Openwill : เก็บตกการอบรม Bioethics-why,what and how to teach


แม้เป็น Dilemma ก็ต้องมีข้อสรุปใน sceanario นั้น เช่นเดียวกับชีวิตจริง ซึ่งในที่สุดก็ต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

      ย้อนไปเมื่อ พฤศจิกายน ปีก่อนซึ่งฉันได้รับจดหมายเวียนว่าหน่วยแพทยศาสตร์ศึกษาของคณะจะมีการอบรม 5 ครั้งเฉลี่ยเดือนละครั้ง ได้แก่ การสร้างจิตวิญญาณความเป็นครู , small group teaching, Bedside and OPD teaching , การออกข้อสอบ MCQ,MEQ,OSCE และ ท้ายสุด How to teach medical ethics. ให้กับอาจารย์แพทย์ที่บรรจุปี 2550-2552 กึ่งบังคับให้ต้องเข้าไม่น้อยกว่า 75%..ก็อึ้ง ปีศาจร้ายในใจแอบบ่น "จะเอาอะไรกับพวกเรา (อาจารย์ใหม่) นักหนา..อีกอย่าง รู้ไปแต่ไม่มี power ก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี" 

  แต่เมื่อผ่านไปแต่ละ modules ก็พบว่า แม้หัวข้อจะดูเดิมๆ แต่ ความเป็นกันเองของวิทยากรและการจัดรูปแบบอบรมแบบ Interactive ทำให้เกิด "Change" ในพวกเราอย่างไม่รู้ตัว...
  ยกตัวอย่าง ฉันจำได้ว่า Module แรก บรรยากาศหนาวๆ พิกล แม้ส่วนมากฉันเคยรู้จักแทบทุกคน ด้วยเป็น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ แต่เมื่อแยกย้ายไปตาม specialist training ก็เกิด "Barier" ของความเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา 
  แต่เมื่อผ่านไป 2-3 module Barier นั้นค่อยๆ ละลายไป กลับไปเป็น เพื่อน พี่ น้อง ที่ตอนนี้เรามีหมวกใบเดียวกันอยู่อย่างหนึ่ง คือการเป็น " ครูแพทย์"

 Module ที่ฉันประทับใจที่สุด ก็ Module  สุดท้ายนี่เอง..ทำไมนะหรือ เพราะ สร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่อง Attitude ที่มีต่อเรื่อง Ethics อย่างมาก ต้องยก credit ให้กับ วิทยากร อาจารย์อานุภาพ เลขะกุล คะ..ทัศนคติที่เปลี่ยนไปได้แก่

1. ความเชื่อ : Bioethics คือ Dilemma แปลว่าไม่มีข้อสรุป ตัดสินใจยังไงก็ได้...แบบนี้ก็ง่ายนะสิ ในชั่วโมงปล่อยให้พูดถกกันไปเรื่อยๆ.
   ความจริง : ประเด็นของ Bioethics คือกระบวนการตัดสินใจอย่างมีหลักการ  ในสถานการณ์ที่บอกได้ยากว่าทำผิดหรือถูก หากไม่มีหลักการใดๆให้ยึดเลย จะเกิดภาวะ Moral distress..ดังนั้นในการยกกรณีศึกษาในชั่วโมง ethic:  แม้เป็น Dilemma ก็ต้องมีข้อสรุปใน sceanario นั้น  เช่นเดียวกับชีวิตจริง ซึ่งในที่สุดก็ต้องตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

  ...ความเชื่อนี้ สร้างความท้าทายเป็นแรงจูงใจ ในการสอน Bioethics ขึ้นมาก

2. ความเชื่อ : Bioethics เป็นเรื่อง common sense ดังนั้นถ้าใครมีคุณธรรมประจำใจ ก็ดีเอง ส่วนใครไม่มีก็ช่วยไม่ได้...อย่างนี้ให้ นศพ. เข้าค่ายคุณธรรมก็พอแล้วสิ..เรื่อง Medical law ยังมีผลกระทบมากกว่า
    ความจริง : Bioethics ( จริยธรรม -ความประพฤติดี) เป็นคนละสิ่งกับ Virtue ( คุณธรรม -แนวความคิดที่ดี)  จริงอยู่ว่าแม้ความคิดที่ดี นำไปสู่การประพฤติดีโดยธรรมชาติ  แต่ผู้ที่คุณธรรมอ่อนก็ยังสามารถเรียนรู้ถึงกฎ หลักเหตุผล ปรัชญา ให้ประพฤติดีในระดับที่สังคมยอมรับได้

...ประเด็นนี้ นักศึกษาแพทย์รับเชิญ ที่มาสะท้อนความต้องการของผู้เรียน พูดไว้อย่างน่าฟังว่า  หากทำให้จริยธรรมแยกไม่ออกจากเรื่องศาสนา เขาจะรู้สึกต้าน และคิดว่าเป็นเรื่องนอกหลักสูตร

 

คำสำคัญ (Tags): #bioethics
หมายเลขบันทึก: 349484เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เเวะมาเรียนรู้กับคุณหมอปัทค่ะ เเละมาอวยพรปีใหม่ไทยขอให้มีความสุขในวันสงกรานต์นะคะ ถึงเเม้จะผ่านมาเเล้วแต่กลิ่นอายยังคงคุกรุ่นอยู่ค่ะ สงกรานต์ที่เชียงใหม่คงสนุกนะคะ ส่วนพี่กุ้งกลับสกลนครค่ะพึ่งกลับมาเมื่อวานนี้เอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท