WHAปี53 ( 4 ) การประชุมเตรียมทีมในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก(WHA)ครั้งที่63/2553


7-4-53

 ดิฉันได้จัดประชุมเตรียมทีมในการประชุมเข้าร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลกครั้งที่63ซึ่งเราจัดก่อนที่จะไปประชุมกับทีมกระทรวงสธ.ค่ะ    ดิฉันไม่ได้เข้าช่วงเช้าแต่มาเข้าช่วงบ่ายจึงขอนำส่วนที่น้องๆถอดเทปมาบันทึกไว้ค่ะ

 

(ร่าง)

สรุปประชุมเพื่อเตรียมข้อมูลก่อนการประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก(WHA)  

สมัยที่ 63 วันที่ 19 มีนาคม 2553 เวลา 09.00-16.00 น. 

ณ ห้องประชุมกองการเจ้าหน้าที่ อาคาร 3 ชั้น 4

ผู้เข้าร่วมประชุม

1.นายแพทย์ศิริศักดิ์            วรินทราวาท         รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

2.นายแพทย์สมศักดิ์           อรรฆศิลป์             รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

3.นายแพทย์ภาสกร            อัครเสวี                 ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา

4. นางสาวนิพา                   ศรีช้าง                   แทนผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ

5.แพทย์หญิงปิยนิตย์          ธรรมาภรณ์พิลาศ แทนผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

6.ดร.นลิณี                            ศรีพวง                   แทนผู้อำนวยการสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ

และสิ่งแวดล้อม

7.นางสาวนภา                     วงษ์ศิลป์                แทนผู้อำนวยการสำนักโรคเอดส์ วัณโรค

และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

8.แพทย์หญิงศรีประภา     เนตรนิยม             แทนผู้อำนวยการสำนักวัณโรค

9.สัตวแพทย์หญิงดาริกา    กิ่งเนตร                                 ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่

10.แพทย์หญิงอัจฉรา         เชาวะวณิช           ผู้จัดการโครงการTalent Management

11.นายแพทย์นคร              เปรมศรี                 นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

12.นายแพทย์เฉวตสรร      นามวาท                นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา

13.นายแพทย์ไพโรจน์       เสาน่วม                 นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ             

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดนครสวรรค์

14.นางบงกช                       กำพลนุรักษ์          นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ กองการเจ้าหน้าที่

15.นายธีรวิทย์                      ตั้งจิตไพศาล         นักวิเคราะห์นโยบายและแผน             กองการเจ้าหน้าที่

16.นายภิภพ                         กัณฑ์ฉาย               เจ้าพนักงานคอมพิวเตอร์                      กองการเจ้าหน้าที่

17.นางสาวดวงภาณิชา      สุขพัฒนนิกูล       ผู้ประสานงานโครงการTalent Management

18.นางสาวฐานีย์                 อุทัศน์                    เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป โครงการTalent Management 

เปิดประชุม 09.00 น.

เปิดการประชุมโดยรองอธิบดี นพ.  ศิริศักดิ์   วริทราวาท

นพ. นคร  เปรมศรี   .แจ้งที่ประชุมว่าในการประชุมวันนี้เป้นเรื่องที่ผู้แทนกรมจะรู้ว่าจะขอข้อมูลเรื่องที่เกี่ยวกับการประชุมกับใคร          เป็นโอกาสดีที่มีการพบกันและจะเก็บข้อมูลสำหรับการประชุมWHAต่อไป    ต่อไปกรมคร. อาจต้องยุ่งเกือบทุกเรื่อง       ในระยะยาวกรมคงต้องดูเรื่องNCDด้วย       ในทุกปีผู้แทนกรมจะต้องแสดงความคิดเห็น          การทำได้ดีต้องมีความรู้        ที่ผ่านมาอาจจะสอบถามได้บ้างไม่ได้บ้าง   การประชุมวันนี้เพื่อให้ความเห็นในเรื่องเกี่ยวกับagendaซึ่งอาจจะมีเพิ่มขึ้น        ในวันนี้มีทั้งหมด11เรื่อง

ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ความเห็นตามประเด็นต่างๆโดยสรุปได้ดังนี้

นายแพทย์นคร เปรมศรี ได้เข้าร่วมประชุม executive board (EB Board) จึงได้ร่างประเด็นที่สำคัญมาดังนี้

11.1 Pandemic influenza preparedness: sharing of influenza viruses and access to vaccines and other benefits

                สัตวแพทย์หญิงดาริกา (พูด)กล่าวว่า    ได้มีการประชุมหลายครั้งในเรื่องvirus sharing    เรื่อง เกิดขึ้นตอนที่อินโดนิเซียไม่ยอมแบ่ง เพราะจะมีปัญหาเรื่องการเข้าไปได้วัคซีน     บางบริษัทก็เข้าเรื่องนี้ไปเป็นpublic domand domain ?? demand      ไทยเรามีท่าทีที่เป็นห่วงและยินดีในการแบ่งเชื้อไวรัส       แต่H5N1ก็เงียบๆไปเพราะเริ่มเฉื่อยๆ       ไวรัสก็ยังไม่มีการกลายพันธุ์       ในเรื่องH1N1 ก็พยายามทำglobal stock ยาเพื่อให้มีการเข้าถึงวัคซีนได้ดีขึ้น      WHOให้บริษัทdonateด้วย        หลายบริษัทก็ทำสำเร็จแล้ว     แต่ไทยเราก็ยังไม่ได้ซื้อ   ตอนนี้มีข้อตกลงว่าทุกประเทศจะต้องแชร์ข้อมูลทั้งในคนและในสัตว์กับWHO       ส่วนในสัตว์ OIE ก็บังคับว่าจะต้องส่งข้อมูลรวมทั้งตัวไวรัสให้ไปแยก referent  เพื่อทำวัคซีน หรือยา และจะต้องมีการนำประเด็นไปเข้าWHO ทุกครั้ง

                ประเด็น  virus sharing   จะมีข้อขัดแย้งว่าถ้าประเทศไม่แชร์ ก็จะขัดต่อข้อตกลงเนื่องจาก ปี2010สถานะเป็นกฎหมายบังคับเลย ว่าต้องปฏิบัติตามทุกคน        อินโดนิเซียก็กลับลำลำบาก ถึงแม้อินโดนิเซียจะบอกว่ายินดีเข้าร่วม        ของไทยเราอาจจะต้องคุยกันหน่อย ถ้าเราไม่แชร์ปัญหาก็จะมา ถ้าแชร์ก็ต้องถามว่าจะแชร์เมื่อไร

                นพ.นครกล่าวว่าเราไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้เท่าไร เพราะว่าเราได้ประโยชน์ เพราะเราอยู่ในSupport ของWHO และเราก็เป็นหน่วยเก็บ  anti virus?? ด้วย        พอเราแชร์ออกไปมันก็จะกลับมาที่ประเทศเราอยู่แล้ว          ประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์       เราค่อนข้างได้เปรียบกว่าประเทศอื่นๆ จึงอยากขอความเห็นว่ามีเรื่องการจัดระบบอย่างไร       และการควบคุมโรคเรามีศักยภาพอย่างไร     เรามีgabgapอย่างไรว่าถ้ามีโรคตัวใหม่เข้ามาเราคิดว่าการเตรียมการป้องกัน     ในปัจจุบันของเราจะต้องเตรียมการอย่างไร

สพญ.ดาริกาบอกว่า        เรามีข้อมูลเยอะ    เราก้าวหน้ามากและมีความโปร่งใสมากไม่ว่าจะเป็นประเด็นIHR or virus sharing        เรามีศักยภาพที่จะช่วยประเทศอื่นได้      เดี๋ยวจะให้ข้อมูล       เรามีหลักฐานชัดเจนว่าจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ที่ชัดเจน   มีการดำเนินการ multisrctoral รวมทั้งnon-health เป็นตัวอย่างแก่ประเทศอื่น   gapเบื้องต้นคือ logistic  clinical  และปัญหาเรื่องinvestication   มีการตั้งต้น glabal stock pile   ด่านมีการพัฒนามากทั้งที่มีเจ้าหน้าที่คนเดียว   รับทุกโรคและต้องต้อนรับ   WHOอยากให้เราเป็นตัวอย่าง   เราทำมากแต่เหนื่อยมาก    ไม่อยาก show off มาก

นพ.ภาสกรเพิ่มเติมเรื่อง Law   SOP   และการ Coordinate ระหว่างกระทรวง    เรามีแต่   paper   Practicalใครเป็นคนสั่ง    คนสั่งอยู่ระดับใด    หลายประเทศ  ทำจริงๆยังไม่ได้ทำ 

11.2 Implementation of the International Health Regulations (2005)

นพ.ภาสกรกล่าวว่า ปีนี้อาจจะผลักดันIHRให้ไปไกล     ทราบว่าเค้าจะreport progress ของแต่ละประเทศ

จะเกิดแรงกดดันในประเทศที่ยังไม่ได้ทำหรือทำไม่ถึงเป้าหมาย      เค้าอาจจะถามว่าเราไปถึงไหน เรามีสถานทูตที่เจนีวา   อาจจะถามสถานทูต

1.เป็นกฎหมาย    จะถามportal of entry ก้าวหน้าแค่ใหน

2.การเตรียมการ เราไปถึงไหนแล้ว ไทยเราก็ก้าวหน้า      แต่ก็หยุดมาหลายเดือนแล้ว      เราต้องมีรายงานและมีSOP และต้องมีวิธีguaranteeQualantine??? อย่างไร    ถ้าเราไม่มีISO มันก็จะเป็นปัญหาว่ามีการแจ้งอย่างไร    จะมีขบวนการยังไง ทั่วโลกก็ยังไม่มีเหมือนกัน

3.เค้าจะเพิ่มในอนาคตว่ามีคนประสานงานในเรื่องการบริหารจัดการว่ามีความพ้อมที่จะทำงานทั้งหมดหรือไม่ co-ordinating mechanism       มีจุดประสานรวมว่าจะอัพเดทไหม       IHRจะมีการประเมินผล      ถ้ายังไม่พอก็จะevaluateว่าแต่ละประเทศไปถึงไหน      ถ้าเราจะไปรับอะไรมาต้องดูด้วยว่าเราทำได้มั้ย       เรื่องนี้จะไปเกี่ยวกับความสามารถของประเทศ        เช่นเราต้องประสานได้รวดเร็ว 24ชม.        ตอนนี้ที่ฟิลิปปินส์ก็เป็นระดับอธิบดี        แต่ไทยหรือเนปาล เราเป็นระดับปฏิบัติการ       เราไม่ใช่policy        ฟิลิปปินส์จะเป็นกึ่งนโยบายกึ่งปฏิบัติการ       แต่ว่าไม่แน่ใจว่าWHOจะเพิ่มไปในระดับไหน     เช่น      ถ้าเกิดโรคระบาด เค้าจะให้ประเทศตอบไปบอก เช่นอหิวาต์          ถ้าเราไม่แจ้งเราผิดIHR        แต่ถ้าแจ้งไปญี่ปุ่นก็จะไม่นำเข้าอาหารจากประเทศไทย         เวลาเราประกาศไปในWHO ประเทศอื่นก็จะรู้เสมอ        เช่นปัตตานีไปเกิดในรอบ2 ก็จะถือว่าเป็น public health of  domestic concern          คือระบาดไปที่ตำบลต่างๆ เลยไม่ได้รายงานต่อWHO      ถ้าเราแจ้งจากสำนักระบาดวิทยา         แม้จะไม่??เป็นinformal แต่คนอื่นก็จะเข้าใจผิดว่าเป็นformal       เงื่อนไขแบบนี้WHO ก็พอรับได้        แต่ก็มีเรื่องที่จะบังคับคือ เมื่อใดก็ตามที่WHOจะrequest information ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร เราจะต้องให้ข้อมูลพร้อมการสอบสวนโรค ภายใน 24 ชม.      ถ้าเราไม่ให้คือเราผิดกติกาIHRทันที           ต้องช่วยดูกันด้วยว่าเค้าจะกดดันเท่าไร        ว่าจะกดดันทั้งโลกหรือเป็นบางภูมิภาค     บางประเทศเค้ามีobservation ไปแล้วเช่นอินเดียเป็นต้น       ซึ่งไทยเราได้แค่reviewเท่านั้น       พอIHRสำเร็จก็จะไปคุยเรื่องvirus sharing ต่อทันที

ดร.นลินีแจ้งว่า  chemical hazard ยังไม่บรรจุอยู่ในIHR

11.11 Tuberculosis control

 นายแพทย์นครกล่าวว่าอยากจะขอทราบว่าประเด็นที่ แปลญัตติจากEB board ถูกต้องหรือเปล่าและอยากทราบว่าประเด็นที่ประเทศไทยควรสนใจคืออะไร

นายแพทย์ไพโรจน์ขอความแนะนำเชิงระบาดวิทยาในเรื่องภาพรวมของประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรWHAให้ความสำคัญกับMDR  TBwithHIV   ยาที่ต่ำกว่าเป้าหมาย   ในMDRเราควรconcernเรื่องsystem

พญ.ศรีประภา     ตอบคำถามว่าเน้นในเรื่องdetection and management กล่าวว่าเน้นเรื่องTB HIV และMDR and XDR ซึ่งก็มีindicator ในระดับnational and global  แต่ไทยจะล้อไปตาม global    ภาพรวมก็จะมีindicator เรื่องของdetection and treatment success ซึ่งสากลตั้งไวในเรื่องของการป้องกัน 70% ประเทศไทยเรามีความก้าวหน้าในการทำLAb เวลาที่เราจะคำนวณ ตัวหารเราจะเน้นเรื่องคนที่มีการแพร่เชื้อ ตัวหารก็จะมีestimate ซึ่ง WHOจะมีestimateออกมาทุกปี เค้าจะมีสูตรในการหาตัวหารที่ระเอียดมาก เราทราบว่าไทยอยู่ในอันดับที่ 18     เค้าเอาข้อมูลของการสำรวจในช่วง 10ปี    ถ้าไม่มีเราก็จะไม่ใกล้เคียงความจริง เค้าก็คาดประมาณว่าจะมีcaseเท่าไรในปีข้างหน้า             ข้อมูลการสำรวจ ของประเทศไทย เรานั้นทำไว้นานแล้ว      ตอนนี้เราต้องใช้ค่าของwho ไปก่อน         การทำสำรวจก็คือการสำรวจประชากรจำนวน 100,000 คน เพื่อให้ได้reverentprevalence ??  ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น             มีส่วนทีไม่ได้รายงานให้เราก็มีเช่นโรงพยาบาลเอกชน แต่ที่มีข้อมูลอยู่นั้นเราก็เกิน 70%       อย่างพม่าที่ทำestimate เมื่อ 2ปีก่อนนั้นหากมาเทียบกับไทยในตอนนี้ %เรามากกว่า      ข้อมูลในตัวdetection นั้นยังpassiveอยู่      ไทยยังไม่ได้ทำactive (ยังทำactive HIV ในบางกลุ่ม) ???     บางประเทศที่มีการดูแลดีจะทำactive

 นพ.นครถามว่าหากในตอนนี้ Detection จะต้องเพิ่มเป็น 80 หรือ 90%แล้ว ถ้ามีคนเสนอมา เราจะสามารถทำได้มั้ยหรือไม่           

 แพทย์หญิงศรีประภาตอบว่า      ตอนนี้เราdetectionได้ 75% แต่success เรายังไม่ถึง     เรามีปัญหาเรื่องHIV แต่ก็ดีขึ้นมาเรื่อยๆ      ปัญหาคือdeath rate เรายังไม่ค่อยลด (ประมาณ 8-9%)     ในเรื่องการรักษาจะให้เกิน85%ก็ค่อนข้างยาก       ซึ่งมีประเด็นว่าdeath rate นั้นจะเป็นคนไข้TB ที่ตายหารด้วยคนไข้TBทั้งหมด เราไม่สามารถตัดคนไข้ที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุออกได้       position ในด้านdetection เราสู้ไว้ แต่success ถ้าประมาณ 82-83% อาจจะพอไหว 

           พญ.ศรีประภากล่าวว่าTB HIV ในระดับสากลนั้นจะมีเป้าหมายคล้ายกันคือเรื่องการป้องกัน TBในHIV และการป้องกัน HIV ในTB จะเป็นนโยบายสากลว่าผู้ป่วยTBทุกเคส จะต้อง call sellingcounselling ตรวจ HIV เพราะไทยมีHigh HIV              ในTB  reverentprevalence  HIV ในผู้ป่วยTB เราเกิน 5% คือ 17%        แต่เราไม่ใช้ VCT       เราใช้worldwide มีหลายคนว่ามันผิดจริยธรรม ว่าไปบังคับให้เค้าตรวจเลือด       ก็ต้องโน้มน้าวในเค้ายอมตรวจ       ตอนนี้เราตั้งไว้ว่าจะ 85% เราอยู่ที่ 87-88%    เราจะมีการscreen ในเคสHIV ว่ามีTBเท่าไร       เราจะใช้การถามคำถามก่อนว่าใช่หรือไม่ถึงจะไปinvestigate ปัญหาเรื่องTB อีกอย่างคือการให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วย2โรค       เราก็เซทsetไว้ว่ากี่%ในผู้ป่วยที่เป็นทั้ง2โรค          เราจะให้ยาต้านไวรัสเท่าไร       เราใช้ค่า CD4 ตอนนี้เราตั้งไว้ที่ 250

เซทไว้เมื่อ 2-3ปีก่อน เราก็ดูว่าผู้ป่วยควรจะได้เท่าไร       เราตั้งเป้าไว้ที่ 60%ของคนไข้ทั้งหมดน่าจะได้รับการรักษา       ซึ่งกว่า 70-80%นั้นมีค่าCD4 ต่ำกว่า 200          ปัญหาคือเราไม่ได้ตรวจCD4ทุกราย เป็นการเข้าถึงช้าก็จะไม่ได้ยาต้าน       เราอยากให้มีการเร่งรัดการตรวจด้วย แต่สปสช.ให้คนที่ติดเชื้อนั้นตรวจCD4ได้ปีละ 2ครั้ง       แต่ในเรื่องของความเป็นจริงนั้นไม่ได้ทำ เพราะเครื่องตรวจCD4ไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล คนไข้บางรายก็จะไม่ทราบในเรื่องของสิทธิ์นี้     เป็นปัญหาในการจัดการภายใน      เราตั้งไว้ 60%แต่ก็ได้แค่50%       ปัจจุบันเค้าจะปรับCD4 เป็น350 ว่าให้ได้ยาต้าน ซึ่งคนไข้TBส่วนใหญ่ 35% มีจากHIV ทางเราอยากให้ยาต้านแก่คนไข้TBในHIV ได้ทุกราย ปัญหาหลักก็คือในพื้นที่จะให้ยาต้านเมื่อคนไข้มีCD4 ต่ำกว่า 200 แต่เราต้องการจะให้ทุกราย ถ้าเค้าถามเราจะมีประมาณ 60-70%ที่ได้ยา   การใช้ยาCo-tri   คนไข้TB-HIVต้องได้ทุกราย   แต่ขณะนี้ได้70 เปอร์เซ็นต์    คนไข้TB-HIV 35  ??... ตายจากHIV

                MDR&XDR ไทยเราโชคดีที่labเราค่อนข้างจะพร้อม        SEARO ??     เราจะช่วยเหลือเพื่อนบ้างได้ดี ไทยเรามีnational centerที่สำนักวัณโรค      เราใช้เงินglobal fundช่วยในการพัฒนาด้วย   ในการทำการศึกษาในlab เค้าจะเน้นเรื่องป้องกันให้เร็วขึ้น      สคร.ทุกแห่งจะมีเครื่องที่สามารถตรวจได้    ส่วนระดับนานาชาติเราจะทำกลุ่มยาพื้นฐาน 4 ชนิด     เราก็จะดูว่าการdetection MBR MDR     ต่อไปก็จะดูการdetect second line ในXDR       แต่ในพื้นที่ยังทำไม่ได้ทำได้ในระดับnational        เราก็พยายามdevelop MBRMDR     ปัญหาเรื่องreport systemก็ยังมีอยู่เพราะกว่าจะวินิจฉัยได้

 นพ.นครถามว่าเรามีนวัตกรรมใดบ้างที่ได้ผลดีที่ช่วยเพิ่มโปรแกรม       พญ.ศรีประภาบอกว่าเรามีDOTให้ชุมชนดูแลโดยอาศัยอสม แต่เราก็ยังหาผู้สนับสนุนเงินได้โดยอาศัยเงินของglobal fund       และระดับสากลจะมีปัญหาเรื่องคุณภาพของยา ผลประโยชน์ไทยเราก็มีคือสามารถซื้อยาได้ในราคาถูก (Second line) เราพยายามจะให้ยา 2โดสต่อวัน ซึ่งเราใช้ยาจากบริษัทในไทย             เราทำแต่เราไม่ได้ผ่านเกณท์ GAP           หลักคือตัวDOT      เรื่องadmit มีแต่ญี่ปุ่นที่ทำชัดเจนว่าทุกเคสจะต้องเข้าโรงพยาบาล      แต่ต้องมีระบบเรื่องการควบคุมIC        แต่ไทยมีปัญหาว่ามันแออัด     เราจึงโปรโมทเรื่องcommunity แทน 

11.12 Viral Hepatitis

              จาก Point of consideration หัวข้อที่ 2 Hep A มันจะมีอยู่ในบางประเทศในด้านเอเชีย – แอฟริกา เป็นประเด็นในเรื่องการท่องเที่ยว, อาหารส่งออกจากประเทศเหล่านี้ได้ส่งHep Aไปด้วย      เช่นบริษัทส่งออกมันฝรั่ง ตอนนี้ก็มีการกดดันว่าทำไมในบางประเทศไม่ใช้วัคซีนในการป้องกัน       เป็น Issue ใหญ่ว่าวัคซีนมีความจำเป็นต้องใช้หรือไม่       แพทย์หญิงปิยนิตย์  ธรรมาภรณ์พิลาศ  หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน กล่าวว่า Hep A น่าจะพุ่งประเด็นไปทางด้านอาหารและน้ำโดย improve sanitation และผลักดันให้บุคลากรด้านสาธารณสุขฉีดวัคซี  Hep B       อาจจะเห็นผลในอนาคตอันใกล้เพื่อเป็น Guideline        ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของบุคลากร เราจะต้องผลักดันตรงนี้ แต่จะมีปัญหาด้านงบประมาณ

 11.13 Leishmaniasis

                นายแพทย์ภาสกร  อัครเสวี  ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า      สาเหตุจากแรงงานต่าง ๆ ในแอฟริกาและตะวันออกกลางมีเยอะ        พวกงานขุดเจาะน้ำมัน งานก่อสร้าง      คนเหล่านี้ก็จะได้รับเชื้อและกลับประเทศ        เช่นที่พิจิตรมี 2 ราย      เป็นเรื่องของการเดิทาง      WHOอาจจะบอกให้เรามาเฝ้าระวัง    คนงานไทยมีเป็นหลักพันที่ไปทำงานด้านการก่อสร้าง       เมื่อกลับมายังประเทศไทยอาจได้รับเชื้อกลับมาด้วย ทางเราต้องเน้นระบบการเฝ้าระวัง

11.14 Chagas disease: control and elimination

นพ.ภาสกร กล่าวว่าหัวข้อนี้ไม่ได้กดดันไทย แต่ กดดันแอฟฟริกา

11.15 Global eradication of measles

                นายแพทย์ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่าได้รับ E-mail เกี่ยวกับตอนนี้

มี international concern เนื่องจากมี เคสนักท่องเที่ยวเดินทางโดยเครื่องบินผ่านประเทศเราติดเชื้อ measles ประเทศไทยเป็นแหล่งใหญ่ในการติดเชื้อ           ตอนนี้สังเกตว่าธุรกิจสปาอาจเป็นแหล่งแพร่เชื้อเพราะมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ถึง6000 - 7000 คน/ปี จากเดิม 3000-4000 คน/ปี        และเกิดกับคนสูงอายุมากขึ้น      เวลาเกิด Measles ระบาดนานาชาติจะหาว่าเราละเลยที่จะดูแลคนต่างสัญชาติ อย่างเช่น ประชากรที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน ที่เข้าไม่ถึงวัคซีน        กลายเป็นว่าทางเราไม่ให้ความร่วมมือ      ประเทศไทยอาจโดนกดดัน

ส่วนในเรื่อง Comitment and policy direction on measles eradication program in Thailand  เรายังคง commit?  อยู่

นพ.ภาสกร กล่าวว่า WHOกล่าวหาว่าไทยเราละเลยที่จะดูแลคนที่ไม่ใช่คนไทยที่อยู่ตามแนวชายแดนและไม่เข้าถึงวัคซีน         ทำให้เป็นว่าไทยไม่ร่วมมือต่อประชากรโลกในการป้องกันวัคซีน

                นพ.นคร ให้ความเห็นว่าระบบการเฝ้าระวัง Measles มีแนวโน้มว่าจะเป็นทางเราที่ต้อง Verify ว่าเป็น Measles จริงรึไม่      ซึ่งมีจำนวนมาก    จะเป็นปัญหาทางLab     ประเทศไทยจะต้องตั้งรับในเรื่องนี้และเตรียมฐานในการ set  ระบบการเฝ้าระวังและบอกได้ว่าปีนี้เราทำอะไร       และในปีหน้าเราจะทำอะไรในการเฝ้าระวัง   เรื่องนี้พูดในSEAROมาก   กรมต้องพูดเรื่องนี้ในการประชุมกรม  

 

                นายแพทย์เฉวตสรร  นามวาท กล่าวว่า       ปัญหา measles ส่วนใหญ่ของภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในประเทศ อินเดีย ทำให้อัตราผู้ติดเชื้อในภูมิภาคนี้ไม่ลดลง       ประเทศไทยจึงต้องควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศและ concern ว่า measles ใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพิ่มขึ้นจากเดิมมากและมีอัตราตายสูง        เราจะต้องดูแลเคสตรงนี้

               แพทย์หญิงปิยนิตย์  ธรรมาภรณ์พิลาศ  กล่าวว่า Activity ในประเทศของเราเกี่ยวกับ measles ประเทศไทยมี Activity น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น        เราจะต้องพัฒนาในด้าน Lab, การระบาด, วัคซีน      ช่วงแรกจะหนักในด้านการเฝ้าระวัง ซึ่งจะหนักมากและยากมาก      ทางประเทศไทยคิดว่าควรจะมีนโยบายว่า ผู้ที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยหรือเข้ารับการเกณฑ์ทหาร จะต้องมีผลการตรวจ        แต่เรายังไม่ได้เริ่มต้นวางแผนในเรื่องนี้เท่าไร เพราะมีเรื่องอื่นสำคัญกว่า เช่น วัคซีน H1N1      แต่ควรจะเริ่ม start ในปีนี้

รองอธิบดี นพ สมศักดิ์   …..SEAROต้องset  elimination goal    ถ้าไทย set 2015  เราต้องมีpolicy direction แต่ละเรื่องซึ่งหลักการกรมสนับสนุนแต่ต้องมี  technical support   เรา committไม่ได้   ต้องทำ feability  study   ถึงเวลาก็ปรับแผน   ขอให้นักวิชาการคุยกันก่อน    นำเข้าที่ประชุมโดยรองสมศักดิ์   และจะส่งเรื่องมาที่สำนักต่อไป   ขอให้ช่วยทำalideให้2แผ่น   

 11.16        Smallpox eradication             

  นายแพทย์ภาสกร  อัครเสวี  ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหากับ Smallpox เท่าไร ซึ่งประเทศไทยมีท่าทีคือให้ทำลายเชื้อไวรัสทั้งหมด       อาจต้องรอการวิจัยและอนุมัติภายในปี 2010 และคาดหวังว่าจะทำลายเชื้อได้เมื่อไร       แต่ปัญหาก็คือ ประเทศสหรัฐอเมริกาจะกลัวในการแพร่กระจายของเชื้อ ที่อาจจะได้รับจากการก่อการร้าย จึงลงทุนผลิตวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่กลุ่ม High riskเช่น ทหาร ฯลฯ     ในปีนี้ประเทศสหรัฐอเมริกาจึงอาจจะรีรอเรื่องที่จะให้ทำลายวัคซีน       แต่ประเทศไทยไม่มีปัญหาอะไร

 ปิดประชุม            15.00 น.

                                                                                นส.ดวงภาณิชา สุขพัฒนนิกูล ผู้สรุปการประชุม

                                                                                นายธีรวิทย์            ตั้งจิตไพศาล ผู้สรุปการประชุม

                                                                                พญ.อัจฉรา           เชาวะวณิช   ผู้ตรวจการประชุม

                                                                    7เมษายน 2553

หมายเลขบันทึก: 350193เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท