปสาระของเนื้อหาวิชาพร้อมทั้งแบบฝึกหัด
ควรมีหัวเรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา สาระและกิจกรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตามที่หลักสูตรกำหนด

 

ส่วนประกอบ

           จากการศึกษาส่วนประกอบของเอกสารประกอบการสอนจาก สนม  ครุฑเมือง
(2549, หน้า 90) และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป., หน้า 3) สรุปได้ว่า ส่วนลักษณะของเอกสารประกอบการสอนนั้นมีลักษณะเหมือนกับผลงานวิชาการอื่นๆ ทั้งส่วนประกอบของเอกสาร การใช้ภาษา ความถูกต้องของเนื้อหาสาระ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การอ้างอิง และการพิมพ์เผยแพร่ เป็นต้น ผู้เขียนเอกสารประกอบการสอนต้องศึกษาเนื้อหาสาระของคำอธิบายรายวิชาให้ละเอียดในทุกๆ ประเด็น

               

ส่วนประกอบของเอกสารประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้

1. ส่วนนำ ควรมีส่วนประกอบ ดังนี้

   1.1 ปกนอก

   1.2 ปกใน

   1.3 คำนำ

   1.4 สารบัญ

   1.5 จุดประสงค์การเรียนรู้

   1.6 คำแนะนำการใช้เอกสารประกอบ การเรียนการสอน

2. ส่วนเนื้อหา อาจแบ่งเป็นเรื่องย่อย หรือ เป็นตอน ตามลักษณะของเนื้อหา ควรประกอบ ดังนี้

   2.1 ชื่อบท หรือชื่อหน่วย หรือชื่อเรื่อง

   2.2 หัวข้อเรื่องย่อย

   2.3 แบบทดสอบก่อนเรียน

   2.4 เนื้อหาสาระ

   2.5 กิจกรรมท้ายบทเรียน

   2.6 คำถามท้ายบทเรียน

   2.7 แบบทดสอบหลังเรียน

3. ส่วนอ้างอิง

   3.1 เอกสารอ้างอิง

      อาจอยู่ส่วนท้ายเนื้อหาในแต่ละตอน หรืออยู่ท้ายเล่มของเอกสารประกอบการเรียน
      การสอน

   3.2 ภาคผนวก

      เช่น แบบทดสอบ กระดาษคำตอบ และเฉลย เป็นต้น

 

ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอน

     ถวัลย์  มาศจรัส และพรพรต   เจนสุวรรณ์ (2547, หน้า 20-23) และสุนันทา สุนทรประเสริฐ (ม.ป.ป., หน้า 3) สรุปได้ว่า เอกสารประกอบการสอน มี 10 ขั้น ดังนี้

   1. วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุจากการเรียนการสอน เพื่อการสร้างเอกสารประกอบการสอน

   2. ศึกษาหลักสูตรโดยละเอียด เพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์และกิจกรรม

   3. เลือกเนื้อหาที่เหมาะสม แบ่งเป็นบทเป็นตอน หรือเป็นเรื่องเพื่อแก้ปัญหาที่พบ

   4. ศึกษารูปแบบของการเขียนเอกสารประกอบการสอน และกำหนดส่วนประกอบภายในของเอกสารประกอบการสอน

   5. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมเนื้อหาสาระจากตำราเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสร้างจุดประสงค์เนื้อหา วิธีการและสื่อประกอบเอกสารประกอบการสอน

   6. เขียนเนื้อหาในแต่ละตอนโดยละเอียด ซึ่งอาจจะแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยรวมทั้งภาพประกอบ แผนภูมิ และข้อทดสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

   7. ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ นำผลที่ได้มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง

   8. นำไปทดลองใช้ในห้องเรียนและเก็บบันทึกผลการใช้

   9. นำผลที่ได้มาใช้พิจารณาและปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง

  10. นำไปใช้จริงเพื่อแก้ปัญหาจากข้อ 1

 

บรรณานุกรม

ถวัลย์  มาศจรัสและพรพรต   เจนสุวรรณ์. (2547). นวัตกรรมการศึกษาชุด.เอกสารประกอบการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ). กรุงเทพฯ: ธารอักษร

นิรมล   ศตวุฒิและศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2546). การเขียนเอกสารวิชาการ . กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สนม   ครุฑเมือง กุล. (2549). การเขียนเชิงวิชาการ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

สุนันทา   สุนทรประเสริฐ. (ม.ป.ป.). การผลิตเอกสารประกอบการเรียนการสอน. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฏหมาย

 

หมายเลขบันทึก: 356622เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2010 12:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทาย และมาเป็นกำลังใจให้กันค่ะ

                       

ขอบคุณมากนะคะสำหรับกำลังใจ...

แวะมาทักทายด้วยคนก็ร่วมโครงการLLEN ภาษาอังกฤษม.นเรศวรค่ะ

  • ขอบคุณครับ
  • สำหรับสาระดี และวิธีการสร้างเอกสารประกอบการสอน

ขอบคุณเช่นกันค่ะที่แวะเวียนมาเยี่ยมชม

ข้อมูลมีประโยชน์มากค่ะ

 

 

 

 

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้

ขอบคุณครับที่มีข้อมูลให้สืบค้นประกอบการทำวิทยานิพนธ์


 

สุรเศรษฐ์ สุวรรณ์


เป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ ขออนุญาติศึกษาและนำมาอ้างอิงนะครับ

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

ขอบคุณความรู้นี้ค่ะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

ค้นหาความสำคัญของเอกสารประกอบการสอน...ก็ไม่เคยคิดว่าจะเจอนักวิชาการที่เขียนไว้

ชื่อ ทับทิม บุญเหลือ

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้

ขออนุญาตนำไปอ้างอิงนะคะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท