มรรควิธีที่ ๙ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่


คนส่วนใหญ่มักบอกกับตนเองว่า ฉันรู้แล้ว แต่เมื่อรู้แล้ว ทำไมถึงไม่ลองลงมือปฏิบัติ

  ภาพจาก Internet

        เมื่อวันหยุดก่อนสงกรานต์ฉันตั้งใจจะหาหนังสือไว้อ่านในวันหยุดยาวหลายๆวันช่วงวันหยุดสงกรานต์  จึงเข้าไปหาหนังสืออ่านที่ SEED BooK  หนึ่งในหนังสือที่ฉันเลือกมาอ่านคือ  “๓๙ พุทธมรรคา  ถ้ารู้แล้วทำไมถึงไม่ทำ”  เห็นหน้าปกก็น่าอ่านแล้วค่ะ  ปกอาร์ทมันสีน้ำตาล ตัวหนังสือสีทองพิมพ์นูน  ที่สำคัญบนปกเขียนว่า  “พิมพ์ครั้งที่ ๑”  เย้...เราจะได้อ่านเป็นคนแรกๆ

         มรรค  คือ  หนทางถึงความดับทุกข์  เป็นส่วนหนึ่งของ อริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์  หรือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)  และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา  ประกอบด้วย  หนทาง ๘  ประการด้วยกัน  เรียกว่า “มรรคมีองค์แปด”  หรือ  “มรรคแปด” (อัฏฐังคิกมรรค)  มรรค ๘ ประกอบด้วย

          ๑.   สัมมาทิฏฐิ  คือ  ปัญญาเห็นชอบ  หมายถึง  เห็นถูกตามความเป็น

                จริงด้วยปัญญา

          ๒.   สัมมาสังกัปปะ  คือ  ดำหริชอบ  หมายถึง  การใช้สมองความคิด

                 พิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม

          ๓.    สัมมาวาจา  คือ  เจรจาชอบ  หมายถึง  การพูดสนทนาแต่ในสิ่งที่

                 สร้างสรรค์ดีงาม

          ๔.   สัมมากัมมันตะ  คือ  การประพฤติดีงามทางกายหรือกิจกรรมทาง

                 กายทั้งปวง

          ๕.   สัมมาอาชีวะ  คือ  การทำมาหากินอย่างสุจริตชน

          ๖.   สัมมาวายามะ  คือ  ความอุตสาห  พยายามประกอบความเพียรใน

                ทางกุศลกรรม

          ๗.  สัมมาสติ  คือ  การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ  จิตเลื่อนลอย 

                ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปรกติ

          ๘.  สัมมาสมาธิ  คือ  การฝึกจิตให้ตั้งมั่น  สงบ  สงัด  จากกิเลส  นิวรณ์

                อยู่เป็นปรกติ

         คนส่วนใหญ่มักบอกกับตนเองว่า  ฉัน(อัตตา)  รู้แล้ว  แต่เมื่อรู้แล้ว  ทำไมถึงไม่ลองลงมือปฏิบัติ  เพราะหลักธรรมของพระพุทธศาสนามีความพิเศษอยู่ที่ถ้าใครลงมือปฏิบัติก็มักจะประสบผลตามที่ตนตั้งใจไว้ 

         ๓๙  พุทธมรรคาฯ  เป็นหลักธรรมที่ประยุกต์จาก  มรรค ๘  เป็น  ๓๙ มรรค  เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิม  และสามารถนำมาปฏิบัติได้อย่างแท้จริง

         ๓๙ พุทธมรรคาฯ เป็นหนังสือที่อ่านง่ายดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ  มีหลาย  พุทธมรรคาฯ  ที่ฉันอ่านแล้วรู้สึกชอบและเห็นว่านำมาปรับใช้ในชีวิตของเรา  วันนี้จึงขอนำ มรรควิธีที่ ๙  มาบันทึกให้ผู้สนใจได้อ่านกันค่ะ

  

ภาพจาก Internet

 

มรรควิธีที่ ๙

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ศาสตร์ที่ต้องปลูกฝัง

         สถานภาพและบทบทของชีวิต  นำไปสู่การแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ  การแบ่งภาระหน้าที่รับผิดชอบ  นำไปสู่ความสมัครสมานสามัคคี  นำไปสู่ความไว้วางใจกัน  นำไปสู่การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  นำไปสู่ความสำเร็จ  และสันติภาพของโลก

         คำว่า “กรรม”  อีกความหมายหนึ่งก็คือ  “การงาน”  เหตุนั้นทุกคนในโลกใบนี้จึงมีการงานสำหรับรับผิดชอบประจำตัว  สถานภาพ  และบทบาทของชีวิตที่แท้จริงของทุกคนคือ  มีความหลากหลาย  บางครั้งเราก็เป็นผู้นำ  เช่น  เป็นผู้นำครอบครัว  เป็นประธานบริษัท  เป็นหัวหน้าฝ่าย  เป็นนายจ้าง...บางคราเราก็เป็นผู้ตาม  เช่น  เป็นบุตรธิดา  ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของเจ้านาย  เป็นลูกจ้าง...ซึ่งเมื่ออยู่ในบทบาท  หรือสถานะใดก็ตามสิ่งที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอก็คือ  รับผิดชอบต่อหน้าที่  มีระเบียบวินัยในการทำงาน  ในองค์กรบริษัท  สิ่งที่เขาต้องการแน่นอนคือ  คนเก่ง  เพราะบุคลากรทุกคนที่เก่ง  มีฝีมือ  สามารถที่จะนำองค์กรนั้นๆ  ไปสู่เป้าหมายคือความสำเร็จได้  แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ  คนที่รับผิดชอบต่อหน้าที่  และจะดีอย่างยิ่งเมื่อทุกคนที่เก่งนั้นรู้จักรับผิดชอบร่วมกัน  ธรรมก็คือหน้าที่  ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด  อย่าทิ้งภาระหน้าที่ของตนที่ได้รับมอบหมาย  เพราะความซวยคือความล้มเหลวจะมาเยือน  ตรงกันข้ามเมื่อรับผิดชอบต่อหน้าที่จะพบความสำเร็จอย่างแน่นอน  ที่สำคัญขอให้มีความสุขสนุกกับงานที่ทำ  ทำด้วยใจใส่จิตวิญญาณความรับผิดชอบต่อหน้าที่  จึงเป็นศาสตร์ที่ต้องปลูกฝังให้แก่มวลมนุษยชาติทุกคน

 

 

        ถ้าทุกคนต่างรู้ว่าหน้าที่ของตนเองคืออะไร  และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่  ทำด้วยใจใส่จิตวิญญาณความรับผิดชอบต่อหน้าที่   ในทางที่ถูกต้อง  บ้านเมืองของเราคงพัฒนาไปได้ไกลกว่านี้  ไม่ติดกับดักทางความคิดของกิเลสบ่วงมารทั้งหลายทั้งปวง

 

หมายเลขบันทึก: 354006เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 20:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • หลายคนต่างรู้ว่าหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองคืออะไร แต่ไม่ทำหรือไม่พยายามที่จะทำ สังคมจึงวุ่นวาย ล้าหลัง
  • ขอบคุณคุณน้ำชามากค่ะที่ร่วมกันแสดงความรักชาติ

การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง...

ขอบคุณสำหรับดี ๆ ที่มีมาให้ ไม่ให้การให้ใดที่สูญเปล่า

สวัสดีครับน้องน้ำชา

มรรค แปด

"สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง เห็นถูกตามความเป็น

จริงด้วยปัญญา" แต่มักถูกบดบังด้วยอัตตาบดบังปัญญาเวลาให้ความเห็นน่ะครับ

ขอบคุณคติธรรมดีๆนะคะ..

มาชวนไปถวายพระพรครบ ๖๐ ปีวันราชาภิเษกสมรสค่ะ :

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/354672

2274022y9b148k6z9 

ขอบคุณค่ะ  ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--

สุขภาพแข็งแรงนะคะ

ขอบพระคุณค่ะ  คุณนงนาท สนธิสุวรรณ

ไปตามคำเชิญแล้วค่ะ

ขอให้พี่มีความสุขมากๆนะคะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะคุณครูคิม

ไปพบความรักตามที่คุณครูแนะนำมาค่ะ

รังสีของคนที่มีความรักแผ่รัศมีถึงหน้าจอเลยค่ะ

ขอบพระคุณกำลังใจจากคุณครูกระแตค่ะ

ขอบคุณธรรมะ

ที่แปลกคือทุกครั้งที่อ่านธรรมะ กลับพบว่าใช้เวลากับธรรมมากกว่าปกติ

พ่อบ้านแซวว่า ....ต้องพยายามทำความดีเยอะๆ จะได้เข้าใจธรรมเร็วขึ้นค่ะ อิอิ

สวัสดีค่ะ  คุณครูkrutoiting

หนูกับเพื่อนๆ  ยังแซวกันเล่นๆว่า  เพราะวัยเราหรือเปล่านะ   พวกเราจึงชอบอ่านหนังสือธรรมมะ  และคงด้วยวัยจริงๆ  พบว่าตัวเองเริ่มเข้าใจธรรมชาติของสิ่งรอบกายเพิ่มมากขึ้น  และพยายามเข้าใจกับบางสิ่งบางอย่างที่เราคิดว่ามันไม่ถูกต้อง  ถ้าเป็นเมื่อก่อนรู้สึกอย่างไรจะแสดงออกอย่างนั้นทันที  เรียกว่าคิดสั้นคิดน้อยค่ะ

ขอบคุณ  คุณครูค่ะ

สวัสดีค่ะน้องnamsha

แวะมาอ่านบันทึกดีๆยามเช้าค่ะ

ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดในทุกๆวัน เราก็จะมีความสุข สังคมก็เป็นสุขด้วย

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท