ปัญหาของรัฐธรรมนูญกับคนไทย


        ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหาในเรื่องการถกเถียงเพื่อให้แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญกันไม่จบไม่สิ้น ทั้งนี้ได้มีการให้คำนิยามตั้งแต่ยุคแรกของการปกครองว่า ชนชั้นใดเขียนกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น  เป็นเรื่องน่าแปลกว่าจริงๆแล้ว เรื่องของกฎหมายก็เป็นเพียงแค่ ข้อห้าม เพื่อไม่ให้ผู้คนปฏิบัติผิดกฎหมาย หากว่าผู้คนในสังคม ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ไม่ใช่สาระสำคัญว่ากฏหมายจะออกมาในลักษณะใด

        ประวัติการเขียนรัฐธรรมนูญของประเทศญี่ปุ่นนั้น จริงๆแล้วผู้ที่เขียนกฏหมายไม่ใช่ชาวญี่ปุ่น  หากแต่เป็นคณะทหารของอเมริกา โดยการลอกเลียนแบบสิ่งที่เห็นว่าดีของกฏหมายรัฐธรรมนูญของประเทศอเมริกา และเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้เวลาเขียนน้อยมาก หากแต่ประเทศญี่ปุ่นก็ใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ นั่นเป็นการพิสูจน์ได้ดีว่า กฏหมายไม่ได้มีความสำคัญมากไปกว่า ศีลธรรมประจำใจของคนในประเทศนั้นๆ เพราะถ้าทุกคนมีคุณธรรมมากพอก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฏหมายมาตัดสิน  เปรียบเสมือนกับการอยู่เหนือกฏหมาย  ในประเทศไทย มีผู้คนจำนวนไม่น้อยพยายามทำตัวอยู่เหนือกฏหมาย คือ กระทำการใดๆได้โดยไม่มีความผิด  แต่หลังจากที่ประชาชนมีความรู้มากขึ้น สื่อมีความเสรีมากขึ้น วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทันสมัยกว้างไกล  จนรั้งไม่อยู่ โอกาสในการทำความผิด หรือสามารถอยู่เหนือกฏหมาย น้อยลง ไม่สามารถทำได้ตามอำเภอใจเหมือนก่อน จึงเกิดสภาวะการณ์เรียกร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญบ่อยครั้งขึ้น หากมาพิจารณากันดูแล้ว มันไม่ต่างอะไรกับการทำตัวอยู่เหนือกฏหมายโดยมิชอบเลย เพียงแต่เราได้แก้กฏหมายอนุญาตให้ทำได้เท่านั้น 

        บางครั้งอดคิดไม่ได้ว่าในอนาคต เราจะเป็นกันเช่นไร หากคนไทยลืมคำว่า ศีล และ ธรรม อันหมายถึงข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติ   คนไทยเรามีศาสนาพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจกันมา 2000 กว่าปี ใยจึงปล่อยให้ความเจริญ มาทำให้สิ่งดีๆหายไป มนุษย์แยกของแท้กับของเทียมไม่ออกจริงๆหรือ........

หมายเลขบันทึก: 347946เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2010 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 18:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท