ครูกระดาษทราย
นางสาว ปัญชรีย์ ปิ่น วชิรถาวรชัย

ส่งโครงการสื่อการเรียนการสอน


เขียนศัพท์สลับอักษร

โครงการผลิตสื่อ นวัตกรรมเพื่อการศึกษา

เรื่อง   เขียนศัพท์สลับอักษร

  1. หลักการและเหตุผล

                                ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของเรา   ที่ควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพราะ ภาษาไทยบ่งบอกถึงความเป็นไทย และการไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร ความมีเอกราช  จะมีสักกี่ประเทศในโลกนี้ที่มีภาษาใช้เป็นของตัวเอง เราจึงต้องร่วมมือกัน รักและเทิดทูน หวงแหนภาษาประจำชาติของเราไว้ อย่าให้ใครมาย่ำยี เหยียดหยามว่า ภาษาของตัวเองยังเขียน สะกด อ่าน ไม่ถูกต้อง  พูดไม่ชัด   เราควรจะเริ่มจากเด็กนักเรียนซึ่งในปัจจุบันนี้ใช้ภาษาผิดเพี้ยนไม่ถูกหลักกันมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาเขียน  จนเกิดเป็นปัญหา ภาษาวิบัติ  เพราะกลุ่มผู้ใช้ในวัยรุ่นและนักเรียน นักศึกษา  นิยมใช้ภาษาแชท มาปะปนกับภาษาเขียนจนแยกไม่ออก ว่าแบบไหนที่ถูกต้อง

ส่งผลให้มีการใช้ภาษาที่ผิด สะกดไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  การใช้คำผิดความหมาย  เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดของนักเรียนทุกระดับชั้น  ดังนั้นในการเรียนการสอน จึงต้องมีสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนที่ดี

เพื่อเพิ่มพูนทักษะในด้าน การฟัง พูดอ่าน เขียนของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในด้านการเขียน  และการสะกดคำที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  สื่อประกอบการสอนชุดนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อช่วยทบทวนคำศัพท์ การสะกดคำ  ที่ถูกต้องให้กับนักเรียน

2. วัตถุประสงค์

 

2.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของคำมาจัดลำดับได้ตรงความหมายของภาพ

2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถสะกดคำศัพท์ใหม่ๆได้

  1. กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5และ 6

3. กระบวนการและวิธีการผลิต (การจัดทำข้อมูลและการสร้างบท)

    1. เลือกรูปแบบของสื่อการสอน
    2. หาข้อมูลจากนักเรียนในเรื่องคำที่มักจะใช้ผิด เขียนผิดบ่อยๆ 
    3. หาคำที่สะกดยาก  เช่น  คำราชาศัพท์  คำสุภาพ
    4. วางแผน / ทำโครงเรื่อง
    5. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช่ในการจัดทำสื่อ  เช่น  กระดาษแข็งสี   กรรไกร กาว  สีเมจิก กระดาษปอนด์    
    6. ลงมือทำสิ่อการเรียนตามแผนที่วางไว้
    7. ตัดกระดาษแข็งสีต่างๆ เป็นใบขนาด 6 x 4 นิ้ว เพื่อทำเป็นบัตรคำศัพท์สลับอักษร ที่เขียนตัวอักษรสลับกันไว้ 1 ชุด จะมีทั้งหมดประมาณ 70 คำ โดยจะจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ละ 10 คำ คือ คำราชาศัพท์ หมวดต่างๆ คำสุภาพ และคำที่มักเขียนผิด 
    8. ตัดกระดาษแข็ง เพื่อทำเป็นรูปภาพของคำศัพท์ ขนาด 6 x 4 นิ้ว
    9. ตัดกระดาษแข็งสี อีก 1 ชุด เท่าจำนวนคำศัพท์เพื่อเขียน คำศัพท์ที่ถูกต้อง
    10. จัดเตรียมกล่องกระดาษสำหรับใส่คำศัพท์ตามหมวดหมู่ และรูปภาพ โดยบรรจุห่อให้สวยงาม และเขียนชื่อหมวดหมู่กำกับไว้ที่ตัวกล่อง

  4. แนวทางการดำเนินงาน (ผู้จัดทำ  ระยะเวลาการผลิต)

      แนวทางการดำเนินงานครั้งนี้ กำหนดผู้จัดทำคนเดียว

คือ   นางสาว  ปัญชรีย์  วชิรถาวรชัย

5.ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต

ใช้เวลาจัดทำประมาณ  2 สัปดาห์

  6. งบประมาณการผลิต

 

1. กระดาษแข็งสีต่างๆ  แผ่นละ   15 บาท

2. กระดาษแข็งสีขาว      แผ่นละ  15  บาท

3.  กาวลาเท็กซ์               ขวดละ 15   บาท

4. สีเมจิก                       กล่องละ  35  บาท

5. กระดาษปอนด์          แผ่นละ   10   บาท

6. กล่องกระดาษเปล่า 7 กล่องขนาดปานกลาง เจาะรูข้างบน

7. นาฬิกาจับเวลา

  7. ปัญหาและอุปสรรค

  ในการใช้สื่อการเรียนชุดนี้อาจจะมีขาดความเป็นระเบียบไปบ้าง  เพราะผู้จัดทำอยากให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาไทยด้วยความสนุกสนาน  ไม่น่าเบื่อหน่ายจนเกินไป

8.ผลประโยชน์ของโครงการ

8.1 นักเรียนมีความแม่นยำในการสะกดคำศัพท์เพิ่มมากขึ้น

8.2 นักเรียนได้รับทราบคำศัพท์ใหม่ๆ ทั้งคำราชาศัพท์ และคำสุภาพ

8.3 เป็นการทบทวนความรู้ในเรื่องของคำศัพท์ให้กับนักเรียน

8.4 สื่อการเรียนชุดนี้สามารถนำไปดัดแปลงและบูรณาการกับรายวิชาอื่นได้

9. การติดตามและประเมินผล

        การจัดทำสื่อการเรียนชุดนี้ประเมินผลจากการทดสอบ เขียนไทย ตอนท้ายชั่วโมง

โดยจะนำคำศัพท์จากที่ได้เรียนไปในสื่อการเรียนชุดนี้ เป็นการทบทวนความรู้และเสริมสร้างทักษะที่แม่นยำในการสะกดคำศัพท์ เขียนคำศัพท์ให้กับนักเรียน เพื่อการปลูกฝังในการใช้ภาษาที่ถูกต้องต่อไป

10. ขั้นตอนการใช้สื่อ

สื่อการสอนชุดนี้สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาศิลปะได้

ขั้นนำ

ครูทักทายนักเรียนและเกริ่นนำเรื่องคำราชาศัพท์และคำสุภาพโดยยกตัวอย่างง่ายๆ

ให้นักเรียนเห็นภาพชัดเจน เช่น ลองตั้งคำถาม ถามนักเรียนว่า "นักเรียนทราบไหมคะ ว่า ภาษาที่เราใช้กันทุกวันนี้มีหลายแบบ เช่น ภาษาที่เราใช้พูดกันกับเพื่อนและครูจะแตกต่างกันใช่ไหมคะ? เราจะพูดกับครูว่า "เฮ้ย..ครูมานี่หน่อย..." ได้ไหมคะ? แล้วเราจะพูดกับเพื่อนสนิทว่า "คุณแดงครับ...กรุณามาหาผมหน่อยนะครับ" ฟังดูแล้วแปลกๆและสุภาพมากเกินไปใช่ไหมคะ? ดังนั้นในการใช้ภาษากับบุคคลต่างๆ เราจะต้องดูความเหมาะสมด้วยนะคะ อย่างบุคคลในภาพนี้ (ครูชูภาพในหลวงและพระราชินี) นักเรียนทราบไหมคะว่าท่านเป็นใคร? นักเรียนคิดว่า เราจะพูดกับท่านเหมือนที่พูดกับครูได้ไหมคะ? นักเรียนทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้พูดกับพระองค์ท่านเรียกว่าอะไร?  "  เป็นต้น

แล้วให้ครูเริ่มสอนคำราชาศัพท์ง่ายๆ ให้กับนักเรียนก่อน เช่น พระเนตร ให้ครูชูรูปตาขึ้นมา แล้วครูแกล้งหยิบผิด หยิบภาพหูขึ้นมาแทนเพื่อทดสอบความสนใจของนักเรียน

ให้ครูสอนคำศัพท์แบบนี้ไปเรื่อยๆเพื่อเป็นการเกริ่นนำก่อน จนนักเรียนเริ่มจดจำและทราบคำศัพท์บ้างแล้ว จึงค่อยใช้สื่อการสอนประกอบ เพราะสื่อการสอนชุดนี้ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่นักเรียนไม่ทราบคำศัพท์เลย อาจจะเปลี่ยนเป็นคำสุภาพก็ได้ ซึ่งค่อนข้างง่ายกว่าคำราชาศัพท์

ขั้นสอนโดยใช้สื่อการสอนประกอบ

วิธีที่ 1 ให้ครูแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เริ่มการเล่นโดยที่ครูติดภาพ และบัตรคำที่เขียนตัวอักษรสลับไว้ให้นักเรียนดู เริ่มการแข่งขันโดยให้ทั้ง 2 ฝ่าย  ส่งตัวแทนออกมาทีละคน

ออกมาเขียนคำ รวบรวม เรียบเรียง จัดลำดับของตัวอักษรใหม่  ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความยากง่ายของคำ 

วิธีที่ 2 (ให้ใช้กล่องด้วย) ให้ครูนำคำราชาศัพท์หรือคำสุภาพที่เขียนสลับอักษรใส่ลงไปในกล่องทั้งหมด  แล้วครูติดภาพบนกระดาน  ซึ่งครูอาจจะทำกล่องหลายๆใบเพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ให้ครูเขียนหรือทำสัญลักษณ์ไว้ที่กล่องและรูปภาพแต่ละใบ ให้สัมพันธ์กันในแต่ละกลุ่ม เช่นกลุ่มที่ได้คำศัพท์เกี่ยวกับ ร่างกายก็วาดรูปคนลงไปในข้างหลังใบคำศัพท์และรูปเหมือนกันทั้งหมด  ซึ่งรูปภาพของคำสุภาพบางคำอาจจะมีคำศัพท์หลายคำก็ได้ เช่น คำว่า ดอกไม้ บุปผา ผกา มาลี  สุคนธ์  หรือครูอาจจะให้นักเรียนวาดภาพแทนการติดรูปก็ได้ แล้วให้นักเรียนออกมาเขียนศัพท์ที่ถูกต้องบนกระดานใต้รูปภาพ แล้วอ่านดังๆให้เพื่อนในกลุ่มฟัง เพื่อดูความแม่นยำในการสะกดคำ

วิธีที่ 3 เมื่อนักเีรียนแม่นยำคำศัพท์แล้ว ให้ครูจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น

กลุ่มละ 3-5 คน เพื่อเล่นเกม โดยครูแจกกระดาษปอนด์แผ่นใหญ่ให้กลุ่มละ 1 แผ่น

พร้อมด้วยสีเมจิก กลุ่มละ 3 สี หรือตามจำนวนนักเรียนในแต่ละกลุ่ม

ครูนำคำศัพท์ทั้งหมดใส่ลงในกล่องใบเดียว และให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มมาทีละ 1 คน  เพื่อจับฉลากคำศัพท์ในกล่อง คนละ 3 คำ เปิดอ่านและส่งคืนภายในเวลา 5 วินาที

(ในตอนนี้ครูก็จดคำศัพท์ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มจับได้ด้วย เพื่อใช้ตรวจสอบภายหลังว่า นักเรียนเขียนและวาดภาพถูกต้องหรือไม่)  เสร็จแล้ว ให้ตัวแทนนำคำศัพท์ที่จับได้ ไปบอกเพื่อนๆในกลุ่มให้ช่วยกันวาดรูปและเขียนศัพท์ไว้ใต้รูปด้วย จากนั้นก็ส่งตัวแทนคนต่อไปออกมาจับฉลากคำศัพท์อีก ทำแบบนี้ไปจนครบทุกคน  ภายในระยะเวลาที่กำหนด  เมื่อหมดเวลาแล้วครูบอกให้ทุกคนหยุดเขียนและส่งคืนสีเมจิกให้ครู หรือ ครูจะเดินเก็บสีเมจิกเองก็ได้ นำผลงานที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาติดเอาไว้ที่ข้างฝาผนัง หรือกระดานดำ ครูเดินตรวจดูผลงานและความถูกต้อง ก่อนที่จะให้นักเรียนทุกคนช่วยกันอ่านและช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของรูปภาพและคำศัพท์ โดยให้นักเรียนทุกคนช่วยกันให้คะแนนของแต่ละกลุ่มไปพร้อมกับครู  กลุ่มไหนทำคะแนนได้มากที่สุด กลุ่มนั้นเป็นผู้่ชนะ

วิธีที่ 4

      เล่นเกมส์จับคู่คำศัพท์และรูปภาพ อาจจะจับคู่เฉพาะคำศัพท์ที่ถูกต้องกับ คำศัพท์สลับอักษร หรือทั้ง 3 ชนิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมา กลุ่มละ 1 คน เพื่อค้นหาฉลากคำศัพท์ในแต่ละกล่องให้สัมพันธ์กัน 

ภายในระยะเวลาที่กำหนด กลุ่มไหนหาครบทั้งหมดก่อน กลุ่มนั้นเป็นผู้ชนะ

ขั้นสรุป

ครูแจกกระดาษหรือใช้สมุดเขียนไทย เพื่อทดสอบคำศัพท์ที่ได้เรียนรู้ไปในวันนี้

ว่านักเรียนมีความรู้ความจำมากน้อยแค่ไหน..เพื่อหาทางปรับปรุงวิธีการสอนต่อไป

ครูทบทวนคำศัพท์ให้นักเรียนอีกครั้งก่อนสรุป เรื่องความสำคัญของคำราชาศัพท์และคำสุภาพ ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคำสุภาพ

ครูตรวจทานเขียนไทยหรือเขียนตามคำบอก..แล้วส่งคืนนักเรียน ครูอธิบายให้นักเรียนที่เขียนผิดมากที่สุด เข้าใจอีกครั้งและบอกให้นักเรียนทุกคนไปฝึกฝนตัวเองด้วยการเขียนและการสะกดให้แม่นยำ..เพื่อทำการทดสอบในครั้งต่อไป

คู่มือครู

  1. คู่มือครูชุดนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยให้ครูใช้สื่อการสอนชุด “เขียนศัพท์ สลับอักษร ”ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. สื่อการสอนชุด “เขียนศัพท์สลับอักษร”เป็นเพียงชุดการสอนที่ช่วยให้ครูกับนักเรียนได้ทำกิจกรรมรวมกัน ความสามารถในการเล่นเกมนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ  ความจำ และความสามารถของนักเรียนเอง ครูเป็นเพียงผู้คอยชี้แนะคำศัพท์ที่ถูกต้องให้นักเรียนทราบเท่านั้น
  3. ครูจะต้องมีความรู้และแม่นยำในเรื่องของ คำราชาศัพท์คำสุภาพและคำที่มักใช้ผิดบ่อยๆ
  4. ครูต้องคอยสังเกตดูพฤติกรรมนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ก่อนเล่นเกม ครูอาจจะทดสอบความรู้หรือช่วยทบทวนความจำของนักเรียนก่อนก็ได้
  5. ในขณะที่ใช้สื่อการสอน โดยเฉพาะถ้าครูจัดแบ่งกลุ่มนักเรียน ครูไม่ควรแบ่งกลุ่มนักเรียนมากจนเกินไป ครูควรแบ่งกลุ่มละไม่เกิน 4-5 คน เพราะถ้าครูแบ่งกลุ่มนักเรียนมากจะทำให้ ยากต่อการควบคุมดูแล โดยเฉพาะในวิธีที่ 3 อาจจะมีนักเรียนบางคนไม่ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการทำกิจกรรม โดยครูจะต้องย้ำว่า นักเรียนทุกคนต้องมีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมทุกอย่าง ครูจะต้องมีระบบการจัดการนักเรียนที่ดี
  6. สื่อการสอนชุดนี้  ในวิธีที่จะต้องจัดแบ่งใส่กล่อง แต่ละกล่อง ครูควรระมัดระวัง เรื่องความผิดพลาดของคำศัพท์ ในแต่ละกล่องให้มาก หรือ ครูอาจจะทำกล่องรวมคำศัพท์แยกต่างหากอีกกล่องหนึ่งก็ได้ เพื่อไม่ให้สับสนและปะปน กับกล่องที่มีคำศัพท์แบ่งตามกลุ่ม  หรืออาจจะจัดเป็นหมวดหมู่ของคำศัพท์ แต่ละชนิด เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับ คำสุภาพ คำราชาศัพท์ในหมวดต่างๆ เป็นต้น
  7. สื่อการสอนชุดนี้ สามารถใช้ได้หลายวิธี ในการเล่นเกม ครูผู้ใช้สามารถประยุกต์และนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่นได้
หมายเลขบันทึก: 355333เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

รอลุ้นเหมือนกันเนาะปิ่น ฉันหละเครียด "^_^

ฉันนึกว่าครูมาแล้วอ่ะปิ่น ลุ้นต่อไป T_T

เมื่อไหร่ครูจะตรวจหว่า..แล้วฉันต้องแก้ตรงไหนเนี่ย...นัน เราจะต้องแก้ยังไงอ่ะ?

ต้องเรียนโครงการนี้เป็น ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน ... ดังนั้น ต้องปรับโครงการ เขียนให้เป็นชุดการสอน

เรียก วิธีสอน เป็น ศูนย์การเรียน

วัตถุประสงค์ ต้องเป็นเชิงพฤติกรรม มากกว่า ทั่ว ๆ ไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง ...

ระดับชั้นนักเรียน ตรงตามหลักสูตรหรือไม่ ?

เนื้อหาที่เลือก อยู่ในหลักสูตรหรือเปล่า ?

ตอบคำถามและปรับโครงการฯ

เรายังต้องแอบมาดูของเธอเลยบั๊ดดี้

ครูอธิบายเธอยาวดี

ของเราครูก็อธิบายดีแล้วนะ แต่เรากะลัง "ยม" ง่ะ

พึ่งมาถึงเชียงใหม่เมื่อเช้าเนี่ย T_T

สวัสดีค่ะ อาจารย์องคุลีมาล

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ

แต่ว่า เนื้อหาสาระวิชาภาษาไทยของหลักสูตรใหม่ล่าสุดนี้

หนูยังไม่เคยเห็นเลยค่ะ เลยไม่ทราบว่าจะมีเนื้อหาอย่างไรค่ะ

อาจารย์ต้องการให้ทำแบบแผนการสอนด้วยใช่ไหมคะ?

ถ้าอย่างนั้นคงต้องใช้เวลาหน่อยนะคะ เพราะมันละเอียดมาก

และเนื้อหาก็ซับซ้อนด้วย เพราะฉะนั้นหนูจะเปลี่ยนโครงการเป็นรายวิชาสุขศึกษานะคะ

รายวิชานี้จะเป็นชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนค่ะ

เพราะเท่าที่หนูดูแล้ววิชาภาษาไทยของหนูใช้เวลาทำนานมาก

ใช้เวลา 2 อาทิตย์ไม่ทันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เฮ้ย บัดดี้ ฉันดูชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนสุุขศึกษาแล้ว....มันเยอะมากเลยหว่ะ

ฉันทำไม่เสร็จในคืนเดียวแน่ๆเลยอ่ะ....คือตอนนี้โครงการภาษาไทย

ฉันไม่รู้ว่ามันอยู่ในหนังสือเล่มไหนอ่ะดิ ภาษาพาที กะ วรรณคดีลำนำ อ่ะ

มีตั้ง 2 เล่ม เฮ้อ...ชักจะงงๆซะแล้วดิ...ก็เลยคิดว่าจะเอาสุขศึกษา...แต่มันก็ปัญหาทั้งคู่แหละ....

ฉันว่าฉันไปดูหนังสือในแน่ใจก่อนดีกว่า ว่าตกลงอันไหนที่พอจะทำได้อ่ะ...

สวัสดีค่ะอาจารย์องคุลีมาล

ขอโทษด้วยนะคะ อาจารย์องคุลีมาล

หนูมึนมากๆเลยน่ะค่ะ หนูยังไม่ชัวร์เลยนะคะว่าจะเอาวิชาอะไร....ขอโทษจริงๆค่ะ

รอหนูไปดูหนังสือเรียนให้ชัวร์ๆก่อนนะคะ แล้วจะบอกอีกที...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีอีกครั้งคุ่ อาจารย์องคุลีมาล

หนูหาหนังสือวิชาสุขศึกษาไม่เจอน่ะค่ะ มีแค่แผนการสอน

ตอนนี้หนูมีหนังสือวรรณคดีลำนำ กับภาษาพาที และ แผนการสอนภาษาไทยชั้น ป.6 แล้วค่ะ

เพราะฉะนั้นหนูจะทำโครงการเดิมนะคะ อาจารย์ ขอโทษจริงๆค่ะที่ทำให้วุ่นวาย...

เพราะตอนแรกหนูคิดว่ามีหนังสือสาระวิชา สุขศึกษาอยู่ในมือน่ะค่ะ

แต่พอมาค้นหาอีกทีไม่มีน่ะค่ะ มีแต่รายวิชาภาษาไทยวิชาเดียวเอง

หนูจะทำโครงการ เอ๊ย ชุดศูนย์การสอน ภาษาไทย แบบศูนย์การเรียน ภาษาไทยเหมือนเดิมนะคะ

เรียกแล้วก็ งง ๆ น่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ขอโทษนะคะ ลืมตอบคำถามค่ะ

โครงการผลิตสื่อ นวัตกรรมเพื่อการศึกษา

ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน

เรื่อง เขียนศัพท์สลับอักษร

1. หลักการและเหตุผล

ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติของเรา ที่ควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพราะ ภาษาไทยบ่งบอกถึงความเป็นไทย และการไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร ความมีเอกราช จะมีสักกี่ประเทศในโลกนี้ที่มีภาษาใช้เป็นของตัวเอง เราจึงต้องร่วมมือกัน รักและเทิดทูน หวงแหนภาษาประจำชาติของเราไว้ อย่าให้ใครมาย่ำยี เหยียดหยามว่า ภาษาของตัวเองยังเขียน สะกด อ่าน ไม่ถูกต้อง พูดไม่ชัด เราควรจะเริ่มจากเด็กนักเรียนซึ่งในปัจจุบันนี้ใช้ภาษาผิดเพี้ยนไม่ถูกหลัก กันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาเขียน จนเกิดเป็นปัญหา ภาษาวิบัติ เพราะกลุ่มผู้ใช้ในวัยรุ่นและนักเรียน นักศึกษา นิยมใช้ภาษาแชท มาปะปนกับภาษาเขียนจนแยกไม่ออก ว่าแบบไหนที่ถูกต้อง

ส่งผลให้มีการใช้ภาษาที่ผิด สะกดไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ การใช้คำผิดความหมาย เป็นปัญหาที่พบมากที่สุดของนักเรียนทุกระดับชั้น ดังนั้นในการเรียนการสอน จึงต้องมีสื่อการสอนที่ใช้ประกอบการเรียนที่ดี

เพื่อเพิ่มพูนทักษะในด้าน การฟัง พูดอ่าน เขียนของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในด้านการเขียน และการสะกดคำที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ สื่อประกอบการสอนชุดนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อช่วยทบทวนคำศัพท์ การสะกดคำ ที่ถูกต้องให้กับนักเรียน

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้นักเรียนสามารถนำส่วนประกอบต่างๆ ของคำมาจัดลำดับได้ตรงความหมายของภาพ

2.2 เพื่อให้นักเรียนสามารถสะกดคำศัพท์ใหม่ๆได้

2.3 เพื่อให้นักเรียนอธิบายความหมายของคำราชาศัพท์ได้

2.4 เพื่อให้นักเรียนจำแนกชนิดของคำราชาศัพท์ได้

2.5 เพื่อให้นักเรียนนำคำราชาศัพท์ไปใช้ในการสื่อสารได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม

2.6 เพื่อให้นักเรียนเห็นคุณค่าของคำราชาศัพท์และการใช้คำราชาศัพท์ในการสื่อสารได้ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

3. กระบวนการและวิธีการผลิต (การจัดทำข้อมูลและการสร้างบท)

เลือกรูปแบบของสื่อการสอน

หาข้อมูลจากนักเรียนในเรื่องคำที่มักจะใช้ผิด เขียนผิดบ่อยๆ

หาคำที่สะกดยาก เช่น คำราชาศัพท์ คำสุภาพ

วางแผน / ทำโครงเรื่อง

เตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช่ในการจัดทำสื่อ เช่น กระดาษแข็งสี กรรไกร กาว สีเมจิก กระดาษปอนด์

ลงมือทำสื่อการเรียนตามแผนที่วางไว้

ตัดกระดาษแข็งสีต่างๆ เป็นใบขนาด 6 x 4 นิ้ว เพื่อทำเป็นบัตรคำศัพท์สลับอักษร ที่เขียนตัวอักษรสลับกันไว้ 1 ชุด จะมีทั้งหมดประมาณ 70 คำ โดยจะจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ละ 10 คำ คือ คำราชาศัพท์ หมวดต่างๆ คำสุภาพ และคำที่มักเขียนผิด

ตัดกระดาษแข็ง เพื่อทำเป็นรูปภาพของคำศัพท์ ขนาด 6 x 4 นิ้ว

ตัดกระดาษแข็งสี อีก 1 ชุด เท่าจำนวนคำศัพท์เพื่อเขียน คำศัพท์ที่ถูกต้อง

จัดเตรียมกล่องกระดาษสำหรับใส่คำศัพท์ตามหมวดหมู่ และรูปภาพ โดยบรรจุห่อให้สวยงาม และเขียนชื่อหมวดหมู่กำกับไว้ที่ตัวกล่อง

4. แนวทางการดำเนินงาน (ผู้จัดทำ ระยะเวลาการผลิต)

แนวทางการดำเนินงานครั้งนี้ กำหนดผู้จัดทำคนเดียว

คือ นางสาว ปัญชรีย์ วชิรถาวรชัย

5.ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต

ใช้เวลาจัดทำประมาณ 2 สัปดาห์

6. งบประมาณการผลิต

1. กระดาษแข็งสีต่างๆ แผ่นละ 15 บาท

2. กระดาษแข็งสีขาว แผ่นละ 15 บาท

3. กาวลาเท็กซ์ ขวดละ 15 บาท

4. สีเมจิก กล่องละ 35 บาท

5. กระดาษปอนด์ แผ่นละ 10 บาท

6. กล่องกระดาษเปล่า 7 กล่องขนาดปานกลาง เจาะรูข้างบน

7. นาฬิกาจับเวลา

7. ปัญหาและอุปสรรค

ในการใช้สื่อการเรียนชุดนี้อาจจะมีขาดความเป็นระเบียบไปบ้าง เพราะผู้จัดทำอยากให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาไทยด้วยความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อหน่ายจนเกินไป

8. ผลประโยชน์ของโครงการ

8.1 นักเรียนมีความแม่นยำในการสะกดคำศัพท์เพิ่มมากขึ้น

8.2 นักเรียนได้รับทราบคำศัพท์ใหม่ๆ ทั้งคำราชาศัพท์ และคำสุภาพ

8.3 เป็นการทบทวนความรู้ในเรื่องของคำศัพท์ให้กับนักเรียน

8.4 สื่อการเรียนชุดนี้สามารถนำไปดัดแปลงและบูรณาการกับรายวิชาอื่นได้

ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการ

ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หนังสือเรียนชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที

เนื้อหาของ ชุดการสอนนี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรดังกล่าว ในบทที่ 7 เรื่อง “กลอนกานท์ จากบ้านสวน หน้า 136 -139 ”

ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง คำราชาศัพท์และคำสุภาพ สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนได้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะทางภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

9. การติดตามและประเมินผล

การจัดทำสื่อการเรียนชุดนี้ประเมินผลจากการทดสอบ เขียนไทย ตอนท้ายชั่วโมง

โดยจะนำคำศัพท์จากที่ได้เรียนไปในสื่อการเรียนชุดนี้ เป็นการทบทวนความรู้และเสริมสร้างทักษะที่แม่นยำในการสะกดคำศัพท์ เขียนคำศัพท์ให้กับนักเรียน เพื่อการปลูกฝังในการใช้ภาษาที่ถูกต้องต่อไป

10. ขั้นตอนการใช้สื่อ

สื่อการสอนชุดนี้สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระวิชาศิลปะได้

ขั้นนำ

ครูทักทายนักเรียนและเกริ่นนำเรื่องคำราชาศัพท์และคำสุภาพโดยยกตัวอย่าง ง่ายๆ

ให้นักเรียนเห็นภาพชัดเจน เช่น ลองตั้งคำถาม ถามนักเรียนว่า "นักเรียนทราบไหมคะ ว่า ภาษาที่เราใช้กันทุกวันนี้มีหลายแบบ เช่น ภาษาที่เราใช้พูดกันกับเพื่อนและครูจะแตกต่างกันใช่ไหมคะ? เราจะพูดกับครูว่า "เฮ้ย..ครูมานี่หน่อย..." ได้ไหมคะ? แล้วเราจะพูดกับเพื่อนสนิทว่า "คุณแดงครับ...กรุณามาหาผมหน่อยนะครับ" ฟังดูแล้วแปลกๆและสุภาพมากเกินไปใช่ไหมคะ? ดังนั้นในการใช้ภาษากับบุคคลต่างๆ เราจะต้องดูความเหมาะสมด้วยนะคะ อย่างบุคคลในภาพนี้ (ครูชูภาพในหลวงและพระราชินี) นักเรียนทราบไหมคะว่าท่านเป็นใคร? นักเรียนคิดว่า เราจะพูดกับท่านเหมือนที่พูดกับครูได้ไหมคะ? นักเรียนทราบไหมคะว่าภาษาที่เราใช้พูดกับพระองค์ท่านเรียกว่าอะไร? " เป็นต้น

แล้วให้ครูเริ่มสอนคำราชาศัพท์ง่ายๆ ให้กับนักเรียนก่อน เช่น พระเนตร ให้ครูชูรูปตาขึ้นมา แล้วครูแกล้งหยิบผิด หยิบภาพหูขึ้นมาแทนเพื่อทดสอบความสนใจของนักเรียน

ให้ครูสอนคำศัพท์แบบนี้ไปเรื่อยๆเพื่อเป็นการเกริ่นนำก่อน จนนักเรียนเริ่มจดจำและทราบคำศัพท์บ้างแล้ว จึงค่อยใช้สื่อการสอนประกอบ เพราะสื่อการสอนชุดนี้ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีที่นักเรียนไม่ทราบคำศัพท์เลย อาจจะเปลี่ยนเป็นคำสุภาพก็ได้ ซึ่งค่อนข้างง่ายกว่าคำราชาศัพท์

ขั้นสอนโดยใช้สื่อการสอนประกอบ

ศูนย์ที่ 1 ให้ครูแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เริ่มการเล่นโดยที่ครูติดภาพ และบัตรคำที่เขียนตัวอักษรสลับไว้ให้นักเรียนดู เริ่มการแข่งขันโดยให้ทั้ง 2 ฝ่าย ส่งตัวแทนออกมาทีละคน

ออกมาเขียนคำ รวบรวม เรียบเรียง จัดลำดับของตัวอักษรใหม่ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความยากง่ายของคำ

ศูนย์ที่ 2 (ให้ใช้กล่องด้วย) ให้ครูนำคำราชาศัพท์หรือคำสุภาพที่เขียนสลับอักษรใส่ลงไปในกล่องทั้งหมด แล้วครูติดภาพบนกระดาน ซึ่งครูอาจจะทำกล่องหลายๆใบเพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียนก็ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ให้ครูเขียนหรือทำสัญลักษณ์ไว้ที่กล่องและรูปภาพแต่ละใบ ให้สัมพันธ์กันในแต่ละกลุ่ม เช่นกลุ่มที่ได้คำศัพท์เกี่ยวกับ ร่างกายก็วาดรูปคนลงไปในข้างหลังใบคำศัพท์และรูปเหมือนกันทั้งหมด ซึ่งรูปภาพของคำสุภาพบางคำอาจจะมีคำศัพท์หลายคำก็ได้ เช่น คำว่า ดอกไม้ บุปผา ผกา มาลี สุคนธ์ หรือครูอาจจะให้นักเรียนวาดภาพแทนการติดรูปก็ได้ แล้วให้นักเรียนออกมาเขียนศัพท์ที่ถูกต้องบนกระดานใต้รูปภาพ แล้วอ่านดังๆให้เพื่อนในกลุ่มฟัง เพื่อดูความแม่นยำในการสะกดคำ

ศูนย์ที่ 3 เมื่อนักเรียนแม่นยำคำศัพท์แล้ว ให้ครูจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น

กลุ่มละ 3-5 คน เพื่อเล่นเกม โดยครูแจกกระดาษปอนด์แผ่นใหญ่ให้กลุ่มละ 1 แผ่น

พร้อมด้วยสีเมจิก กลุ่มละ 3 สี หรือตามจำนวนนักเรียนในแต่ละกลุ่ม

ครูนำคำศัพท์ทั้งหมดใส่ลงในกล่องใบเดียว และให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มมาทีละ 1 คน เพื่อจับฉลากคำศัพท์ในกล่อง คนละ 3 คำ เปิดอ่านและส่งคืนภายในเวลา 5 วินาที

(ในตอนนี้ครูก็จดคำศัพท์ที่นักเรียนแต่ละกลุ่มจับได้ด้วย เพื่อใช้ตรวจสอบภายหลังว่า นักเรียนเขียนและวาดภาพถูกต้องหรือไม่) เสร็จแล้ว ให้ตัวแทนนำคำศัพท์ที่จับได้ ไปบอกเพื่อนๆในกลุ่มให้ช่วยกันวาดรูปและเขียนศัพท์ไว้ใต้รูปด้วย จากนั้นก็ส่งตัวแทนคนต่อไปออกมาจับฉลากคำศัพท์อีก ทำแบบนี้ไปจนครบทุกคน ภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อหมดเวลาแล้วครูบอกให้ทุกคนหยุดเขียนและส่งคืนสีเมจิกให้ครู หรือ ครูจะเดินเก็บสีเมจิกเองก็ได้ นำผลงานที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาติดเอาไว้ที่ข้างฝาผนัง หรือกระดานดำ ครูเดินตรวจดูผลงานและความถูกต้อง ก่อนที่จะให้นักเรียนทุกคนช่วยกันอ่านและช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของรูป ภาพและคำศัพท์ โดยให้นักเรียนทุกคนช่วยกันให้คะแนนของแต่ละกลุ่มไปพร้อมกับครู กลุ่มไหนทำคะแนนได้มากที่สุด กลุ่มนั้นเป็นผู้ชนะ

ศูนย์ที่ 4

เล่นเกมส์จับคู่คำศัพท์และรูปภาพ อาจจะจับคู่เฉพาะคำศัพท์ที่ถูกต้องกับ คำศัพท์สลับอักษร หรือทั้ง 3 ชนิดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอน ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มออกมา กลุ่มละ 1 คน เพื่อค้นหาฉลากคำศัพท์ในแต่ละกล่องให้สัมพันธ์กัน

ภายในระยะเวลาที่ กำหนด กลุ่มไหนหาครบทั้งหมดก่อน กลุ่มนั้นเป็นผู้ชนะ

ขั้นสรุป

ครูแจกกระดาษหรือใช้สมุดเขียนไทย เพื่อทดสอบคำศัพท์ที่ได้เรียนรู้ไปในวันนี้

ว่านักเรียนมีความรู้ความจำมากน้อยแค่ไหน..เพื่อหาทางปรับปรุงวิธีการสอน ต่อไป

ครูทบทวนคำศัพท์ให้นักเรียนอีกครั้งก่อนสรุป เรื่องความสำคัญของคำราชาศัพท์และคำสุภาพ ว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างไรในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะคำสุภาพ

ครูตรวจทานเขียนไทยหรือเขียนตามคำบอก..แล้วส่งคืนนักเรียน ครูอธิบายให้นักเรียนที่เขียนผิดมากที่สุด เข้าใจอีกครั้งและบอกให้นักเรียนทุกคนไปฝึกฝนตัวเองด้วยการเขียนและการสะกด ให้แม่นยำ..เพื่อทำการทดสอบในครั้งต่อไป

คู่มือครู

1. คู่มือครูชุดนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ช่วยให้ครูใช้สื่อการสอนชุด “เขียนศัพท์ สลับอักษร ”ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์

2. ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน “เขียนศัพท์สลับอักษร”เป็นเพียงชุดการสอนที่ช่วยให้ครูกับนักเรียนได้ทำ กิจกรรมรวมกัน ความสามารถในการเล่นเกมนั้นขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ความจำ และความสามารถของนักเรียนเอง ครูเป็นเพียงผู้คอยชี้แนะคำศัพท์ที่ถูกต้องให้นักเรียนทราบเท่านั้น

3. ครูจะต้องมีความรู้และแม่นยำในเรื่องของ คำราชาศัพท์คำสุภาพและคำที่มักใช้ผิดบ่อยๆ

4. ครูต้องคอยสังเกตดูพฤติกรรมนักเรียนทุกคนอย่างทั่วถึง ก่อนเล่นเกม ครูอาจจะทดสอบความรู้หรือช่วยทบทวนความจำของนักเรียนก่อนก็ได้

5. ในขณะที่ใช้สื่อการสอน โดยเฉพาะถ้าครูจัดแบ่งกลุ่มนักเรียน ครูไม่ควรแบ่งกลุ่มนักเรียนมากจนเกินไป ครูควรแบ่งกลุ่มละไม่เกิน 4-5 คน เพราะถ้าครูแบ่งกลุ่มนักเรียนมากจะทำให้ ยากต่อการควบคุมดูแล โดยเฉพาะในวิธีที่ 3 อาจจะมีนักเรียนบางคนไม่ให้ความร่วมมือกับเพื่อนในการทำกิจกรรม โดยครูจะต้องย้ำว่า นักเรียนทุกคนต้องมีส่วนร่วม ในการทำกิจกรรมทุกอย่าง ครูจะต้องมีระบบการจัดการนักเรียนที่ดี

6. ชุดการสอน ชุดนี้ ในวิธีที่จะต้องจัดแบ่งใส่กล่อง แต่ละกล่อง ครูควรระมัดระวัง เรื่องความผิดพลาดของคำศัพท์ ในแต่ละกล่องให้มาก หรือ ครูอาจจะทำกล่องรวมคำศัพท์แยกต่างหากอีกกล่องหนึ่งก็ได้ เพื่อไม่ให้สับสนและปะปน กับกล่องที่มีคำศัพท์แบ่งตามกลุ่ม หรืออาจจะจัดเป็นหมวดหมู่ของคำศัพท์ แต่ละชนิด เช่น คำศัพท์เกี่ยวกับ คำสุภาพ คำราชาศัพท์ในหมวดต่างๆ เป็นต้น

7. ชุดการสอน ชุดนี้ สามารถใช้ได้หลายวิธี ในการเล่นเกม ครูผู้ใช้สามารถประยุกต์และนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่นได้

แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน

เรื่อง “คำราชาศัพท์และคำสุภาพ”

1. “พระกรรณ” คำราชาศัพท์หมายถึงอะไร?

ก. ตา

ข. หู

ค. จมูก

ง. ปาก

2. “หมวก” คำราชาศัพท์คืออะไร

ก. พระมาลา

ข. พระโอรส

ค. พระเพลา

ง. พระนาสา

3. “แมว” คำสุภาพ คือะไร

ก. นางแมว

ข. น้องแมว

ค. วิฬาร์

ง. วิราฬ์

4. ข้อใดเขียนได้ถูกต้อง

ก. น่าเกียจ

ข. หน้าเกลียด

ค. น่าเกียรติ

ง. น่าเกลียด

5. คำว่า “ปะ-ติ-บัด” เขียนอย่างไร

ก. ปติบัติ

ข. ปฏิบัติ

ค. ปฎิบัติ

ง. ประฏิบัต

6. “กระบือ” ในภาษพูดเรียกว่าอะไร

ก. ช้าง

ข. ม้า

ค. วัว

ง. ควาย

7. “เท้า” ราชาศัพท์คืออะไร

ก. พระเท้า

ข. พระบาทา

ค. พระบาท

ง. พระตีน

8. “กุณฑล” หมายถึงอะไร

ก. กำไล

ข. ต่างหู

ค. แหวน

ง. สร้อยคอ

9. คำต่อไปนี้ข้อใดเขียนถูก

ก. รังเกียจ

ข. รังเกลียด

ค. ขี้เกลียด

ง. หน้ารัก

10. “ผักบุ้ง” คำสุภาพเขียนอย่างไร

ก. ผักนางบุ้ง

ข. ผักทอดยอด

ค. ผักแมลงบุ้ง

ง. ผักเลื้อย

เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

1. ข

2. ก

3. ค

4. ง

5. ข

6. ง

7. ก

8. ข

9. ก

10. ข

เป็นคนเขียนโครงการละเอียดมาก เหลือแต่ขั้นตอนการดำเนินการที่จะลงมือทำให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ครับ ;)

สวัสดีค่ะอาจารย์องคุลีมาล

การทำสื่อการสอนชุดศูนย์การเรียน

หนูไม่ใช้แผนการสอนจะได้ไหมคะ?

เราะหนูยังเขียนแผนการสอนไม่ค่อยเป็นเลยค่ะ

ถ้าหนูจะบอกจุดประสงค์และวิธีใช้ กระบวนการใช้ จะได้ไหมคะ?

ไม่มีแผนการสอนนะคะ

ไม่อย่างนั้นหนูจะเปลี่ยนโครงการเป็นบทเรียนสำเร็จรูปแทนค่ะ

เพราะศูนย์การเรียนหนูไม่สามารถจะแบกอุปกรณ์ที่เป็นกล่อง 3-4 กล่องไปส่งได้หรอกค่ะ

เพราะหนูนั่งรถประจำทางไปค่ะ ไม่สะดวกในการขนย้ายค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท