ตลาดเสรีที่เป็นธรรมเกิดได้จริงไหมในประเทศไทย ?
ในระบบการค้าของโลกในยุคโลกภิวัฒน์นี้ คำว่า "ตลาดเสรี (Free market)" ได้มีการ พูดถึงกันมาก ตลาดเสรีสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของการแข่งกันที่สมบูรณ์แบบ ทำให้มีการเคลื่อนย้ายทุนข้ามพรหมแดนกันได้อย่างเสรี เพื่อแสวงหากำไรให้ได้สูงสุด ทำให้เกิดการแข่งขันกันในหลายๆ ด้านตามมา จากกลไกของระบบตลาดเสรีนี้ รัฐบาลของประเทศต่างๆ ส่วนมากมักเชื่อกันว่าระบบตลาดเสรีนี้จะสามารถสร้างความเจริญเติบโตในทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งจะส่งผลไปยังประชากรกลุ่มต่างๆ ทุกภาคส่วนของประเทศให้มีงานทำ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จะทำให้ความยากจนถูกแก้ไขให้ลดน้อยลงไปได้ แนวความคิดเแบบศรษฐกิจตลาดเสรีจะอาศัยกลไกการทำงานของระบบตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนโดยรัฐต้องไม่เข้าไปแทรกแซง จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจแนวนี้เกิดจากแนวความคิดของ Adum Smith
สำหรับประเทศไทยนั้น ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ในหมวด ๕ ซึ่งว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในมาตรา ๘๗ บัญญัติว่า “รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม คุ้มครองผู้บริโภค และป้องกันการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งยกเลิกและละเว้นการตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประ กอบกิจการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีการสาธารณูปโภค” จากบทบัญญัตินี้ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ได้สะท้อนให้เห็นแนวความคิดด้านตลาดเสรีของประเทศไทยอย่างชัดเจนถึงกับบรรจุไว้ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมีการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ ให้สอดคล้องและเอื้ออำนายกับการเปิดตลาดเสรีทั้งทางด้านการค้าและการลงทุน
ตลาดเสรีที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ นั้น สิ่งที่เกิดขึ้นตามมากับมิได้เป็นไปตามคาด แต่กลับตรงกันข้าม ระบบตลาดเสรีก่อให้เกิดช่องหว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมากยิ่งขึ้น มีความเหลื่อมล้ำกันทางด้านรายได้ ความเป็นอยู่และปัญหาอื่นๆ ตามมาอย่างมากมาย ประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ พยายามเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ เปิดตลาดเสรีทางการค้าและการลงทุนโดยไม่มีข้อจำกัด เมื่อมีการเปิดเสรีก็มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนข้ามพรมแดนได้อย่างเสรีเช่นกัน และก็อาศัยความได้เปรียบด้านเงินทุนที่มีมาก และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี แสวงหาผลประโยชน์จากประเทศที่เล็กหรือด้อยกว่าตน บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งมีเงินทุนหนาพยายามเข้ามาซื้อหรือผนวกกิจการทำให้ตนเองมีขนาดใหญ่ขึ้นสามารถควบคุมกลไกตลาดได้มากขึ้น เมื่อได้ผลกำไรแล้วก็หอบกลับประเทศตนบริษัทท้องถิ่นซึ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กมีเงินทุนน้อยต่างทยอยปิดกิจการไม่สามารถอยู่รอดได้ ดังจะเห็นได้ในกรณีการขยายตัวของ Discount Storeไปยังชุมชนต่างๆ ร้านโชว์ฮ่วยตามตรอกซอกมุม ซึ่ง เปิดมานานต่างทยอยปิดกิจการกันเป็นทิวแถว บริษัทขนาดใหญ่ที่เข้ามาซื้อหรือผนวกกิจการมีการปรับปรุงองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในองค์กรมีการยกเลิกหรือตัดบางส่วนขององค์กรออกไปเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่เห็นว่าไม่จำเป็น หรือหันไปจ้าง out sourceแทนก็ให้เกิดการคนตกงานจำนวนไม่น้อยดังเห็นได้จากภาคการธนาคารที่ผ่านๆมา เนื่องจาก ต้องทำต้นทุนให้ต่ำที่สุดแต่ได้รับกำไรหรือผลตอบแทนให้มากที่สุดนั่นเอง ซึ่งก็อาจจะถือได้ว่าเป็นธรรมดาของการดำเนินธุรกิจ ในการตลาดเสรีประเทศที่เล็กกว่าไม่ค่อยได้มีอิทธิพลหรือบทบาทในการกำหนดกติกา ซึ่งในทางที่ถูกต้องทุกประเทศควรจะมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกันในการกำหนดกฎระเบียบเพื่อหาจุดที่เหมาะสมสำหรับประเทศตน
การตลาดแบบเสรีหรือการค้าเสรี (Free Trade) นี้ได้แผ่ขยายไปทั่วโลกไม่มีประเทศใดสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่จะทำอย่างไรให้มีการกำหนดกฎระเบียบที่เป็นธรรม มีความเท่าเทียมกันกับทุกๆประเทศได้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงแค่การค้าเสรีเท่านั้น เพราะ Fair trade can be free, But free trade can be unfair จึงจำเป็นต้องพูดถึงความเป็นธรรมด้วย คือการค้าเสรีและเป็นธรรม (Free Trade and Fair Trade) แต่ก็เป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยากเพราะการค้าที่เป็นธรรมนั้นมักตรงข้ามกับการค้าเสรี “Fair trade” in contrast to the “ Free trade” การปล่อยให้มีการค้าเสรีถ้ารัฐเข้าไปควบคุมมากๆ มันก็ไม่เป็นเสรีแต่ถ้าปล่อยให้เสรีมากๆ ก็จะเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นมาได้ สำหรับประเทศไทย ซึ่งส่วนองค์กรธุรกิจและส่วนประชาชนยังไม่มีเข้มแข็งพอ ดังนั้นการค้าที่เสรีที่เป็นธรรมคงเกิดขึ้นได้ยาก บริษัทขนาดใหญ่มักควบคุมกลไกของตลาดได้ สามารถที่จะกำหนดทิศทางความเป็นไปของตลาดได้ แต่บริษัทขนาดเล็กไม่สามารถที่จะทำเช่นนั้นได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
1. เจริญ คัมภีรภาพ, ข้อตกลงเขตการค้าเสรี: ลดภาษี หรือ ลดอำนาจอธิปไตยไทย
http://www.ftawatch.org/autopage1/show_page.php?t=5&s_id=5&d_id=5
2. กรุงเทพธุรกิจ 21 ต.ค. 46, "มหาธีร์"ชูค้าเสรีต้องเป็นธรรม
http://www.thailabour.org/thai/news/46102101.html
3. Jeffrey Eisenberg, Free Trade versus Fair Trade
http://www.aworldconnected.org/article.php/560.html
4. Paul Gunstensen, Free Trade vs. Fair Trade?, Development In Action-Spring 2004
http://www.developmentinaction.org/newspages/index/55.php
1
ไม่มีความเห็น