เครื่องฟักไข่ราคาประหยัด?ไม่ลองไม่รู้


ไอเดียดี แต่...ต้องทดสอบก่อน มีข้อจำกัดอะไรบ้าง

วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓ ผู้เขียนไปรดน้ำดำหัวสูมาคารวะผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านปล้องอำเภอเทิง  บ้านตาจันทร์ ชึ่งตอนนี้อาศัยกับหมอจรูญ อุตุภรณ์ ปศุสัตว์อำเภอเทิง เดินแวะผ่านจะเข้าห้องน้ำเจอถังน้ำแข็งสีส้มแปลกๆน่าสงสัย  ก็สอบถามหมอจรูญก็ได้ความว่า..เป็นไอเดียของเจ้าหน้าที่สัตวบาลที่ทดลองทำตู้ฟักไข่ดูยังไม่ทราบผลแน่นอนในการฟัก ไม่อยากให้ชาวบ้านเข้าใจผิดในคุณภาพ ก็เอามาทดลองที่บ้านก่อน ทิ้งไว้ที่สำนักงานไม่มีคนดูแล ต้องพิสูจน์ก่อนว่ามีข้อดี ข้อด้อยอะไรบ้าง ไม่มีปัญหาค่อยทำให้ชาวบ้านต่อไป

แบบแรกเป็นถังพลาสติกขนาด กว้าง๕๐ ยาว๖๐ สูง ๕๐ เซนติเมตร รองโฟมข้างในเพื่อรักษาอุณหภูมิ

แบบที่สองเอาถังน้ำแข็งมาพลิกตั้งแบบตู้เย็นเจาะรูใส่อุปกรณ์ที่ให้อุณหภูมิ คือหลอดไฟฟ้า แทอร์โมมิเตอร์ เครื่องตัดไฟตามอุณหภูมิ และถาดใส่ไข่เข้าฟัก

และถาดใส่ไข่เข้าฟัก

สรุปขั้นตอนการจัดการฟักไข่ไก่(ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์)

          1. คัดเลือกไข่ไก่ที่จะเข้าฟักให้มีขนาด 50-65 กรัม มีรูปร่างไข่ปกติผิวเปลือกไข่เรียบ สม่ำเสมอ เปลือกหนาและไม่บุบร้าว

          2. รมควันฆ่าเชื้อก่อนนำเข้าห้องเก็บไข่ทุกๆ ครั้ง หลังจากข้อ 1

          3. เก็บรวบรวมไข่เข้าตู้ฟักทุกๆ 3-7 วัน ด้วยอุณหภูมิ 60-65 องศาF ความชื้น 75-80% หรืออุณหภูมิตุ้มเปียก 68 องศาF

          4. กลับไข่ในห้องเก็บไข่ทุกๆ วันๆ ละ 1 ครั้ง โดยการขยับถาดไข่ให้โยกเล็กน้อย หรือขยับถาดพอที่จะทำให้ไข่เคลื่อนที่จากที่ๆ อยู่เดิม

          5. ก่อนนำไข่เข้าตู้ฟักให้นำไข่ออกจากห้องเย็นผึ่งอากาศในอุณหภูมิห้องไม่น้อย กว่า 12 ชั่วโมง หรือหนึ่งคืนก่อนนำเข้าตู้ฟัก

          6. เดินเครื่องตู้ฟักไข่ก่อนนำไข่เข้าตู้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง และตั้งอุณหภูมิและความชื้นดังนี้

อายุการฟักไข่
อุณหภูมิ
ความชื้น
องศา C
องศา F
%RH
ตุ้ม เปียก

1-18 วัน
18-21 วัน
37.77
37.2
100
99
60
61-65
84
86-88
องศาF
องศาF


          7. รมควันฆ่าเชื้อโรคอีกครั้งหนึ่งหลังจากจัดไข่เข้าตู้ฟักเรียบร้อยแล้ว โดยใช้ด่างทับทิม 17 กรัม+ฟอร์มาลีน 40% 30 ซีซี. ต่อปริมาตรตู้ฟัก 100 ลูกบาศก์ฟุต ขณะที่รมควันให้ปิดช่องอากาศเข้า-ออก และฝาตู้ฟักทั้งหมดเป็นเวลา 20-25 นาที จากนั้นจึงเปิดฝาตู้และช่องอากาศ และเดินเครื่องอีก 30 นาที เพื่อไล่ควันพิษออกให้หมดก่อนที่จะดำเนินการเดินเครื่องตามปกติ

          8. ปรับรูอากาศเข้าและรูอากาศออกตามอายุของไข่ฟัก ไข่ฟักอายุ 1-8 วัน ปรับรูอากาศเข้าให้เปิด 1 ใน 3 รูอากาศออก 1 ใน 2 และไข่ฟักอายุ 18-21 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เตรียมลูกไก่ออกให้เปิดรูอากาศเข้าและออกเต็มที่ ในกรณีที่เปิดรูอากาศออกเต็มที่แล้ว ทำให้ความชื้นต่ำกว่าที่กำหนดในมาตรฐานให้ปรับรูอากาศออก 3 ใน 4 และเพิ่มถาดน้ำในตู้ฟักไข่ให้มากขึ้น

          9. เติมน้ำในถาดใส่น้ำอย่ให้ขาดและตรวจสอบกับอุณหภูมิของปรอทตุ้มเปียกให้ได้ 84-86 องศาF ถ้าหากอุณหภูมิต่ำกว่านี้ให้เพิ่มถาดน้ำให้มากขึ้นจนได้อุณหภูมิตามต้องการ

          10. บันทึกอุณหภูมิและความชื้นทุกๆ วันๆ ละ 2 ครั้ง คือ เวลาเช้า 7.00-8.00 น. และบ่าย 14.00-15.00 น. บันทึกลงในสุมดปกแข็งสำหรับใช้กับโรงฟักไข่โดยเฉพาะตามแบบฟอร์มและเปรียบ เทียบกับมาตรฐาน

 

หมายเลขบันทึก: 352020เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2010 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เข้าใจคิดและสร้างสรรค์นะคะ ประหยัดดี

สนใจมากครับ ไอเดียบรรเจิดมาก ถ้าได้ผลดีก็นำมาเล่าบ้างนะครับ

ผมกำลังมีโครงการ เพิ่มแม่ไก่จาก 20 เป็น 50 ตัว ครับ อยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกไก่สาว

ถ้าได้ผลจะทำตาม ประหยัดค่าตู้ฟักดี .....ตื่นเต้นจัง.....อยากเห็นผลเร็วๆ

ขอบคุณคุณประกายและคุณนิตที่ติดตามกันครับ ก็ดีใจ ยินดีที่จะพยายามติดตามมาเล่าแลกเปลี่ยนกันครับ

ขอแสดงความยินดีด้วยครับทำให้ไม่เปลืองเงินแบบพอเพียง

ขอเป็นลูกศิษได้ไมครับ

ช่วยแนะนำการเพิ่มความชื้น  และลดความชื้น  นอกจากวิธีการเพิ่มขนาดถาดน้ำ และลดถาด

อากาศเข้าออกเกี่ยวหรือไม่  บางครั้งทำทุกวิธีแล้ว  ความชื้นก็ไม่ขี้นเลย  ขอขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท