วิธีการเลี้ยงเด็กอ่อน


วิธีการเลี้ยงเด็กอ่อน

 

วิธีเตรียมนม 

             1. ล้างเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหมดให้สะอาด แล้วต้มในหม้อมีฝา

             2.   ล้างมือให้สะอาดก่อนผสมนม

             3.   ใช้น้ำเดือดผสมกับน้ำสุกให้อุ่นสำหรับชงนม

             4.   ตวงนมตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ คนให้ละลายทั่วกันแล้วนำไปใส่ขวดนม

 อาหารเพิ่มเติมอื่นๆสำหรับทารก 

           ทารกอายุ 1 เดือน ให้น้ำส้มคั้นที่ไม่เปรี้ยวมากเกินไป 1 ช้อนชา ผสมน้ำสุกเท่าตัว ต่อมาจึงเพิ่มจำนวนส้มจนถึงประมาณ ครึ่งผลถึงหนึ่งผล

           ทารกอายุ 2 เดือน เริ่มให้น้ำมันตับปลาประมาณครึ่งช้อนชา                                              

           ทารกอายุ 4 เดือน เริ่มให้ข้าวครูดหรือข้าวบด ในตอนแรกให้เพียง 1-2 ช้อนชาแล้วค่อยๆเพิ่มจนถึง 1-2 ช้อนโต๊ะผสมกับ น้ำต้มกระดูก น้ำต้มตับ น้ำต้มผัก

             หลังจากนั้นให้น้ำนมตาม เมื่อทารกกินข้าวกับน้ำซุบได้ดีแล้วก็เริ่มให้ไข่แดงต้มสุดบดละเอียด เริ่มด้วย 1 ช้อนชา และเพิ่มไปเรื่อยๆจนถึงไข่แดงวันละ 1 ฟอง

           ทารกอายุ 5 เดือน เริ่มให้เนื้อปลาบดละเอียด 1-2 ช้อนโต๊ะ ผสมกับข้าวและน้ำซุบ

           ทารกอายุ 6 เดือน ให้อาหารผสมแทนน้ำนม 1 มื้อเริ่มให้ผักต้มบดละเอียดลงไปในข้าวประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ

           ทารกอายุ 7 เดือน เริ่มให้เนื้อสัตว์ต้มเปื่อยบดละเอียดและตับ1-2ช้อนโต๊ะ และให้ลองกินไข่ขาว ขนมปังกรอบ

           ทารกอายุ 8 เดือน เริ่มให้อาหารผสมแทนน้ำนม 2 มื้อ และเริ่มให้ของหวานหลังอาหารคาว

           ทารกอายุ 9 เดือน ให้อาหารเหมือนเมื่ออายุ 8 เดือน และให้เริ่มจับช้อนป้อนข้าวเอง และดื่มน้ำจากถ้วยเอง

           ทารกอายุ 10-12 เดือน ค่อยๆเพิ่มอาหารผสมแทนน้ำนมทั้ง 3 มื้อ

 

 

อาหารเด็กอ่อน 7-8 เดือน(อาหารเสริมทารก)
                  อาหารเด็กอ่อนในวัย 7-8 เดือน ยังคงให้ข้าวเหมือนเดิมเป็นมื้อกลางวันคือ ข้าวบดกับเนื้อสัตว์และผัก ส่วนที่จะเพิ่มขึ้นมาสำหรับอาหารเด็กอ่อนวัย 7-8 เดือนคือ เริ่มใส่ไข่ต้มสุก(เฉพาะไข่แดง) โดยต้มไข่ให้สุกจนแข็งแล้วเลือกเอาเฉพาะไข่แดงใส่เพิ่มลงไปในข้าวสำหรับเด็กอ่อน ปริมาณไข่แดงที่ใส่เพิ่มลงไปในอาหารเด็กอ่อนคือ ในสัปดาห์แรกใส่ไข่แดงต้มสุก ฟอง และเพิ่มขึ้นเป็น ฟองในสัปดาห์ที่ 2 ให้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆจนเด็กสามารถกินไข่แดงได้ครบทั้งฟองในหนึ่งมื้อ ช่วงนี้อย่าเพิ่งให้เด็กกินไข่ขาว(เลือกเฉพาะไข่แดง)เพราะไข่ขาวมีสารอาหารที่ย่อยยากยังไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารเด็กอ่อนในระยะนี้
เมื่อเด็กเริ่มกินอาหารได้เก่งขึ้นและในปริมาณที่มากขึ้น ก็ให้เริ่มบดอาหารเด็กอ่อนให้เป็นก้อนเล็กหรือละเอียดน้อยลง เพื่อฝึกให้เด็กได้หัดเคี้ยวอาหาร ถึงแม้เด็กอ่อนจะไม่มีฟันสำหรับใช้บดเคี้ยวอาหารแต่เหงือกของเด็กอ่อนก็แข็งแรงพอที่จะบดอาหารชิ้นเล็ก ๆ ได้บ้างแล้ว ให้สังเกตดูพฤติกรรมการกินอาหารของเด็กอ่อนว่า สามารถกินอาหารที่หยาบขึ้นได้หรือไม่ สำหรับของหวานในมื้อกลางวันนี้ให้บดผลไม้เช่น มะละกอ กล้วยน้ำว้า ถ้าเป็นผลไม้แข็งเช่น แอปเปิ้ล ลูกแพร์ ให้นึ่งจนนิ่มก่อนแล้วจึงบดผ่านตะแกรง ผลไม้ที่เป็นของหวานมื้อกลางวันให้ปริมาณ 1 ลูกก็พอแล้ว(เช่นกล้วยน้ำว้า 1 ลูก)
                ส่วนอาหารเด็กอ่อนในมื้อบ่าย ให้กินของว่างพร้อมนมมื้อบ่าย เช่น คุกกี้ที่ละลายในปากได้ง่ายและมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบน้อย ๆ โดยให้เด็กถือกินเอง เด็กจะได้หัดถือและค่อย ๆ แทะกินเอง ข้อควรระวังคือ ถึงแม้เด็กอ่อนจะถือและค่อย ๆ แทะกินอาหารว่างได้เองแล้ว แต่ก็ยังต้องการคนดูแลที่คอยอยู่ใกล้ ๆ ในกรณีที่เกิดอาหารว่างติดคอเด็กอ่อน จะได้ช่วยเหลือได้ทันที
                ทุกครั้งที่ให้อาหารแก่เด็กอ่อน ควรฝึกให้เด็กนั่งบนเก้าอี้เด็กเพื่อจะได้เกิดความเคยชินกับการนั่งกินอาหารที่โต๊ะอาหาร อย่าปล่อยให้เด็กวิ่งเล่นไปมาแล้วคอยวิ่งตามเพื่อป้อนอาหารให้แก่เด็ก จะทำให้เด็กไม่เคยชินกับการนั่งนิ่ง ๆ กินอาหารกับโต๊ะอาหาร เมื่อถึงเวลาที่เด็กจะต้องกินอาหารร่วมกับครอบครัว เด็กจะเคยชินกับการวิ่งเล่นพร้อมกับกินอาหารไปด้วย ทำให้ไม่สามารถนั่งโต๊ะกินอาหารพร้อมกับคนในครอบครัวได้.

ข้อมูลเพิ่มเติม 

 http://www.activeboard.com/forum.spark?aBID=124118&p=3&topicID=35625501

 http://www.activeboard.com/forum.spark?aBID=124118&p=3&topicID=35625501

 http://img.kapook.com/image/women/food_2.jpg

หมายเลขบันทึก: 355801เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2010 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท