การจัดการงานวิจัย ทำอย่างไร ตอนที่ 1


Make the impossible to possible....

จากงานประชุมวิชาการของกรมควบคุมโรคที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2549 ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลซมหานาค แมลงมันได้มีโอกาสเข้าฟังบรรยายหัวข้อ การจัดการงานวิจัย:เรียนรู้จากประสบการณ์ บรรยายโดย นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ผอ.สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข  มีโอกาสได้เข้าฟังในช่วงกลางๆ รายการ (เพราะมัวแต่ยืนเฝ้าบอร์ดโปสเตอร์ที่ตัวเองนำเสนออยู่) ก็ได้เข้ามาฟังทันตอนที่กำลังพูดเรื่องการจัดการงานวิจัย  โดยมีอยู่ประโยคหนึ่งที่กล่าวว่างานวิจัยคืองาน Make the impossible to possible  งานวิจัยต้องทำจนเสร็จ? เสร็จแบบไหน?  แบบทันเวลา? และถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่?  งานวิจัยในปัจจุบันต้องเป็นงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง  งานวิจัยที่ได้ประโยชน์ สำคัญต้องตั้งโจทย์งานวิจัยให้ดี  ว่าทำไปทำไม  เดิมกรรมการจะอ่านเน้น methodology ของงานวิจัย  แต่ปัจจุบันจะอ่านความสำคัญและที่มาของงานวิจัยเป็นสิ่งแรกก่อน เพื่อดูโจทย์วิจัยว่าทำไปทำไม ได้อะไร จากนั้นจึงจะอ่านในบทหรือหัวข้อต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #คนแมลงมัน
หมายเลขบันทึก: 35645เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2006 13:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • หายไปนานนะครับ
  • รออ่านเรื่องต่อไปครับ
ผมขออนุญาตแสดงความคิดด้วยคนนะครับ ถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีความรู้เรื่องแมลง แต่ก็สนใจเรื่องงานวิจัยครับ ในความคิดเห็นของผมนั้น "งานวิจัยจะจัดการตัวของมันเอง" มันจะบ่งบอกถึงคุณค่ามากน้อยด้วยคุณประโยชน์ของมันต่อสิ่งต่าง ๆ ที่จะรับประโยชน์จากมัน ถ้างานวิจัยเพื่อคน ก็ต้องวัดที่คน งานวิจัยเพื่อแมลงวัดที่แมลง แต่ต้องไม่วัดงานวิจัยเพื่อคนหรือแมลงที่เวลา งบประมาณหรือชื่อคนทำครับ
ขอโทษด้วยค่ะคุณขจิต ที่หายไปนาน  เนื่องจากป่วยและกำลังวุ่นวายกับงานประจำอันแสนสนุก   ตอนนี้กำลังชั่งใจว่าตกลงว่างานวิจัยเราควรเป็นไปในรูปแบบอย่างไร  โอกาสของงานที่ใช้ประเมินความก้าวหน้าทางอาชีพ(ซี) จำเป็นต้องเป็นงานวิจัยหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้น นักวิชาการรุ่นใหม่ๆ ที่ยังนิรนามทางด้านงานวิจัยสาธารณสุข จะต้องใช้เวลาสร้างอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช กี่ปีนา.... ถึงจะทำงานวิจัยแล้วน่าเชื่อถือ  เอ...แล้วคนที่มีประสบการณ์ในแต่ละด้านนานๆ เค้าควรมีงานวิจัยหรือผลงานดีดี ออกมาปีละกี่เรื่องหนอ...... (ใช้อะไรวัดดีละ)   จากที่ไปประชุมมาท่าน นพ.ได้พูดแนวคิดว่า ถ้างานที่ใช้ประเมินความก้าวหน้าของเราเป็นงานเกิดจากการสังเคราะห์ปัญหาในพื้นที่เอง ไม่ต้องทำเป็นงานวิจัย อะไรทำนองนี้น่าจะดีนะ  แล้ว กพ.จะให้ใช้ประเมินผลงานได้ไหม???  จากที่ประชุม ท่าน นพ. ท้าทายไว้ว่าจะให้เจ๋ง นักวิจัยต้องสามารถของ Grant จากองค์กรหรือหน่วยงานอื่นๆ ได้ถึงจะดี (ซึ่งข้าพเจ้าเห็นดีด้วยอย่างยิ่งเป็นการแสดงศักยภาพอย่างหนึ่งเหมือนกันนะว่างานวิจัยคุณได้ทุนมาแบบหินหิน) เพราะเป็นที่รู้ๆ กันว่าทุนที่ได้ในแต่ละงานวิจัย(บางส่วนนะ)มักได้จาก สาเหตุคนไทยรักและเป็นพี่น้องกัน และ..  เป็น.. พวก.. พ้อง.. เดียว.. กัน.
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณปภังกรค่ะ อ่านแล้วมีกำลังใจทำงานหน่อยค่ะ  ถ้างานวิจัยจะน่าเชื่อถือหรือไม่ ขึ้นอยู่กับชื่อ   ตำแหน่งและซี ละก็ตอนเนี่ยคงท้อใจน่าดู   เล่าสู่กันฟังนะค่ะ   ตอนนี้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานควบคุมโรคทางแมลงบางเรื่องมีน้อย ประกอบกับทางพื้นที่เราเอง ก็มีข้อมูลน้อย  การทำงานเป็นแบบเดิมๆ รับคำสั่งแล้วก็ทำ ทำ ทำ   ปัญหาที่เกิดมา 10 -20 ปี ก็ยังคงเกิด และก็ไม่มีสัญญาณบอกว่า ตื่นเถิดชาวไทย ท่านทำแบบเดิมไม่ได้อีกแล้วนะ  ท่านจะมัวแต่รักษาโรคให้หายจากคน  แต่ท่านไม่ได้รักษาคนให้หายจากโรค    มีโอกาสเข้าไปสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ถามว่ารู้มั้ยค่ะว่าทำไมเราถึงป่วยเป็นมาลาเรีย ชาวบ้านก็บอกว่ารู้ ยุงไง  เราก็ยิ้มหน้าบานชื่นใจว่าชาวบ้านท่าทางจะรู้    พอถามว่ารู้มั้ยค่ะว่าเป็นยุงอะไร   ชาวบ้านก็ตอบทันทีเลยว่า  ออ... ยุงลายไงหมอ (จริงๆ เขินกับการให้เกียรติของชาวบ้านที่เรียกเราว่าหมอ แต่รู้สึกละอายว่าถ้าฉันเป็นหมอฉันก็ต้องทำให้คุณไม่ป่วยให้ได้ซิ) จากนั้นหน้าเราก็หุบ แล้วก็หันไปมองเจ้าหน้าที่เรา  พร้อมกับยิ้มแล้วก็พูดไม่ออก แต่ก็ได้อธิบายไปว่าไม่ใช่นะค่ะ จริงๆแล้ว......(แบบว่ายาว)   เท่าที่ศึกษาชาวบ้านมีความรู้เรื่องโรคนะ แต่อาจไม่ชัดเจน   เป็นหน้าที่ของหน่วยงานพื้นที่ละมีวิธีการหรือกิจกรรมอะไรลงไปแก้ปัญหาตรงนี้   เวลาทำงานวิจัยเรามีเหตุผลความมุ่งหวังซ่อนเร้น(เรื่องงานนะ)มากมายที่อยากให้งานวิจัยเป็นสัญญาณเตือนหน่วยงานพื้นที่ให้ ลงมือทำอะไรซักอย่างได้แล้ว  แต่เวลาเขียนโครงร่างงานวิจัย จะใส่จินตนาการนอกกะลามากไป ก็ไม่กล้า   แต่ยังไงขอให้นักวิจัยทุกท่านมีกำลังใจในการทำงานวิจัยดีดี ออกมาใช้หรือเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้บ้านเมืองในต่อๆไปนะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท