การเปลี่ยนแปลงแหล่งความรู้และเครื่องมือในการศึกษา


แหล่งความรู้ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ มีอิทธิพลยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงของแหล่งความรู้และเครื่องมือในการศึกษา

           30 ปีที่ผ่านมา  สังคมและสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปมาก  สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ  จากน้ำมือมนุษย์นั้นมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ยิ่งกว่าธรรมชาติซึ่งเคยอยู่เหนือมนุย์มาแต่ก่อน  มนุย์สร้างสิ่งต่างๆ มาเพื่อควบคุมคุ้มภัยจากธรรมชาติ  แต่ในที่สุดมนุษย์ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเอง  แหล่งความรู้นอกระบบการศึกษานั้นกลับพลิกขึ้นมามีอิทธิพลมากต่อเด็กและเยาวชน  ต่อการเรียนรู้ทัศนคติและการดำเนินชีวิตของผู้คน

          ทฤษฎีการจัดการศึกษาทางตะวันตกทั้งหลาย  ดูเหมือนว่าต้องติดตามไปแก้ปัญหาโลกที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ นั้นอีกทอดหนึ่ง นักการศึกษาตะวันตกเสนอทางออกด้วยการเรียกร้องสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาแบบใหม่  นำเทคโนโลยีและเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ เข้ามีใช้เพิ่มขึ้นในการจัดการศึกษา  เพื่อเตรียมเด็กและเยาวชนให้อยู่สิ่งแวดล้อมชนิดใหม่นี้ให้ได้  แต่ความจริงแล้วเราจำเป็นต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า  จะทำอย่างไรให้การศึกษาเพิ่มศักยภาพให้มนุษย์เรียนรู้  และดัดแปลงโลกอย่างสร้างสรรค์มากกว่าทำลาย  มากกว่าที่จะเน้นว่า  เราจะใช้เทคโนโลยีชนิดไหน  เมื่อไร

       คอมพิวเตอร์มัลติมีเดียและอินเทอร์เนตหรือเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นเป็นเครื่องมือชิ้นใหม่ในวงการศึกษา  เป็นสัญลักษณ์แห่งนวัตกรรมดิจิตอลแห่งยุคใหม่นี้  เครื่องมือทั้งสองอย่างนี้ได้ถูกนำเอามาผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดการศึกษาแบบใหม่ในโลกตะวันตก  นอกจากนี้ยังมีแนวคิดวิธีการจัดการศึกษาอีก 2 แบบคือ  การจัดทำโครงงาน  และการศึกษาโดยประสบการณ์จริง  หรือจากสถานการณ์ที่จำลองขึ้นโดยอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่  แต่คุณครูต้องไม่ลืมว่าเทคโนโลยีที่ไม่ควรถูกใช้โดยปราศจากความระมัดระวังจนทำให้การเรียนรู้ของมนุษย์ตามธรรมชาติ  เรียนรู้จากธรรมชาติ  และเรียนรู้จากความจริง  จบบทบาทลง

      มนษย์เคยอยู่ภายใต้ธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ  แต่ปัจจุบันนี้มนุษย์ตกอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งประดิษฐ์ที่มนุย์สร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมธรรมชาติและอำยวนความสะดวกสบายให้แก่มนุษย์เอง  แหล่งความรู้ที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์นอกระบบการศึกษา  มีอิทธิพลยิ่งต่อทัศนคติและการดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน 

     พรพิไล  เลิศวิชา.มัลติมีเดียกับโรงเรียนในศตวรรษที่ 21.พิมพ์ครั้งที่ 1:     

                   กรุงเทพฯ,2544.

คำสำคัญ (Tags): #innonation
หมายเลขบันทึก: 35503เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2006 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
ดีมาก ลองหาภาพมาประกอบและแทรกลงในบทความบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท