Learning Organization : หัวส่าย หางกระดิก (The Conductor)


เมื่อก่อนเราเคยได้ยิน "ไวทยากร (Conductor)" ระดับโลกของไทยเล่าถึงการแข่งขันการชิงแชมป์ไวทยากรโลกว่า เวลาที่เขาแข่งขันนั้น จะให้ "ออเครสตร้า" วงเดียวกัน เล่นเพียงเดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนเพียงแค่ไวทยากรเท่านั้น

ตอนนั้นเราก็สงสัยว่า "ไวทยากร" มีบทบาทมากขนาดนั้นเชียวหรือ แค่ไปยืนกวัดไม้ ไหวมือ จะทำสามารถทำให้คน ๆ เดิม วงออเครสตร้าวงเดิมที่เล่นเพลงเดิม ๆ เกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

แต่วันนี้เราเชื่อเพิ่งมาเข้าใจในคำพูดนั้น หลังจากที่กว่า 3 ปี คนที่เคยเป็นคุณหนูที่มักถูกเพื่อน ๆ แซวว่าทำอะไร "เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ" ต้องกลายมาเป็นทั้งกรรมกร ทั้งสัปเหร่อ มือนุ่ม ๆ ที่ไม่เคยด้าน ก็ต้องกลับมาก่ออิฐ ผสมปูน ตัดหิน แบกเหล็ก เราทำไปได้อย่างไร...?

และโดยเฉพาะในช่วงสามสี่เดือนที่ผ่านมานี้ เราต้องย้ายมาอยู่อีกที่หนึ่ง อยู่กับผู้บริหารอีกคนหนึ่ง ความกระตือรือร้น ความขยันขันแข็งที่เกินผู้ เกินคนของสามปีก่อนนั้น ก็ค่อย ๆ หายไป และ "หายไป"

ตอนนี้เรารู้สึกตัวเองว่าเริ่มจะเป็นคน "เฉื่อยชา" เฉิ่มไปเรื่อย ก็จึงต้องย้อนกลับมาที่คำถามเดิมว่าแค่เปลี่ยนผู้นำ หรือผู้บริหารจะมีนัยสำคัญต่อการทำงานของเราขนาดนี้เชียวหรือ...?

เหตุการณ์ทั้งทางด้านบวกและลบกับผู้บริหารหลาย ๆ ท่านที่เราได้มีโอกาสไปทำงานอยู่นั้นทำให้เรามีโอกาสได้ย้อนคิด พิจารณา และเก็บเกี่ยว "มัทธุรสวาจา" ในการบริหาร

บารมีของผู้บริหารนั้นเป็นเหตุและปัจจัยสำคัญในการสร้างหรือทำลายพลังในการทำงานของลูกน้อง

ปัญญาบารมีเป็นบารมีตัวเองที่นำมาเป็นที่หนึ่ง การรู้จักวางคน วางใจ รู้จักพูด จักจา คำหวาน คำชม วาจาที่สร้างมิตร ผูกมิตร และกระตุ้นมิตรให้สร้างสรรค์พลังในการทำงาน

ช่วงที่ทำงานนี้เราเฉื่อย เซ็ง เพราะผู้บริหารอวดฉลาดมาก พูดว่าตนเองรู้ไปหมด เก่งไปหมด การพูดแบบนี้ลูกน้องเซ็ง ถ้าเก่งนักก็ "ทำเอง..."

หรือในช่วงปีก่อนที่มีคนงานมาทำงานกับเรา ตอนแรกเขาขยันมาก ตอนหลังเขาเริ่มขี้เกียจ อู้งาน ไม่เต็มที่กับการทำงาน ตอนแรกเราก็นึกโทษเขา นึกว่าเป็นอุปนิสัยที่ไม่ดีของเขา วันนี้เรามาเข้าใจแล้วว่าที่จริงมันเป็นเพราะเรา ที่เรามัน "ไม่ได้เรื่อง..."

ผู้บริหารควรฉลาดในเวลาที่ต้องฉลาด ควรเลือกที่จะแกล้งไม่ฉลาดในเวลาที่มอบหมายงานลูกน้อง

การรู้จักใช้แต่กำลังของตนเองนั้นถือได้ว่าเป็นผู้บริหารชั้นต่ำ

การรู้จักใช้กำลังของของอื่นนั้นถือได้ว่าเป็นผู้บริหารชั้นกลาง

และผู้บริหารคนใดรู้จักใช้สมองของคนอื่นนั้นถือได้ว่าเป็นผู้บริหารชั้นสูง

หัวดี หางดี หัวส่าย หางกระดิก

ผู้บริหารมีคุณธรรม ลูกน้องก็พร้อมที่จะทำงานอย่างถวายหัว ผู้บริหารเห็นแก่ตัว ลูกน้องก็หน้ามืด ตัวเมา หลงลู่ หลงทาง...

หมายเลขบันทึก: 352721เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2010 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

     *   บารมีของผู้บริหารนั้นเป็นเหตุและปัจจัยสำคัญในการสร้างหรือทำลายพลังในการทำงานของลูกน้อง

      ขออนุญาตเสริมครับ 

     บารมี  คือ  

    *   การสร้างคนอื่นให้เก่ง

    *   การให้   ให้ความรัก  ให้อภัย   ให้โอกาส

                    ขอบคุณบันทึก เรื่อง การบริหาร ที่มีคุณค่าครับ 

บารมีของผู้บริหารคือการสร้างตนเองให้เป็นคนดี มี "คุณธรรม"

ผู้บริหารถือเป็นผู้นำ เป็นเหตุ เป็นปัจจัยหลักในการนำทางของ "องค์กร"

ผู้บริหารดี ลูกน้องดี องค์กรดี

ผู้บริหารเลว ลูกน้องเลว องค์กรเลว

ผู้บริหารที่เลวย่อมสร้างให้องค์กรที่ดีไม่ได้ฉันใด ผู้บริหารที่ดีย่อมไม่สามารถทำให้องค์กรตกต่ำได้ฉันนั้น...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท