บันทึกที่ 7 โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา


โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา

 ชื่อโครงการ

                 ชุดการสอน วิชาคณิตศาสตร์

                ใครผิดใครถูก  เรื่อง จำนวนตัวเลขของค่าประจำหลัก

ผู้จัดทำโครงการ

                นางสาวฤทัยรัตน์    รัตนงาม ป.52.02 รหัส 52741246

หลักการและเหตุผล(ที่มาของการแก้ไขปัญหา)

                โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา  ใครผิดใครถูก เรื่องจำนวนตัวเลขของค่าประจำหลัก วิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นแก้ไขปัญหานักเรียนที่ไม่เข้าใจเรื่องจำนวนตัวเลขค่าประจำหลักที่ถูกต้อง เนื่องจากแนวการสอนส่วนมากจะใช้แบบการอธิบาย หรือบรรยายทำให้มีความสนใจในการเรียนลดลง ในการผลิตสื่อนวัตกรรมนี้มุ่งแก้ไขปัญหาการใช้สื่อเดิมที่ยังไม่ดีพอ และไม่มีความดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

                จากปัญหาดังกล่าวจึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติโดยใช้สื่อ ใครผิดใครถูก ในการพัฒนาสื่อประกอบการสอน เพิ่มเติม เป็นสื่อที่ดึงดูดและกระตุ้นความสนใจของนักเรียนได้เหมาะสมกับวัย อีกทั้งสื่อมีความสะดวกในการนำมาฝึกได้ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องการสร้างสื่อช่วยสอนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในเรื่องจำนวนตัวเลขของค่าประจำหลัก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาสื่อ ใครผิดใครถูก  ช่วยสอนให้กับนักเรียนเกิดความสนใจเรื่องจำนวนตัวเลขของค่าประจำหลัก
  2. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการคิดของนักเรียนในกลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์
  3. เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้สื่อเรื่องจำนวนตัวเลขของค่าประจำหลัก

ขอบเขตของสื่อนวัตกรรมที่นำไปใช้(เนื่อหาวิชา,ระดับชั้น)

            เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างสื่อนวัตกรรม วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนตัวเลขของค่าประจำหลัก โดยใช้จำนวนตัวเลข ตั้งแต่ 0 – 9  ของระดับชั้นอนุบาล 3 จำนวน 12 คน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน และเป็นการปูพื้นฐานการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์ก่อนเข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

                ครูผู้นำเสนอสามารถนำสื่อ ใครถูกใครผิด ช่วยสอนมาฝึกทักษะการคิด และพัฒนาการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นอนุบาล และระดับชั้นอื่นที่เกี่ยวข้องได้

                นักเรียนมีความพร้อมที่จะเรียน มีความสนใจสื่อการเรียนได้เนื่องจากสื่อดังกล่าวมีการปฏิบัติ มีการฝึกทักษะการใช้งาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

                1. ศึกษาค้นคว้าจากตำราเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                2. ขอคำแนะนำจากผู้รู้ วิธีการทำสื่อ การใช้สื่อ

                3. เลือกสื่อที่เหมาะสมกับผู้เรียน

                4. วางแผนจัดทำสื่อ

                5. ทดลองทำสื่อ

               5.1 ใครผิดใครถูกเจ้าสัตว์ตัวเล็ก ชุดที่ 1

                 กระบวนการจัดการเรียนรู้ ชุดที่ 1

1.ขั้นนำ

1.1   นักเรียนและครูร่วมกันร้องเพลง “ลองนับดูซิ ”  แล้วทำท่าประกอบเพลง

1.2   ครูแจ้งให้นักเรียนทราบถึงสิ่งที่จะเรียนเรื่องตัวเลขค่าประจำหลัก

1.3  นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบทางการเรียนก่อน-หลังเรียน "เขียนตัวเลขแทนค่าในแต่ละข้อให้ถูกต้อง"

1.4   ครูนำสื่อนวัตกรรมการสอน ชุดการสอนเจ้าสัตว์ตัวเล็ก  ออกมาให้นักเรียนดูและถามคำถาม

-         มีใครรู้บ้างค่ะว่าสิ่งที่นักเรียนเห็นคืออะไร

-         เขาใช้ทำอะไรนะ

-         มีวิธีเล่นอย่างไร

2. ขั้นสอน

2.1 ครูบอกให้ทราบถึงการใช้สื่อนวัตกรรมการสอน บอกให้ทราบถึงค่าประจำหลัก ของหลักสิบ หลักหน่วยให้นักเรียนเข้าใจถูกต้อง

2.2 ครูสาธิตวิธีการใช้สื่อชุดการสอนเจ้าสัตว์ตัวเล็ก ให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้นักเรียนออกมาสาธิตให้เพื่อนดู

2.3  แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มออกมาใช้สื่อชุดการสอนที่โต๊ะสาธิต

2.4 ครูกำหนดโจทย์(เช่น ไก่จำนวน 12 ตัว )ให้นักเรียนทดลองใช้สื่อ โดยครูคอยสังเกตวิธีทำและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียน

3.ขั้นสรุป

3.1 แต่ละกลุ่มออกมาทดลองใช้สื่อชุดการสอนแล้ว และช่วยกันตอบ ตามโจทย์ที่ครูกำหนดให้

3.2 ครูแจ้งผลทันทีที่นักเรียนทดลองทำสื่อชุดการสอนเสร็จว่าถูกต้องหรือไม่

3.3 ครูเพิ่มเติมความรู้ และทบทวนการเรียนการสอนกับนักเรียนอีกครั้งเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจการเรียนเพิ่มขึ้น

เกณฑ์การวัดผลชุดการสอนที่ 1

1.การสังเกต

ใช้แบบสังเกตความพึงพอใจ ในการใช้สื่อ ใครถูกใครผิดเจ้าสัตว์ตัวเล็กชุดที่ 1 โดยการสังเกตพฤติกรรมความสนใจและไม่สนใจต่อการใช้สื่อในเรื่องดังนี้

1.1นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน

1.2 นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมากขึ้นและมีผลการเรียนดีขึ้น

1.3 นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมปฏิบัติในการใช้สื่อทุกคน

1.4 นักเรียนสนุกสนานกับการใช้สื่อ

1.5 นักเรียนฝึกใช้สื่อในเวลาว่างอย่างสม่ำเสมอ

*** การสรุปผลประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อ  เกณฑ์การประเมิน ถ้านักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงความสนใจตั้งแต่ 3 ข้อขึ้นไป ถือว่านักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อ

2.แบบทดสอบ

ใช้แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่องเขียนตัวเลขแทนค่าในแต่ละข้อให้ถูกต้อง จำนวน 5 ข้อ

เกณฑ์การให้คะแนน

1.1  เติมตัวเลขตรงกับหลักได้ถูกต้อง

1.2  เขียนตัวเลขให้ถูกต้อง

1.3  บอกจำนวนสัตว์ได้ถูกต้อง

1.4   อ่านตัวเลขได้ถูกต้อง

1.5  เป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด

ระดับคะแนน

ดีมาก            =       9-10                                ดี        =       7-8

ปานกลาง       =       6                                     ปรับปรุง =     5

 

***สื่อชนิดนี้ต้องการให้เด็กนักเรียนได้ทราบถึงตัวเลขของค่าประจำหลักและแยกลักษณะของสัตว์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในสื่อการเรียนชนิดนี้ได้

              นอกจากชุดการสอนที่1 ยังมีสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเช่น เกมส์หาคู่  เพื่อเป็นการฝึกทักษะทางด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องตัวเลข  หลักสิบและหลักหน่วยและช่วยฝึกทักษะเฉพาะด้านการแยกแยะชนิดของสัตว์ต่างๆได้

5.2 ใครผิดใครถูกกำไรมีเสียง ชุดที่ 2 

กระบวนการจัดการเรียนรู้ ชุดที่ 2

1. ขั้นนำ

1.1  นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบทางการเรียนก่อน-หลังเรียน “ให้เติม (วงกลม)    แทนค่าประจำหลัก ”

1.2  ครูนำสื่อนวัตกรรมการสอน  ชุดการสอนกำไรมีเสียง  ออกมาให้นักเรียนดูและตั้งคำถามกับนักเรียน

     - สิ่งที่ครูนำมาให้นักเรียนมีอะไรบ้างค่ะ

     - นักเรียนเคยเห็นหรือเปล่า

     - แล้วเราจะใช้กันอย่างไรล่ะ

2. ขั้นสอน

2.1 ครูอธิบายถึงวิธีการใช้ ชุดการสอน โดยกำหนดสิ่งที่นักเรียนต้องศึกษา เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ

2.2 ครูสาธิตถึงวิธีการใช้สื่อ คอยแนะนำและทำกิจกรรมร่วมกัน

2.3 ให้นักเรียนฝึกทักษะ วิธีการใช้  โดยให้ทุกคนออกมาใช้สื่อการสอน ชุดกำไรมีเสียง

3. ขั้นสรุป

3.1 นักเรียนเป็นผู้กำหนดเอง (โดยครูต้องคอยแนะนำและสอนโดยละเอียด ไม่เร่งรัด)และนำกำไรใส่ตามค่าประจำหลัก หลักสิบ หลักหน่วย  แล้วบอกครูตามจำนวนที่ใส่ได้ถูกต้อง

3.2 ถ้านักเรียนทำถูกครูเป็นผู้กดสวิทย์ไฟ มีเสียงดังเกิดขั้น เช่น เสียงรถพยาบาล

ถ้าทำผิดครูไม่กดสวิทย์ไฟไม่มีเสียง

3.3 ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความคุ้นเคยในชั้นเรียนทำให้บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน

เกณฑ์การวัดผลชุดการสอนที่2

  1. ใช้แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน  เรื่อง ให้เติมวงกลมแทนค่าประจำหลัก

เกณฑ์การให้คะแนน

           1.1 เติมวงกลมแทนค่าประจำหลักสิบได้ถูกต้อง

           1.2เติมวงกลมแทนค่าประจำหลักหน่วยได้ถูกต้อง

           1.3 อ่านตัวเลขค่าประจำหลักสิบได้ถูกต้อง

           1.4 อ่านตัวเลขค่าประจำหลักหน่วยได้ถูกต้อง

           1.5 เป็นระเบียบ เรียบร้อย สะอาด

ระดับคะแนน

ดีมาก            =       9-10                                ดี        =       7-8

ปานกลาง       =       6                                     ปรับปรุง =     5

2. เขียนผลงาน

ให้นักเรียนวาดรูปสื่อ กำไรมีเสียง ที่นักเรียนเห็นตามความคิดของนักเรียนเอง  แล้วเขียนวงกลมในหลักหน่วย หลักสิบให้ตรงกับที่นักเรียนออกมาทดลองใช้สื่อ แล้วระบายสีให้สวยงาม (ครูคอยแนะนำ ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกับนักเรียน)

 

3.แฟ้มสะสมงาน

            3.1 ครูนำแบบสังเกตความพึงพอใจ ในการใช้สื่อ ใครถูกใครผิดเจ้าสัตว์ตัวเล็กชุดที่ 1 ,

            3.2 แบบทดสอบ ชุดที่ 1 ก่อน-หลังเรียน  เรื่อง เขียนตัวเลขแทนค่าในแต่ละข้อให้ถูกต้อง

            3.3 แบบทดสอบ ชุดที่ 2 ก่อน-หลังเรียน  เรื่อง ให้เติมวงกลมแทนค่าประจำหลัก

            3.4 นำผลงานการวาดรูปสื่อของนักเรียน

            3.5นำมาเก็บรวบรวมเป็นแฟ้มสะสมงานของนักเรียนแต่ละคน แล้วให้แต่ละคนดูผลงานที่ได้ทำไว้ เพื่อสร้างความสนใจในการเรียนมากขึ้น

โดยสื่อนี้เน้นการเรียนการสอนที่ครูและนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างเต็มที่  ไม่เน้นการ บรรยาย แต่เน้นการปฏิบัติเพื่อให้นักเรียนมีความสนใจอยากที่จะเรียน

นอกจากสื่อชุดที่2 ยังประกอบด้วยการเล่นเกมส์  นาฬิกาประจำหลักเพื่อเป็นการช่วยฝึกทักษะด้านความจำของตัวเลขค่าประจำหลักได้แม่นยำยิ่งขึ้น

 6. นำสื่อที่ได้ไปในการเรียน

ระยะเวลาในการจัดทำ

               เริ่มศึกษาดำเนินการหาข้อมูลจากบทเรียน และสอบถามผู้รู้ ผู้ที่เคยปฏิบัติรวมแล้วประมาณ  4 สัปดาห์

งบประมาณที่ใช้จริง

             แผงวงจร 250 บาท              กำไลข้อมือ(อันใหญ่)  10 อัน = 100  บาท

            กระดาษสี 50 บาท               ตะปู 20 บาท

            ถ่าน AAA 2 ก้อน  20  บาท     สติ๊กเกอร์1แผ่น 10 บาท

            ท่อPVC และไม้ทำกล่องนำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำ  

            หลอดดูดขนาดใหญ่ 2 หลอด  

            กระดาษแข็งวาดรูปเล่นเกมส์    50 บาท

            รวมประมาณ  500  บาท

บรรณานุกรม

             ตัวอย่างหนังสือเรียนและแผนการจัดการเรียนรู้(นำร่องหลักสูตรแกนกลางฯ 2551)บริษัท สำนักพิมพ์แม็ค จำกัด

           

 

 

หมายเลขบันทึก: 355330เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2010 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 14:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ...น้องฤทัยรัตน์

พี่มาเป็นกำลังใจให้นะค่ะ สู้ สู้ ค่ะ

เด็กเล็กมาก เขียนให้เป็น "ชุดการสอน" เพราะครูต้องควบคุมกระบวนการเรียนทั้งหมด

เขียนถึงกระบวนเรียนแต่ละศูนย์การเรียนด้วยครับ

เพราะที่เขียนมาเป็นการผลิตเนาะ

อ่านวิธีการผลิตเพิ่มที่หนังสือการผลิตชุดการสอนครับ

ปรับ แก้ไข ด่วนครับ ;)

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูได้แก้ไขบันทึกตามที่อาจารย์บอกแล้วค่ะ หนูไม่ทราบเหมือนกันว่า เขียนกระบวนการเรียน ต้องมีขั้นนำ ขั้นสอน และขั้นสรุปอย่างที่ทำมาหรือเปล่า เพราะไปถามคุณครูที่รู้จักกันเขาแนะนำให้เขียนมา อาจารย์ช่วยตอบด้วยคะเพราะทำผิดจะได้แก้ไขได้เลย ไม่รู้มาถูกทางหรือเปล่า

มี 2 ศูนย์การเรียน ??? ... การเรียนรู้เป็นแบบเส้นตรง คือ ศูนย์ที่ 1 แล้วมาศูนย์ที่ 2 ...

ขอให้ทำให้ได้ตามวิธีการผลิต มีส่วนประกอบให้ครบ

แล้วพยายามหาทางวัดผลเด็กให้เป็นรูปธรรม มากกว่า การถาม-ตอบ

แก้ไขวิธีการ แล้วลงมือทำดูครับ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่มวิธีการวัดผลของสื่อการสอนแล้วคะ รบกวนอาจารย์ช่วยตรวจดูให้ด้วยคะ

ขอบคุณคะ และหนูเริ่มผลิตสื่อการสอนทั้ง 2 ชุด ได้หรือยังคะอาจารย์

แบบทดสอบก่อนเรียน ต้องอยู่ก่อนการเรียนเนื้อหาทั้งหมด

แบบทดสอบหลังเรียน ต้องอยู่หลังเรียนการเรียนเนื้อหาทั้งหมด

ส่วนกิจกรรมภายในแต่ละศูนย์การเรียน หากนักเรียนเล็กเกินไป ครูต้องเป็นผู้อ่านบัตรคำสั่งนั้นให้นักเรียนเอง และควบคุมให้นักเรียนเดินทางกระบวนการเรียนที่วางเอาไว้ในแต่ละศูนย์

นอกจาก แบบสังเกตแล้ว ต้องหาเครื่องมืออื่นมาวัดค่าความเข้าใจของเด็กให้เป็นรูปธรรมด้วย เช่น แบบฝึกหัด แบบทดสอบ ฯลฯ เป็นต้น

หากเขียนเป็นตารางแผนการสอนตามตัวอย่างคู่มือครูที่ให้ไว้ จะดีมาก ;)

สวัสดีคะอาจารย์ ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท