Trip ไปเนปาล (วันที่สี่)


นานาก๊อต

วันที่สี่ (ตื่นตีห้าอีกแล้ว)

       เีรายังอยู่บนเทึอกเขาหิมาลัย แต่วันนี้เป็นด้านตะวันออก ซึ่งควรจะได้เห็น ยอดเขา Everest ซึ่งเป็นมงกุฎของโลก ที่ NIVA NIVA ที่นานาก๊อด อากาศดีมาก มองจากเตียงนอนก็เห็นวิวที่สวยงาน (แต่ไม่เห็นยอด Everest อีกแล้ว สภาพอากาศไม่อำนวย) ณ จุดนี้ไกด์บอกว่าจะได้เห็นอีก5 ยอด (สรุปไ่ม่เห็นสักยอด ต้องบิน Mount Flight อีก 160 US) เก็บภาพอื่น ๆ ความสวยงานรอบ ๆ  

       เมื่อชืนชมความงานของพระอาทิตย์ขึ้น ลงมาทานข้าวต้ม ซึ่งไกด์เตรียมไข่เค็ม และ ผักกาดดองมาจากเมืองไทย พร้อมซุปญี่ปุ่น และอาหารท้องถิ่น 

       ขาลงจากนานาก๊อต เป็นไหล่เขา เขาลูกนี้จะว่าไปสวยกว่าเส้นทางไปโภครา ไหล่เขายังมีต้นข้าวโอ๊ตเหลือให้เห็น ใช้เวลาเดินทางประมาณ ชั่วโมงเศษ ถึงเมืองปัคตาปูร์  เมืองนี้ใช้เวลาเดินชมประมาณ สองชัวโมงครั้ง ปัคตาปูร์เป็นหนึ่งในเมืองหลวงเก่า มีชื่อเสียงด้านการแกะสลักไม้ ปักตาปูร์ เป็นเมืองมรดกโลก รูปแบบของเมืองจะมีจัตุรัส ประมาณ 4 จุด ซึ่งเป็นจุดที่มาแลกเปลี่ยนค้าขาย หรือ จัดงานประเพณี ตามแต่กรณี ปัคตาปูร์ยังเป็นเมืองจำลองในฉากของภาพยนต์เรื่อง Little Buddha

        ระหว่างเดินเข้าไปปัคตาปูร์จะผ่านที่อยู่ของกุมารีของเมืองปัคตาปูร์ ตำนานของกุมารี เท่าที่ไกด์เล่าเหมือนว่ากษัตริย์ทำผิดและต้องการไ่ถ่โทษ พระเจ้า (จำไมไ่ด้) บอกว่าไปให้บูชากุมารีแทน กุมารีจะเป็นเด็กผู้หญิงอายุราว 3-4 ปี กุมารีจะไม่สามารถออกไปใหนได้ และเท้าไม่สามารแตะพื้นดินได้ ตำแหน่งกุมารีจะหมดลงเมื่อเด็กหญิงเรื่องมีประจำเดือน หรือ กษัตริย์สวรรคต จะทำการเลือกใหม่ ในอดีตจะเลือกจากตระกูลศากยะ ปัจจุบันเด็กหญิงที่ได้รับเลือก ทางการจะมีการจัดการศึกษาให้ และเหมือนหมดวาระก็จะมีเิงินขวัญถุงให้  

       จัตุรัสที่สำคัญชื่อว่า จัตุรัสปัคตาปูร์ดูร์บาร์ (Bhaktapur Durbar) ซึ่งเป็นจัตุรัสแรก (ถ้าเข้าจากด้านหน้า แต่ทัวร์เราเข้าด้านหลัง) มีประตูทองคำ Golden Gate และพระราชวัง 55 พระแกล ลายหน้าต่างและประตูดูคล้าย ๆ กัน ส่วนที่เป็นบานหน้าต่างเหมือนเป็นการสานไม้หวายสลับกัน (ในความเห็นคิดว่าไม่สวย เพราะมีลายเดียว) แต่ส่วนของขอบหน้าต่าง หรือ ประตู และบริเวณไม้ค้ำหลังคา (ไม่รู้ใช้คำถูกหรือเปล่า) จะมีรูปของพระศิวะบางต่าง ๆ หรือ พระ (จะปรับปรุงที่หลัง จำไม่ค่อยได้) 

        ได้มีโอกาสเข้าไปในบริเวณภายในของราชวัง เห็นบ่อทรงน้ำ อีกส่วนที่เข้าไม่ได้ และห้ามถ่ายรูป มีทับหลังที่มีลวดลายละเอียดและวิจิตรมาก 

        ศาลารายรอบบางศาลามีรูปสลักกามสูตร ลูกทัวน์ดูกันใหญ่ หลายคนยังมองไม่ออก 

        ตามโปรแกรมเราต้องเห็นระฆ ังหมาเห่า ไม่รู้พลาดไปตอนใหน แต่เราเห็นระฆังใบใหญ่อยู่เยื้อง ๆ กันประตูทองทำ 

        จัตุรัสที่สองที่ (หรือที่สาม กรณีเดินจากหลัง) ... (ไปหารายละเอียดก่อนจำรายละเอียดไม่ได้) มี

         วันนี้อาหารกลาวันเป็นอาหารจีน เสียดายจังแอร์เสีย นั่งกินกันร้อนๆ อ้อลืมบอกไป นำ้แข็งเป็นอะไรที่หายากมาก และไม่มีบริการ อาหารส่วนใหญ่ ผัดผัก ดูจะดีที่สุด มีซุปเป็นจานแรก ไก่ผัด ถั่วผัด และ มะเขือผัด (ไม่แน่ใจว่ามื้อนี้มีปลาหรือเปล่า) และที่ขาดไม่ได้คือไข่เจียว แต่ร้านนี้เจียวแฟบ ๆ  แต่นำพริกกุ้งคลุกข้าวอร่อยที่สุด 

          ก่อนเที่ยวเมืองปาต้น ทัวร์แวะเมืองกีระติปูร์ (Kirtipur) ตามคู่มือบอกว่าเป็นเมืองที่เป็นแคว้นอิสระ มีกษัตริย์ปกครอง ราว 700 ปี ยังมีซากเมืองให้เห็น (แต่เราไม่เห็น) เมืองนี้หางจากกัฐมัณฑุ 8 กิโล เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย Tribhuwan เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของรัฐ เนปาลมีมหาวิทยาลัยของรัฐ 2 แห่ง เทียบกับประชากร 27 ล้าน และประชากรอยู่ในเมืองหลวงประมาณ 5 ล้านเศษ ในโปรแกรมบอกจะมีวัดฮินดูตามไหล่เขา (ไมได้ไปดู แต่ไม่รู้สึกเสียดายแล้ว เพราะดู ๆ เหมืิอนกัน และไม่ค่อยสะอาด) ทัวร์เราได้แวะไปวัดไทยกีร์ติภวัน ที่สมเด็บพระญาณสังวร สามเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้เสร็จประกอบพิธิเปิด และวัดแห่งนี้ได้รับกฐินหลวงในปี 2551 (ใครจำได้ช่วยบอกด้วย) ที่วัดมีการจำลองพุทธสังเวชนียสถาน ถามไกด์บอกไม่มีพระจำวัด และมีคนดูแล

          จะบอกว่าเป็นขอทานหรือเด็กก็ไม่แน่ใจ ดูเด็ก ๆ จะขอลูกอมจากนักท่องเที่ยว ใครไปเที่ยวจะเอาขนมไปฝากก็ไม่เลวนะ เด็กที่นี้ไม่ค่อยได้กินขนมมากนัก  

          จุดต่อไปค่อเมืองปาตัน (Patan) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ลลิตาปูร์ (ถ้าจำไม่ผิด ปูร์แปลว่าเมือง) ถือเป็นเป็นเมืองที่ไม่ห่างกันมากกับปัคตาปูร์ และห่างจากกัฐมัณฑุเพียง 5 กิโล (ปัคตาปูร์ห่างจากกัฐมัณฑุ 15 กิโล) ตามประวัติศาสตร์กษัตร์ย์ ... มีลูก 4 คน ให้แต่ละคนไปสร้างเมืองเอง โดยสามเมืองที่มีการกล่าวถึงในโปรแกรมท่องเที่ยวก็คือ กัฐมัณฑุ ปาตัน และ ปัคตาปูร์

            ตามข้อมูลการท่องเที่ยว ปาตัน  เป็นเมืองพุทธศาสนา เริ่มสร้างในสมัยจักรพรรดิอโศกมหาราช แต่จุดแรกที่ทัวร์พาไปชมน่าจะเป็นวัดของฮินดูมากกว่า เพราะมีใส้วัวแห้งแขนหน้าวัด วัดนี้ยังมีการทำพิธีทางศาสนา 

            ความงดงามก็คงไ่ม่พ้นตัวพระราชวัง ซึ่งสร้างด้วยอัฐแดง (เหมือนทั้งหมด) และขอบประตู หน้าต่างจะเป็นไม้ แกะสละ เมืองนี้มีตำนานว่ากษัตร์ย์จะตายก็ต่อเมื่อ นก (หรือ กาจำไม่ได้) ออกไข่ ช้างที่ตั้งหน้าศาลา ... เดินลงไปอาบน้ำ เรื่องที่สาม (จามข้อมูลมาปรับให้) 

             ตรงข้ามพระราชวังจะมีศาลา (ไม่ค่อยแต่จะว่าจะเรียกศาลา หรือ วัดดี) ที่สร้างและสลักจากหินทั้งก้่อน (จะเชื่อก็ได้) ดูศาลาเป็นหินสีเขียว ๆ 

             เมื่อชมความงามของปาตัน แล้ววัดสุดท้ายที่จะไปคือ โกลเดนเทมเปิล (Golden Temple) เดินไปประมาณ 5 นาที เป็นวันพุทธที่ใหญ่ที่สุดในปาตัน ภายในวัดมีพระพุทธรูปทองคำ ซึ่งก็มีการติดตั้งประดูใส่กุญแจป้องการการโจรกรรม ถ้าจำไม่ผิด ไกด์บอกว่าเป็นที่จัดเก็บพระธรรมคำสอน ไม่แนใจว่าบันทึกบนใบลานหรือเปล่า 

             อาหารเย็นในวันนี้เป็นอาหารไทย ร้านอยู่บริเวณทาเมล อาหารประกอบด้วยไข่เจียว (ถือได้ว่าเจียวได้อร่อย) ต้มยำ (ไม่เห็นกุ้ง) แพนงเนื้อ ยำวุ้นเ้ส้น ผัดผักรวมมิตร และตบท้ายด้วยไอสครีม 

             ตบท้ายด้วยการเดินออกกำลังดูร้านรวงบริเวณเทเมล เรามีโอกาสไปร้านซุปเปอร์ในเมืองนี้ด้วย

 ่            วันนี้เป็นวันหนึ่งที่รู้สึกว่ามาถึงเนปาล การเที่ยวเืมืองนี้เราสงสัยมาก สถาปัตยกรรมเหล่านี้อยู่ได้อย่างไร เป็นร้อย ๆ ปี มีทั้งที่เป็นไม้ (ไม้่ที่ำนำมาใช้มาจากต้นสาละ) พยายามถามไกด์หลายครั้งว่าเคยถูกทำลาย หรือ ถูกไฟไหม้หรือไม่ แน่แปลกใจไกด์บอกว่ามีความเสียหายบางส่วนจากแผ่นดินไหวเท่านั้น

             ทำให้เราต้องย้อนมาดูเหมืองหลวงเก่า ๆ ของไทยที่เหลือจะเป็นเพียงซาก เช่นอยุธยา ได้ขึ้นเป็นเมืองมรดกยูเนสโก เนปาลไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร ลืมถามไปว่าเมืองที่นี้มีปัญหากับเมืองใดหรือไม่ เมืองต่าง ๆ ยังอยู่ครบ ไม่แน่ใจว่าอีก 10 ปี จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ แต่ย้อนกลับดูไทย เพราะเราต้องทำศึกกับพม่า แต่สุโขทัยต่ออยุธยา จำไมไ่ด้แล้วเราแพ้พม่าอีกหรือไม่ ตอนนี้ไม่ต้องพูดถึงพม่ากับไทย ไทยเราพัฒนามาเยอะมาก 

              แต่การเสียกรุงที่ทำให้อยุธยาล่มสลาย พม่าเผ่าเมืองจนเหลือแต่ซาก ก็เพราะไทยเป็นใส้ศึก ตอนนี้เราคงไม่ต้องเสียบ้านเมืองให้พม่า แต่ที่ทะเลาะอยู่ตรงนี้เพื่อใคร เราดีใจมากนะ ที่กษัตริย์เป็นนักพัฒนา โครงการต่าง ๆ ถูกกระตุ้นด้วยพระมหากษัตริย์ไทย แต่คนไทยกำลังลืมรากเหงา เราไม่รู้ว่าตอนนี้เราทะเลาะกันเพื่อใคร แต่ที่รู้ตอนนี้คือเรารู้สึกเป็นหนี้แผ่นดิน หนี้ในหลวงของเรา แล้วพวกเราจะหยุดคุยกันได้หรือไม่ .... 

หมายเลขบันทึก: 351734เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2010 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท