เตรียมการสอน


ปรับปรุงเทคนิคการสอน

 ใกล้จะเปิดภาคการศึกษาใหม่อีกแล้ว กำลังมาทบทวนวิธีการสอนใหม่ และอยากบันทึกเก็บไว้เหมือนเป็นการระบายความในใจ และไ่ม่ได้ตั้งใจจะแบ่งปันความทุกข์นี้ให้ใคร (หวังกว่าจะเข้าใจการใช้โปรแกรม gotoknow)

  วันก่อนได้สอบ นศ. ปริญญาโท ได้ทำการสอบไปแล้วสองครั้ง รู้ว่ากรอบแนวคิดในการทำงานวิจัยของ นศ. ไม่ถูกต้อง การมาปรับแก้ในระยะเวลา 1 เดือน ก็ยังไม่สามารถทำได้ถูกต้อง แต่ถ้ามองในสายตานักวิชาการอื่น ๆ (มองแบบเอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่ได้เขียนต่อว่าใคร) นศ. ได้ทำการวิจัยได้ระัดับหนึ่ง แต่ที่สำคัญกระบวนผิด และไม่คิดว่า นศ. จะแก้รอบสองได้ถูกต้อง ถ้ามาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น

   1. ไม่มีรายวิชาที่สนับสนุนให้ นศ. ได้ศึกษาเพื่อให้เข้าใจพื่นฐานก่อน จากการค้นหาข้อมูลรายวิชา รู้ว่าหลายมหาวิทยาลัย มีรายวิชาดังกล่าว แต่ไ่ม่แ่น่ใจว่า ได้สอนตามเนื้อหาหรือไม่ 

   2. ถ้าหลักสูตรไม่มีรายวิชาดังกล่าว ผู้บริหารควรแก้ปัญหาอย่างไร จากประสบการณ์ที่ได้ศึกษาจากต่างประเทศ (อาจารย์เค้าก็ไม่เคยสอนเรานะ แต่สังคม และสภาพแวดล้อมสอน) เราต้องไปศึกษาหาความรู้จากการประชุมวิชาการ แม้ว่าเราไม่มีผลงานพิมพ์เผยแพร่ แต่ส่วนหนึ่งในงานคือ workshop or Tutorial ซึ่งจะเป็นหลักสูตรสั้่น ๆ หรือ สอนในแนวหรือทิศทางงานวิจัยในอนาคต โดยเชิญนักวิจัยที่ทำงานในด้านดังกล่าวมาเล่าสู่กันฟัง ถ้าเป็นวิชาที่อยู่ในทิศทางงานวิจัย จะต้องเสียค่าธรรมเนียม ครึ่งวันก็ไม่ตำกว่า 500 เหรียญ ปัจจุบันอาจมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่เท่าที่สังเกตการประชุมวิชาการที่จัดในเมืองไทย แม้ว่าจะมีการจัดคล้าย ๆ กันแต่เป็นการเล่าถึงทิศทางในอนาคต ถ้าฟังแล้วก็อาจยังไ่ม่สามารถทำวิจัยได้ (แม้ว่าในอดีต ก็ใช่ว่าจะมีรายละเอียดมาก แต่กรอบแนวคิดค่อนค้างชัดเจน จากประสบการณ์ที่เคยเป็น นศ. ต่างชาติ)

       จุดนี้เป็นจุดแตกต่างที่ทำให้การขับเคลื่อนงานวิจัยสำหรับ นศ. ไทยขาดแหล่งเรียนรู้ แม้ว่าในบางศาสตร์จะคล้ายที่เรียกว่า Summer School แต่จำกัดอยู่ในวงแคบ

      ในประสบการณ์ของตน วิธีการแก้ปัญหา ก็คือ เชิญนักวิจัยมาบรรยาย แต่ส่วนใหญ่จะบรรยายราว 3 ชั่วโมง

    ประสบการณ์ที่ได้จัดการมา นักศึกษาไม่ให้ความสำคัญในการฟังบรรยาย ไม่เตรียมความพร้อมว่าเราควรมาศึกษาอะไรจากวิทยากรบ้าง  

    ต้องกลับเข้าเรื่องมาปรับปรุงการเรียนการสอน จากเสียงสะท้อนกลับ ทราบว่า นศ. ไม่ค่อยอยากลงทะเบียนในรายวิชาที่ เกรดได้ยาก การบ้านเยอะ ที่สำคัญพื้นความรู้ที่จะเรียนบางทีก็ไม่มี (ไม่ใช่ต้องบอกว่าคืนให้อาจารย์ไปหมดแล้ว) 

     นิสิต ปี 3 แล้ว ในหลักสูตร ฐานข้อมูลต้องทราบ วิเคราะห์ระบบผ่านมาแล้ว คณิตศาสตร์ ก็เรียนมาเกือบหมด โครงสร้างข้อมูลก็ครบหมด ทักษะการเขียนโปรแกรม ก็ผ่านมาแล้ว 2-3 รายวิชา นิิสิตบางคนก็เรียน AI มาแล้ว

     แต่ส่วนใหญ่ นิสิตไม่สามารถเรียนได้ ความผิดของครู ที่สอนไม่รู้เรื่อง เทอมนี้เลยว่าไม่ต้องไปสอนให้หมดหรอก เพราะว่าตุ้มมีน้ำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ เราไม่สามารถเติมลงไปได้มาก ดังนั้นสอนไปเยอะเราก็เหนื้อยเปล่า ลดเนื้่อหา เอะ แล้วจะผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิรายวิชาหรือเปล่า (ไม่เป็นไร ยังไม่ถึงเวลาบังคับใช้ คิดแบบใหนนี่ )

     ยังไงก็ตามแต่ ต้องนำแนวคิดแบบอบรมมาใช้ ให้ทำการฝึกฝนในชั้นเรียนมากขึ้น  

หมายเลขบันทึก: 355586เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท