โครการหลวง : คนงามของใจไทย...


เมื่อวานนี้ (๒๑ เมษายน ๒๕๕๓) ช่วงบ่ายแก่ ๆ ระหว่างที่ผมยืนรดน้ำต้นไม้ โดยเฉพาะ "เฟิร์นข้าหลวง (Bird's nest fern)" ที่มีซีดเผือดเพราะขาดความชื้นอยู่นั้น "คุณพ่อ..." ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีอุปการะในการดูแลต้นไม้ในบริเวณนี้ ซึ่งนามสกุลของท่านได้ถูกนำมาตั้งเป็นสถานที่แห่งนี้ด้วย โดยเมื่อก่อนท่านเคยเป็นผู้จัดการใหญ่ในการจัดงานต้นไม้ในระดับโลกในปีพ.ศ.๒๕๔๙ ที่จัดขึ้นในประเทศไทย

หลังจากที่รดน้ำต้นไม้เสร็จเรียบร้อย ท่านก็ชวนผมไปเดินดูต้น "อินทินบก" ที่นำมาลงใหม่จำนวน 3 ต้น และในขณะนั้นเองผมก็ได้เอ่ยขึ้นถามท่าน ดังนี้ "ได้ข่าวว่าที่ดอยอินทนนท์เดี๋ยวนี้เขาจัดต้นไม้สวยน่าดู ใครจัดน๊อ" ท่านได้ตอบว่า "อ๋อ ของหลวงเค้าสิ โครงการหลวงเขามีมือดี..."

ท่านก็ได้เล่าให้ฟังถึงแนวทางปฏิบัติในการจัดต้นไม้ในแต่ละที่โดยเฉพาะที่ "ดอยตุง" จังหวัดเชียงรายว่า ที่นั่นมีมือในการจัดต้นไม้ชั้นเยี่ยม

ต้นไม้ที่ผมและท่านกล่าวถึงกันส่วนใหญ่ในการพูดคุยเมื่อวานคือ "การจัดสวนดอกไม้" ในการบริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางขึ้นไปชมสถานที่ของโครงการหลวงที่เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ (Eco Tourism)

เพราะนอกจากการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องคนไทยในพื้นที่สูงแล้ว ในโครงการที่สภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวย มี "ทุนชุมชน" ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมีคุณค่าสูงยิ่งทางจิตใจอาทิเช่นดอยอินทนนท์ และดอยตุงนั้น บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของโครงการหลวงก็จัดได้อย่างเชิดหน้าชูตา

ซึ่งผมก็ได้เอ่ยถึงสถานที่แห่งหนึ่ง ซึ่งได้เคยเข้าไปศึกษาพรรณไม้ต่าง ๆ คือสวนพฤกษศาสตร์ ที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ถึงแม้นว่าจะมีพรรณไม้และการจัดสร้างอาคารต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ผมสังเกตุว่าที่นั่นดูทรุดโทรมและขาดการดูแลซึ่งแตกต่างจากต้นไม้และพันธุ์ไม้ที่อยู่ภายใต้การดูแลของคนใน "โครงการหลวง (Royal Project)"

โดยคุณพ่อท่านก็ยืนยันว่าจริง ว่าที่นั่น "ขาดมือ" ในการดูแลรักษา แต่ผมก็ฉุกคิดขึ้นได้อีกว่าน่าจะ "ขาดใจ" ด้วย

เพราะผมเคยคิดถึงอารมณ์หนึ่งที่เคยมีโอกาสขึ้นไปทำงานเล็ก ๆ ในโครงการหลวงหนองหอย จ.เชียงใหม่ (ห้องทำงานอันแสนสดชื่น : หนองหอย) การทำงานครั้งนั้นเป็นอารมณ์ที่เต็มตื้นที่ได้มีโอกาสเข้าทำงานรับใช้เบื้องพระยุคลบาท ถึงแม้ว่าจะอยู่ห่างไกลจากพระองค์ท่านโดยทางกายและเมื่อเข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตของบุคลากรในโครงการหลวงแล้วผมรู้สึกว่าจิตใจไม่ห่างไกลเลย

ดังนั้น องค์กรที่ได้ชื่อว่าสามารถบริหารได้ทั้งกายและใจของคนที่ร่วมงานกันอยู่ในนั้นแล้วประสบความสำเร็จในประเทศไทยนี้ผมขอยกย่องให้องค์กรที่ชื่อว่า "โครงการหลวง (Royal Project)" มาเป็นลำดับที่หนึ่ง ซึ่งสามารถวัดคุณภาพ (Quality) ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตผล (Productivity) ได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม

หรือแม้แต่เพียงการได้ดื่มน้ำผลไม้จากกล่องที่ผลิตภายใต้ชื่อว่า "ดอยคำ" เราก็รู้สึกได้ถึงพลังของผู้จัดทำน้ำผลไม้กล่องนั้น ไม้ว่าจะเป็นผักสด ๆ ที่วิ่งเข้าสู่ตลาดทุกเช้า หรือแม้นแต่เพียงรถกระบะเก่า ๆ สักคันที่ติดป้ายข้าง ๆ ว่า "โครงการหลวง" เพียงแค่เห็นผมก็รู้สึกดี

ผมเชื่อว่าคนไทยทุกคนที่ความรู้สึกที่ดีต่อโครงการหลวง อันเป็นโครงการที่ทำให้คนไทยรู้จักคุณค่าชีวิตที่แท้จริงของ "คนไทย..."

คำสำคัญ (Tags): #โครงการหลวง
หมายเลขบันทึก: 353224เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2010 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะที่ช่วยกันเผยแพร่วิถึการทำงานด้วยใจสืบสานงานตามพระราชดำริ ในโครงการหลวง..

http://gotoknow.org/blog/nongnarts/346883

          

คนในโครงการหลวงเป็นคนที่มีความงามในจิตใจ เพราะถูกหล่อหลอมด้วยคนในที่มีจิตใจงาม

คนที่ทำงานอยู่ในองค์กรที่งาม ๆ เช่นนั้น จิตใจย่อมเป็นสุข และสนุกทุก ๆ ย่างก้าวที่เดินไป

องค์กรไทยต้องการที่จะทำความดี ขอให้ศึกษาโครงการหลวงเป็น Case study

ของดีอยู่ในเมืองไทยนี้แหละ ไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน ดีด้วยใจ งามอย่างไทย ต้องยกนิ้วให้ "โครงการหลวง..."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท