การต่อจิ๊กซอชีวิตของผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ


ผู้ป่วยจะมีอาการมีความคิดหลงผิด ประสาทหลอน เช่น หูแว่วหรือเห็นภาพหลอน มักจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีความคิดและการพูดที่ไม่ต่อเนื่อง คนใกล้ชิดสังเกตเห็นพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวแปลกประหลาดที่คนปกติไม่กระทำกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอารมณ์เฉยเมยที่ดูแล้วผิดปกติ ไม่เหมาะสม บางคนจะมีพฤติกรรมถดถอยเป็นเด็กกว่าวัยมากๆ โดยไม่รู้ว่าตนเองผิดปกติ

หนึ่งในกลุ่มผู้ที่ใช้ชีวิต ในที่สาธารณะ ที่อิสรชนพยายามบอกต่อสังคมว่าเขาเป็นผู้ป่วยที่ต้องช่วยกันดูแล คือ คนที่มีอาการทางสมองและอาการทางจิต ที่จะพบเห็นตามท้องถนน หรือตามที่สาธารณะ ผู้ป่วยทางสมอง เช่น อันไซเมอร์ อาการหลง ๆ ลืม ในเบื้องต้น ทำให้คนเหล่านี้ผลัดหลงมาจากบ้าน หรือ อีกกลุ่มอาการหนึ่ง คือ ผู้ป่วยจิตเภท ที่ยังมีจอนวนมากในพื้นที่สาธารณะ หรือตามท้องถนนแต่ละเส้นในประเทศไทย โดยบางคนก็สามารถดูออกทางอาการ เช่น ตาขวาง หัวฟู ไม่อาบน้ำ ยิ้มคนเดียว เป็นต้น กลุ่มนี้ก็จะดีหน่อยที่สังคมพอรับรู้ว่าเขาเป็นผู้ป่วย แต่อีกลักษณะ ที่ดูภายนอกเหมือนปกติ ไม่มีอาการใด ๆ แต่ผ่านการพูดคุย กันเริ่มมีอาการ พูดวนในเรื่องราวเดิม ๆ การแต่งเรื่องราวของตนเองให้เราฟัง กล่าวคือ ตอนแรกเหมือนจะเรื่องจริง แต่พอเจออีกวันคุยกันอีก เรื่องที่เราฟังเมื่อวานกลายเป็นว่าจำไม่ได้บ้าง ไม่เคยเล่า เช่นวันนี้บอกว่าท้อง พอเจออีกวันถามว่าไปฝากท้องหรือยัง กลับตอบว่าไม่ได้ท้อง อ้วนเฉย ๆ เป็นต้น


ในทีนี้ขออธิบาย อาการทางจิตเภทในมุมที่ศึกษามาว่า โรคจิตเภท (Schizophrenia)
ผู้ป่วยจะมีอาการมีความคิดหลงผิด ประสาทหลอน เช่น หูแว่วหรือเห็นภาพหลอน มักจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีความคิดและการพูดที่ไม่ต่อเนื่อง คนใกล้ชิดสังเกตเห็นพฤติกรรมและการเคลื่อนไหวแปลกประหลาดที่คนปกติไม่กระทำกัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอารมณ์เฉยเมยที่ดูแล้วผิดปกติ ไม่เหมาะสม บางคนจะมีพฤติกรรมถดถอยเป็นเด็กกว่าวัยมากๆ โดยไม่รู้ว่าตนเองผิดปกติ และที่สำคัญคือ


ลักษณะอาการ แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มอาการด้านบวก และกลุ่มอาการด้านลบ ดังต่อไปนี้


ก. กลุ่มอาการด้านบวก (Positive Symptoms) แสดงออกในด้านความผิดปกติของความคิด การรับรู้ การติดต่อสื่อสาร และพฤติกรรม ซึ่งแบ่งตามลักษณะอาการออกเป็น 2 ด้านใหญ่


1) Psychotic dimension ได้แก่ อาการหลงผิด และอาการประสาทหลอน


2) Disorganization dimension ได้แก่ disorganized behavior และ disorganized speech


2.1)อาการหลงผิด (Delusion) ชนิดที่พบบ่อย ได้แก่ persecutory delusion, delusion of reference รวมทั้งอาการหลงผิดที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการหลักของ Schneider ส่วนอาการหลงผิดอื่น ๆ ที่พบบ้าง เช่น somatic delusion, religious delusion หรือ grandiose delusion เป็นต้น อาการหลงผิดที่มีน้ำหนักในการวินิจฉัย ได้แก่ bizarre delusion ซึ่งเป็นอาการหลงผิดที่มีลักษณะแปลก ฟังไม่เข้าใจ หรือเป็นไปไม่ได้เลย อาการหลงผิดที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการหลักของ Schneider จัดว่าเป็น bizarre delusion


2.2)อาการประสาทหลอน (Hallucination) ที่พบบ่อยเป็น auditory hallucination อาจเป็นเสียงคนพูดกันเรื่องของผู้ป่วย เสียงคอยวิจารณ์ตัวผู้ป่วย หรือสั่งให้ทำตาม นอกจากนี้อาจเป็นเสียงอื่น ๆ ที่ไม่มีความหมาย อาการประสาทหลอนชนิดอื่นอาจพบได้บ้างเช่น tactile หรือ somatic hallucination อาการประสาทหลอนที่มีน้ำหนักในการวินิจฉัยได้แก่ auditory hallucination ที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการหลักของ Schneider


- Disorganized speech ผู้ป่วยไม่สามารถรวบรวมความคิดให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ตลอด ซึ่งจะแสดงออกมาให้เห็นโดยผ่านทางการพูดสนทนา อาการที่แสดงออกนี้ต้องเป็นมากจนไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างอาการเช่น loose associations, incoherent speech, หรือ tangentiality เป็นต้น


- Disorganized behavior เป็นพฤติกรรมที่ผิดไปจากปกติอย่างมาก ผู้ป่วยแต่งตัวสกปรก แปลก เช่น สวมเสื้อหลายตัวทั้งที่อากาศร้อนจัด บางคนปัสสาวะกลางที่สาธารณะ บางคนจู่ ๆ ก็ร้องตะโกนโดยที่ไม่มีเรื่องอะไรมากระตุ้น


ข. กลุ่มอาการด้านลบ (Negative Symptoms) เป็นภาวะที่ขาดในสิ่งที่คนทั่ว ๆ ไปควรมี เช่น ในด้านความรู้สึก ความต้องการในสิ่งต่าง ๆ อาการเหล่านี้ได้แก่
-Alogia พูดน้อย เนื้อหาที่พูดมีน้อย ใช้เวลานานกว่าจะตอบ


-Affective flattening การแสดงออกทางด้านอารมณ์ลดลงมาก หน้าตาเฉยเมย ไม่ค่อยสบตา แม้ว่าบางครั้งอาจยิ้มหรือมีอารมณ์ดีบ้าง แต่โดยรวมแล้วการแสดงออกของอารมณ์จะลดลงมาก


-Avolition ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชาลง ไม่สนใจเรื่องการแต่งกาย ผู้ป่วยอาจนั่งอยู่เฉย ๆ ทั้งวันโดยไม่ทำอะไร


-Asociality เก็บตัว เฉย ๆ ไม่ค่อยแสดงออก หรือไม่มีกิจกรรมที่สนุกสนา
ในระยะอาการกำเริบ อาการสำคัญส่วนใหญ่จะเป็นอาการในกลุ่มอาการด้านบวก ส่วนกลุ่มอาการด้านลบนั้นมักพบในระยะหลังของโรค และไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเหมือนกลุ่มอาการด้านบวก


ในที่นี้จำแนกให้เห็นอาการ ลักษณะผู้ป่วยในที่วสาธารณะ ให้ทราบ เพราะในมุกวันนี้ที่อิสรชนลงพื้นที่ แต่ละครั้งอย่างน้อยต้องเจอ Case ลักษณะอาการเช่นที่ได้ศึกษามาเบื้องต้น 2-3 คนในพื้นที่แต่ละครั้งที่ลงพื้นที่ การทำงานกับคนกลุ่มนี้ ก็คล้ายการต่อจิ๊กซอที่ค่อย ๆ เก็บข้อมูลจากการพูดคุย การสร้างความเชื่อใจ การสร้างความสัมพันธ์ จนเขาไว้วางใจและค่อยเล่าเรื่องราวที่เขาพอจดจำได้ ออกมาทีละนิด วันนี้อาจจะจดจำอะไรไม่ได้เลย ก็คุยเรื่องทั่ว ๆ ไป แต่พอมาอีกวันเห็นน้อง ๆ อาสาสมัครบางคนหน้าตาและลักษณะอาจจะไปคล้ายคนในครอบครัวของ Case ก็อาจจะช่วยฟื้นหรือจำอะไรขึ้นมาได้เป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอ ที่เราหาได้ เป็นต้น


สิ่งที่อิสรชนเริ่ม สร้างความเชื่อใจ กับกลุ่มคนเหล่านี้คือ อย่างคนที่ไม่สนใจโลกภายนอก เดินยิ้ม แรก ๆ ก็ทัก ไม่พูดกับเรา พอเดินมาครั้งที่สอง หยิบขนมให้ ยอมรับ วันที่สาม ยอมหยุดแต่ก็ยังไม่พูด แต่หยุดเมื่อเราทัก วันที่สี่ เริ่มพูด มีแป้งไหมขอแป้ง เริ่มเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่เขาเริ่มเชื่อและยอมคุยกับเรา หรือคุณลุงสมศักดิ์ ที่มีอาการทางสมองคือ อันไซเมอร์ วันแรกที่เจอก็ไม่ยอมที่จะคุย ถามก็บอกว่ามานอนเล่นเดี๋ยวก็กลับ แต่พอป่วยเราเอายาไปให้ อีกวันมาทัก เอาส้มมาให้ จนทุกวันนี้อิสรชนลงพื้นที่ เย็นแกจะเดินมาแล้วมานั่งท้ายรถ เพื่อรออาสาสมัครหรือเจ้าหน้าที่อิสรชนคนใดว่างมาคุยกับแก พอสักทุ่มก็ไปเดินซื้อส้มมาให้ แต่ความจำแกก็จำได้เพียงเรื่องราวบางช่วงของชีวิต แต่พอมีน้อง ๆ อาสาสมัครหลาย ๆ คนเข้าไปคุย ในแต่ละวัน เรื่องราวแกจากที่คุยมาเกือบสี่เดือนกว่า เริ่มจำได้มากขึ้น เพราะเวลาอาสาสมัครวันนี้คนนี้มาๆได้คุยเรื่องหนึ่ง อีกวันอีกคนมาแกได้คุยอีกเรื่องหนึ่ง พออาสาสมัครมานั่งคุยกันถึงเรื่องราวแก่ มาปะติดปะต่อกันแล้ว ก็จะเริ่มเห็นเรื่องราวของแก เพราะฉะนั้น การทำงานนอกจากความเป็นเพื่อนที่สำคัญที่มีให้เขาแล้ว การเป็นนักต่อจิ๊กซอจึงเป็นอีกงานที่ชาวอิสรชนต้องช่วยกันต่อให้แต่ละภาพเสร็จสมบูรณ์หรือเป็นรูปเป็นร่างให้มากที่สุด


มาร่วมเป็นอาสาสมัคร นักต่อจิ๊กซอกับอิสรชนได้ ทุกวันอังคารกับศุกร์ บ่ายสามโมงเย็นถึงห้าทุ่ม หรือโทร 086-628-2817 หรือร่วมสนับสนุนกิจกรรมได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เลขบัญชี 031-0-03432-9 มาร่วมเป็นตาหนึ่งคู่กับใจหนึ่งดวงในการมองเห็นคนเหล่านี้ดวงใจกันนะค่ะ

เรียบเรียงโดย : อัจฉรา สรวารี

 

หมายเลขบันทึก: 355798เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2010 14:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท