การจัดประชุมสมาคมพืชสวนโลก AIPH Spring Meeting 2010ที่เชียงใหม่


ผลจากการจัดการประชุมครั้งนี้ พบว่าผู้เข้าร่วมการประชุมมีความพึงพอใจในการเตรียมความพร้อมของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นอย่างมากโดยเฉพาะจากการนำเสนอความก้าวหน้าของแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ให้สอดคล้องกับหัวข้อ GREENITUDE

จากมติที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นเจ้าภาพในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2554   ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 -วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ สวนหลวงราชพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่และจากมติที่ประชุม AIPH Congress  ครั้งที่ 61 ของสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ  (AIPH) ได้รับรองให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม  AIPH  Spring Meeting  2010 ระหว่าง วันที่ 25 – 27  มีนาคม 2553 ณ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง จังหวัดเชียงใหม่

      ในการจัดประชุม AIPH  Spring Meeting  2010 ครั้งนี้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูงในฐานะเจ้าของพื้นที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ได้รับผิดชอบการจัดนิทรรศการบริเวณหน้าห้องประชุม พร้อมทั้งจัดเตรียมนำเสนอความก้าวหน้าการจัดเตรียมพื้นที่เพื่อรองรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2554  และนำผู้เข้าร่วมการประชุมเยี่ยมชมพื้นที่ ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์รวมทั้งจัดงานเลี้ยงอำลาผู้เข้าร่วมประชุมด้วย

      การจัดประชุม  AIPH  Spring Meeting  2010 ครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งหมด จำนวน 111 คนประกอบด้วย ชาวต่างประเทศ จำนวน 36 คน ได้แก่ ประเทศจีน  12 คน ประเทศเกาหลีใต้  6 คน ประเทศเนเธอร์แลนด์  5 คน ประเทศญี่ปุ่น  1 คน ประเทศอินโดนีเซีย  1 คน ประเทศสารณรัฐไต้หวัน  3 คน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  1 คน ประเทศตุรกี  4 คน ประเทศสเปน  2 คน และประเทศฮังการี  1 คน สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมชาวไทยมี จำนวน 75 คนโดยอุทยานหลวงราชพฤกษ์ได้จัดนิทรรศการแนะนำโครงการหลวงบริเวณหน้าห้องประชุมประกอบด้วยข้อมูลและภาพเกี่ยวกับการดำเนินงานของโครงการหลวงพร้อมกับการจัดตกแต่งด้วยพืชผักผลไม้และดอกไม้จากโครงการหลวงอย่างสวยงามนอกจากนั้นยังได้จัดทำ VDO Presentation นำเสนอความก้าวหน้าเกี่ยวกับความพร้อมของประเทศไทยในการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2554  มีรายละเอียดประกอบด้วยเนื้อหาที่สำคัญกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานคือเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่ง3 วโรกาส ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา  
สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ จะทรงมีพระชนมายุ 80 พรรษา และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร จะทรงมีพระชนมายุ 60 พรรษาและเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นศักยภาพของการพัฒนาพืชสวนของประเทศไทย ตลอดจนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรในระดับนานาชาติ ภายใต้แนวคิด “Greenitude: Reducing Global Warming to Save Planet Earth and to Improve the Quality of Life”

             จากนั้นได้นำเสนอโดยแสดงภาพให้เห็นถึงพื้นที่ 470 ไร่ ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ที่กำลังได้รับการปรับปรุงเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดมหกรรมพืชสวนโลกครั้งที่ 2 โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบตามแนวคิด Green Design เป็นหลัก  ภาพเน้นการเพิ่มพรรณไม้เพื่อให้เกิดความร่มรื่นและลดการใช้พลังงานทุกรูปแบบ  และแสดงภาพอาคารนิทรรศการหลังใหม่ ที่วางแผนการก่อสร้างเพื่อเป็นพื้นที่ไว้รองรับการจัดแสดงนิทรรศการในร่ม พื้นที่ 5,000 ตารางเมตร และพื้นที่เพื่อรองรับการจัดสวนของประเทศต่างๆ เพิ่มอีกไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ และภาพการเตรียมความพร้อมด้านการเพิ่มชนิดพันธุ์พืช ซึ่งจะทำให้พื้นที่มีพันธุ์ไม้มากกว่า 2,500 ชนิด   นอกจากนั้นยังกล่าวถึงกิจกรรมภายในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2554ที่ประกอบด้วย   กิจกรรมการเฉลิมฉลอง  และการจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจ  เพื่อเทิดพระเกียรติ แด่ 3 พระองค์   การจัดแสดงและประกวดสวนนานาชาตินอกอาคาร และในอาคารการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมจากนานาชาติและจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ การประกวดการจัดสวนกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ผัก และพืชสวนชนิดต่าง ๆ  การจัดแสดงและสาธิตเทคโนโลยีด้านพืชสวน  การจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และระดับประเทศ  กิจกรรมเสริมอื่นๆ ได้แก่ การจัดแสดง และจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร เมล็ดพันธุ์ และพันธุ์พืชต่างๆ การจัดแสดงแสง สี เสียง ในเวลากลางคืน (เช่น ไนท์พาเหรด) การจัดแสดงและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของไทยและนำเสนอแผนการดำเนินการปรับปรุงอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เพื่อรองรับการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2554

            ผลจากการจัดการประชุมครั้งนี้ พบว่าผู้เข้าร่วมการประชุมมีความพึงพอใจในการเตรียมความพร้อมของอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นอย่างมากโดยเฉพาะจากการนำเสนอความก้าวหน้าของแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์และอาคารสถานที่ให้สอดคล้องกับหัวข้อ GREENITUDE โดยการเพิ่มร่มเงา  การปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่มรวมทั้งแผนการจัดทำระบบน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย  ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจในการทะนุบำรุงสวนให้มีความสวยงามอย่างยั่งยืนเหมาะแก่การเป็น Learning Center สำหรับประชาชนและเยาวชน ตามเจตนารมณ์  ของสมาคมพืชสวนโลกต่อไป

หมายเลขบันทึก: 349545เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 13:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

จะเตรียมตัวไปเที่ยวค่ะ

ครั้งที่แล้วคนเยอะมาก

แต่สถานที่ก็สวยมากเหมือนกัน

ขอบคุณค่ะ ดีใจจัง มาเที่ยวสงกรานต์นี้เลยนะคะ

ทัศนีย์

....ดีใจมากๆกับข่าวนี้ เพราะจะได้ใช้ประโยชน์กับเนื้อที่ตรงส่วนนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด

ทั้งต่อคนในพื้นที่ คนทั้งประเทศและคนทั่วโลก!!!!

จะช่วยประชาสัมพันธ์ต่อๆกันไปในฐานะที่เป็นคนในพื้นที่....

ทำเพื่อส่วนรวม...นะคะ

ขอบคุณมากค่ะ มีข้อแนะนำหรืเสนอแนะอะไรเชิญได้เลยนะคะ

ทางAIPH เขาบอกว่าไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่ ไดรับเลือกให้จัดงานซ้ำเป็นครั้งที่2

ภายในระยะเวลาที่ห่างกันเพียง 5 ปี (ด้วยพระบารมีค่ะ)

เขาชื่นชมเรามากด้วยว่าเรายังรักษาสวนได้สวยเหมือนเดิม

และต้นไม้สวยมากกว่าเดิม(เพราะโตขึ้น)

ทัศนีย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท