รู้เขารู้เรารบร้อยครั้งก็ชนะ


เพลี้ยกระโดด

   เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (brown planthopper)

เป็นแมลงจำพวกปากดูด 

อันดับ Homoptera

วงค์ Delphacidae

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal)

ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ รูปร่างมี 2 ลักษณะ คือ ปีกยาว (macropterous form) และปีกสั้น (bracrypterous form) สามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7-9 วันตัวอ่อนมี 5 ระยะ คือลอกคราบ 5 ครั้ง เป็นระยะตัวอ่อนประมาณ 16-17 วัน เพศเมียชนิดปียาววางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 generation ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าวทำให้มีอาการใบเหลือง แห้ง คล้ายถูกน้ำร้อนลวก อาการนี้เรียก hopper burn นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำไวรัสมาสู่ต้นข้าวทำให้เกิดโรคเขียวเตี้ย และโรคจู๋ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 350393เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2010 14:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท