การบริหารเชิงกลยุทธ์ปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อประสิทธิภาพในอนาคต


สไตล์ ผู้บริหารที่ท่านต้องใช้ตามสถานการณ์ พ่อคนดี ผู้มีวิชา นักต่อสู้ ผู้จัดการทีม มากเล่ห์เพทุบาย

  

การบริหารเชิงกลยุทธ์ปฏิบัติการเชิงรุกเพื่อประสิทธิภาพในอนาคต

                     โดย พรชัย  ภาพันธ์
               ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
               อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

 

      ผู้บริหารไม่ว่าจะเป็นนักบริหารระดับใดก็ตามต่างมุ่งหวังที่นำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศท่ามกลางสภาพแวดล้อมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เป็นอุปสรรค ผู้บริหารจึงต้องเร่งปรับตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปัจจุบันสภาวะการแข่งขันในเชิงคุณภาพและการให้บริการที่มีความรุนแรง ผู้บริหารจะต้องแสวงหากลยุทธ์ในการบริหาร เพื่อให้เกิดคุณภาพทั้งองค์การ มีความอยู่รอด เจริญเติบโตและเกิดความเป็นเลิศ ท่ามกลางความแตกต่างทางความคิด ความรู้สึกที่ดีต่อวิชาชีพ การทำงานกับครูซึ่งเป็นผู้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง บางคนไม่ยอมรับอะไรง่ายๆ การหลอมรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวจึงคงเป็นเรื่องยาก ผู้บริหารสถานศึกษาปัจจุบันจึงมีสภาพเช่นเดียวกับคนขี่ม้าพยศ ที่เต็มไปด้วยพลังที่จะสร้างสรรค์ การบังคับม้าพยศให้เชื่องจึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับนักบริหาร

ความหมายของการบริหารเชิงกลยุทธ์

    การบริหารเชิงกลยุทธ์ หมายถึง การบริหารเพื่อการจัดการหรือการวางแผนที่มุ่งพิจารณาถึงทิศทางระยะยาวที่มีคุณภาพ ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานหรือองค์การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้

ขอบเขตของการบริหารเชิงกลยุทธ์

   การบริหารเชิงกลยุทธ์มีขอบเขตการบริหารที่สำคัญ ๓ ประการดังนี้
      ๑.  เป็นการมองกว้างโดยต้องมองสภาพแวดล้อมภายนอกกับสภาพแวดล้อมภายในสัมพันธ์กัน
      ๒.เป็นการมองไกลและมองลึก การมองไกลคือจะต้องสามารถคาดคะเนอนาคตข้างหน้า ทั้งระยะสั้น ระยะยาว รวมทั้งมองลึกเห็นชัดเจนถึงทรัพยากรโครงสร้างระบบงานคนทำงาน ประเพณีและวัฒนธรรมขององค์การ
      ๓. เป็นการพิจารณาในเชิงยุทธศาสตร์ โดยการวิเคราะห์ทางเลือกที่องค์การที่จะทุ่มเททรัพยากร ทำงานมุ่งไปสู่ความสำเร็จในโอกาสต่างๆอย่างดี เกิดการปฏิบัติตามแผนที่เป็นทางเลือกที่ชาญฉลาด เหมาะกับการแข่งขันก้างหน้าและตามทันสถานการณ์
การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีลักษณะงานที่ผู้บริหารต้องทำ ๒ ประการ ประกอบด้วย
    ๑.  การจัดวางกลยุทธ์ (Strategy Formulation) ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์การจัดวางกลยุทธ์ ๔ ปัจจัยดังนี้
      ๑.๑   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
      ๑.๒  การวิเคราะห์ทรัพยากรภายใน
      ๑.๓  การประเมินค่านิยมของคณะทำงาน  
      ๑.๔  การพิจารณาถึงความรับผิดชอบที่พึงมีต่อสังคม
   ๒.  การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategy Implemental) เป็นวิธีการที่จะทำให้ภารกิจเคลื่อนตัวจากที่ตั้งให้ในปัจจุบัน ให้ก้าวไปสู่ที่ซึ่งต้องการจะไปให้ถึงอนาคต ซึ่งในแต่ละสถานศึกษาจะต้องมีกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน
ผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารเชิงกลยุทธ์
    สถานศึกษาจะอยู่รอดเติบโตก้างหน้า บทบาทของผู้บริหารจะต้องเป็นนักกลยุทธ์ (Strategist)  คุณสมบัติของนักบริหารเชิงกลยุทธ์จะต้องประกอบด้วย
    ๑.  การเป็นผู้บริหารที่มองโดยรอบของสถานศึกษาตลอดเวลาไม่ขาดตอน
    ๒. การเป็นผู้ที่มีและใช้วิสัยทัศน์ติดตามความเป็นไปของสภาพแวดล้อม กระแสและแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง
   ๓. การเป็นผู้จัดทำกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อจำกัดโอกาสเทียบเคียงกับทรัพยากรที่ประเมินได้ไปจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินการต่างๆ
   ๔. การเป็นสถาปนิกออกแบบโครงสร้างองค์การและระบบงานให้เป็นระเบียบ วิธีปฏิบัติที่สามารถผลักดันให้มีประสิทธิภาพส่งผลต่อองค์กร
   ๕. เป็นผู้จัดสรรทรัพยากรและควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
   ๖. ความเป็นผู้นำในฐานะผู้สร้างทีมงานกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมั่นมีความผูกพันกับทุกฝ่ายตลอดจนมีความสามารถในการใช้คน
   ๗. การเป็นผู้ชักจูงใจ รู้จักคุณค่าของทรัพยากรสามารถออกแบบระบบการให้รางวัลผลตอบแทนสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ใช้อยู่
   ๘. การเป็นผู้นำชุมชนสัมพันธ์ ติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มภายนอกเพื่อรักษาภาพพจน์เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
สไตล์การบริหารเชิงกลยุทธ์
    การบริหารไม่มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว รูปแบบการบริหารจึงต้องขึ้นอยู่กับบริบทรอบข้าง ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จนอกเหนือจากความตั้งใจจริงมุ่งมั่นต่อคุณภาพของงานแล้ว จะต้องเรียนรู้รูปแบบการบริหารที่หลากหลาย นักบริหารจึงไม่ต่างกับช่างร้อยมาลัยที่ต้องนำดอกไม้หลากสีมาจัดเรียงร้อยให้เกิดความกลมกลืนงดงามท่ามกลางความแตกต่างซึ่ง ธงชัย สันติวงษ์ ได้นำเสนอแนวคิดของแมคโคบี้ (Machael Maccoby) ที่ได้วิเคราะห์ผู้บริหารภายใต้ความสัมพันธ์ของสองแกนผสมผสานกัน คือ แรงจูงใจเพื่ออำนาจ
    ๑. แบบพ่อคนดี ผู้บริหารเป็นคนดีของกิจการเป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์ซึ่งถือแนวทางไม่อยากเสี่ยงเป็นหลัก ไม่สนใจต่อผลสำเร็จในหน้าที่การทำงานสูงนักและไม่ใยดีที่จะใฝ่หาอำนาจใส่ตัวด้วย จุดที่สำคัญ คือ ขอให้อยู่รอดปลอดภัยเท่านั้น
  ๒. แบบผู้มีวิชา เป็นผู้บริหารที่สนใจความสำเร็จจากการทำงานสูง แต่ไม่ค่อยสนใจใฝ่หาอำนาจมากนัก มุ่งหาเหตุผล วิเคราะห์ทางวิชาการ ผลที่ออกมาจึงเป็นรายงานหรือแผนงาน
  ๓. แบบนักต่อสู้ เป็นผู้บริหารที่เอาจริงเอาจัง ต้องการเป็นผู้พิชิต ตั้งเป้าหมายไว้สูงติดตามควบคุมและกดดันให้ผู้ทำงานทั้งหลายต้องตัดสินใจ กล่าวคือ มุ่งผลสำเร็จและใช้วิธีการต่อสู้แบบเผชิญหน้า
  ๔. แบบผู้จัดการทีม หรือนักประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานประโยชน์ คำนึงถึงความสำเร็จของงานเป็นสำคัญ สามารถสร้างทีมงานที่ดีขึ้นมาสำเร็จและได้รับอำนาจพอสมควร
  ๕. แบบมากเล่ห์เพทุบาย เป็นผู้บริหารที่มองงานเป็นสิ่งท้าทายปกติต้องการทั้งความสำเร็จและอำนาจสูงทั้งสองอย่าง มักถือว่าคนเป็นเบี้ยตัวหนึ่งบนกระดานหมากรุกเท่านั้น เข้าใจเกมการเมืองในองค์การมักมองการณ์ไกลและมุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นไปในตำแหน่งสูงขึ้นซึ่งแมคโคบี้ (Maccoby) เชื่อว่า เป็นแบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การบริหารองค์กรเชิงรุก
     ยุคการแข่งขันในสภาพโลกไร้พรมแดนที่มีการแข่งขันสูง สิ่งที่สำคัญมากๆคือ ความสามารถของผู้บริหารในการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพหรืออาจพูดในเชิงเทคนิคว่ามีกลยุทธ์การจัดการเชิงรุกที่จะชนะคู่แข่ง องค์ประกอบสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อการบริหารเชิงรุก ได้แก่
      ๑. สัญญาณบอกความเป็นโลกาภิวัตน์ (Signs of Globalization) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลกตลาดการศึกษาจึงสามารถจะเชื่อมโยงถึงกันได้ในเวลาที่รวดเร็ว ทุกแห่งในโลกจึงเป็นตลาดความรู้การจัดการศึกษาจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก
      ๒. การลงทุนในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นการลงทุนเพื่อแลกเปลี่ยนข้ามชาติ ผู้ที่อยู่รอดจึงต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ การลงทุนในเรื่องทรัพยากรบุคคลจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะเอาชนะคู่แข่งขัน
      ๓. IT (Information Technolegy) ระบบข้อมูลสารสนเทศจะต้องรวดเร็วถูกต้อง ผู้ใช้ต้องติดต่อได้ง่าย ทำให้ได้เปรียบการแข่งขันด้านเวลา
     ๔. การบริหารองค์กรเชิงรุก ผู้บริหารจะต้องเตรียมการเพื่อเอาชนะในอนาคต จะต้องบริหารเชิงรุก ซึ่งดนัย เทียนพุฒ (๒๕๔๕:๓๒-๓๓) เสนอและไว้ดังนี้
       ๔.๑ ผู้บริหารจะต้องเข้าใจถึงภารกิจของสถานศึกษา ๓ เรื่องด้วยกัน คือ
             ๔.๑.๑  นวัตกรรม (Innovation) ผู้บริหารจะต้องคิดผลักดันหรือสร้างองค์การให้เกิดคุณค่าสูงสุดเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับประโยชน์
             ๔.๑.๒  จัดการศึกษาจะต้องกำหนดโครงสร้าง จัดคนให้เหมาะกับงานสร้างบรรยากาศจูงใจ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำและใช้นวัตกรรมมาบูรณาการ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดคุณค่าสูงสุดตามที่ผู้ปกครองต้องการ
             ๔.๑.๓  สร้างคุณค่าสูงสุดเพื่อผู้รับบริการหมายถึงองค์ประกอบหลัก ๔ อย่างที่ผู้ปกครองต้องการคือ
                 ๑.  คุณภาพ (Quality) ผู้เรียนต้องมีความรู้และมีคุณลักษณะตามที่ผู้ปกครองต้องการ ลดการสูญเสียและมีการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
              ๒.  ค่าใช้จ่าย (Cost) หมายถึงต้นทุนหรือราคาที่เหมาะสมกล่าวคือประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด
              ๓.  บริการ (Service) จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สนองความต้องการของชุมชน
              ๔.  การชนะเวลา (Cycle Time) หมายถึงการย่อเวลาให้สั้นลง ทำงานรวดเร็วทันกำหนดเวลาตลอดจนการอุทิศเวลาให้แก่ราชการ
      ๔.๒ กลยุทธ์องค์การ กลยุทธ์เป็นหัวใจสำคัญอันดับแรกที่จะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพ ซึ่งกลยุทธ์องค์การประกอบด้วย
         ๔.๒.๑  วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Vision) เป็นกลยุทธ์ระยะยาวที่จุมุ่งไปสู่อนาคตซึ่งเป็นปรัชญาที่แสดงเจตนารมณ์ที่จะแสดงความก้าวหน้าขององค์การ
         ๔.๒.๒  วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objective) เป็นการแปลวิสัยทัศน์ให้มีความหมายเชิงรุกเพื่อเป็นแรงขับทางกลยุทธ์ (Driving force) ให้ประสบความสำเร็จ
         ๔.๒.๓  แผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Plan) เป็นแผนปฏิบัติการกว้างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์                                            
     ๔.๓  กลยุทธ์การจัดการ องค์การเมื่อเปลี่ยนแปลงผู้บริหารควรเลือกกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง นวัตกรรมในการบริหารใหม่ๆต้องนำมาปรับใช้ เช่น Reengineering หรือกลยุทธ์การแบ่งเวลา (Time Based Strategic : TBS) กลยุทธ์การจัดองค์การมีลักษณะ ดังนี้
        ๔.๓.๑  การวางพื้นฐาน (Fundamental) เพื่อกำหนดวิธีการทำงานใหม่ โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติการควบคุมภายใน               
        ๔.๓.๒  การออกแบบการทำงานแบบขุดรากถอนโคน  (Radical) เพื่อให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงและโครงสร้างการทำงานที่เกิดประสิทธิภาพ กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
        ๔.๓.๓  การเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด (Dramatic) เมื่อเกิดภาวะวิกฤตจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อแก้วิกฤตให้เป็นโอกาส
        ๔.๓.๔ ให้กระบวนการใหม่ที่มีระบบสารสนเทศเน้นกระบวนการทำงาน โดยปรับคนให้เข้ากับกระบวนการใหม่เพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นและผูกพัน
    ๔.๔  องค์กรทีจะชนะในการแข่งขัน ลักษณะขององค์กรที่ชนะในอนาคตจะต้องมีลักษณะดังนี้
      ๔.๔.๑ วิสัยทัศน์ (Vision) ต้องชัดเจนและเกิดจากปัญหาที่แท้จริงขององค์การระหว่างผู้รับบริการและคู่แข่งขัน
     ๔.๔.๒  การบูรณาการเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์  คน  เทคโนโลยี  การดำเนินงาน  ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการกำหนดบทบาทหน้าที่  โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
     ๔.๔.๓  ความสามารถในการจัดการการเปลี่ยนแปลง  ต้องฝึกให้คนควบคุมตนเอง (Self- Directed Management)  เน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาองค์การ  โดยนำปัญหาจากการดำเนินงานมาปรับปรุงพัฒนาเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์การ  ผู้บริหารจึงควรเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
     สุดยอดของการบริหารคือการไม่บริหารที่กล่าวมานั้นไม่ใช่เป็นการบริหารแบบตามสบายหรือการบริหารแบบตามบุญตามกรรม  แต่ผู้บริหารจะต้องสร้างแรงจูงใจ  พัฒนาคนในองค์การให้เกิดความเป็นมืออาชีพ  โดยการสร้างทีมงานให้สามารถบริหารกันเอง (Self Managing Work Team)  การมอบอำนาจ (Empowerment) เพื่อให้ทีมงานดำเนินการ  ความสำเร็จของผู้ปฏิบัติงาน  คือตัวชี้วัดฝืมือของผู้บริหาร  บทบาทของผู้บริหาร  จึงควรส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีคุณลักษณะ  ดังนี้
       ๑.  ฝึกให้ทำงานเอง  ตัดสินใจเอง  เพราะคนที่อยู่หน้างานจะทราบปัญหาได้ดี
       ๒.  ฝึกให้ตั้งเป้าหมาย  วางแผนการทำงาน
       ๓.  ฝึกให้ตรวจสอบและแก้ปัญหาเองได้
       การมอบหมายงานให้กลุ่ม Self  managing work team ปฏิบัติ  ผู้บริหารก็ยังไม่พ้นภาระความรับผิดชอบ  ผู้บริหารจะต้องดำเนินการ ดังนี้
                ๑.  ต้องอบรมให้ความรู้ทีมงานโดยนำผู้ชำนาญการมาสร้างแรงจูงใจ
                ๒.  ให้ทีมงานประชุมกันบ่อยๆ
                ๓.  กำหนดให้ทุกคนให้ทีมงานต้องมีงานยุ่งอยู่เสมอ (Keep Busy) หากว่างจะพูดมากกว่าทำงาน
                ๔.  ให้ทีมงานมีฝันหรือปณิธาน
                ๕.  สร้างข้อตกลงในทีมงานห้ามประมาณกันเมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น
                ๖.  สร้างทีมงานหลาย ๆ ทีมและให้ปฏิบัติย้ายทีมเรื่อย ๆ
                ผู้บริหาร  คือ  ผู้ที่ทำให้คนธรรมดาทำงานเหนือคนธรรมดา  รู้จักมองหาลักษณะที่ขาดหายไปของผู้ปฏิบัติงาน  การประเมินความสามารถของผู้ปฏิบัติจะต้องประเมินโดยเน้นผลงาน (Result Oriented)  หรือดัชนีวัดผล (Performance Indicator) ผู้บริหารควรใช้เวลาวันละหนึ่งนาทีก็พอในการบริหาร  คือหนึ่งนาทีสำหรับการทบทวนเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าการทำงานไปถึงไหนแล้ว  หนึ่งนาทีสำหรับการชมเชยเพื่อนร่วมงาน  ที่ทำดีจะได้มีกำลังใจ  การเป็นผู้บริหารจึงควรถอยห่างออกมาจากจุดประกายให้คนอื่นทำงาน 
 การบริหารเชิงรุกผู้บริหารจึงควรปฏิบัติตนดังนี้
                 ๑.  ใช้การบริหารแบบเดินไปดูบ่อย (Management by Walking - around)  การดูของจริงที่หน้างานจะทำให้พบปัญหาและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ปฏิบัติว่าผู้บริหารเอาใจใส่เขา
                ๒.  แสดงความมุ่งมั่นบ่อยๆ ให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นว่าเอาจริง
                ๓.  รับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติบ้าง
                ๔.  ผู้บริหารอย่าหยุดยั้งการเรียนรู้  หรือสร้างองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning - Organization)
                ๕.  ผู้บริหารต้องทำงานให้ครบวงจร  นั่นคือการวางแผน (Plan)  ให้รอบคอบโดยคำนึงถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น  แล้วลงมือทำงาน  (Do) ตามแผนที่กำหนดไว้  และประเมินผลงาน (Check) อย่างต่อเนื่อง  ยิ่งประเมินบ่อยยิ่งดี  เพราะจะทำให้เปลี่ยนแผนได้ทันท่วงที  เพราะแผนที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่นการประเมินผลจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อกำหนดมาตรฐาน (Action)
                ๖.  การบริหารบางครั้งก็ต้อง “รวมศูนย์” บางครั้งก็ต้อง “แยกศูนย์” หรือการจายอำนาจเปลี่ยนไปมาได้
                ๗.  อย่าเน้นโครงการบริหารจนเกินไปจนเน้นกระบวนการและผลลัพธ์ที่จะได้
                องค์การที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือองค์กรที่ตายแล้ว  กลยุทธ์ใหม่ที่อัดแน่นด้วยข้อมูลสารสนเทศคนเรียนรู้ตลอดชีวิต  คนที่อยู่กับที่ไม่ถอยหลังก็หกล้ม  ผู้บริหารในโลกอนาคตต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง  หากบริหารเพียงเพื่อให้องค์การอยู่อาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ผู้บริหารอยู่รอด
                การนำเสนอกลยุทธ์มาใช้ในการบริหารเป็นนวัตกรรมใหม่  เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้บริหารที่จะนำพาองค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ  ความฝันทั้งหลายจะเกิดขึ้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ  คือความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่จะทำงานให้เกิดความสำเร็จ  โดยอาศัยความสามารถของคนรอบข้าง  ความสำเร็จจึงเกิดจากความพยายามที่ชาญฉลาด
 
 บทความนี้ ได้เผยแพร่ทางวาสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปีที่ 25
                 ปีงบประมาณ 2548 ฉบับที่ 2
เอกสารอ้างอิง
ดนัย  เทียนพุฒ . ผู้บริหารยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : บุ๊คแบงค์, 2545
ธงชัย  สันติพงษ์ . การบริหารเชิงกลยุทธ์ . กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2539
 
 
 
 
 
หมายเลขบันทึก: 347834เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2010 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.

  • อ่านแล้วยังสรุปไม่ได้เลยค่ะว่า ผู้บริหารโรงเรียนครูอิงเป็นแบบไหน
  • แต่ครูอิงชอบข้อความนี้ค่ะ

ผู้บริหารที่จะนำพาองค์กรก้าวสู่ความเป็นเลิศ  ความฝันทั้งหลายจะเกิดขึ้นจะต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ  คือความมุ่งมั่นของผู้บริหารที่จะทำงานให้เกิดความสำเร็จ  โดยอาศัยความสามารถของคนรอบข้าง 

ขอบคุณ คุณครูอิงจันทร์

ความจริงผู้บริหารท่านต้องใช้ทุกรูปแบบ ไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสถานการณ์ครับ

ขออนุญาตเรียนรู้ผู้บริหารนะคะ

อาจารย์สบายดีนะคะ

   

  • สวัสดีค่ะ
  • นำภาพคนสวยเสียฟอร์มมาให้พี่ชายได้ชมค่ะ บุษราความสวยไม่ให้ แต่ความซุ่มซ่ามใกล้เคียง.....

                         

ขอบคุณน้ำชา

เรียนรู้ไว้ครับ เมื่อเป็นผู้นำจะได้เอาไปปรับใช้ครับ

สบายดีครับ พรุ่งนี้จะไป กทม. ผ่านแก่งคอยด้วยครับ

ขอบคุณ คุณครูบันเทิง

ปิดเทอมต้องฉวยโอกาสรีบไปพักผ่อนครับ

ขอบคุณน้องบุษรา

คนสวยทำอะไรก็ดูน่ารักไปหมดครับ แม้กระทั่งตกน้ำ

ทฤษฎีมีหลายสำนัก แต่เวลาเผอิญปัญหาเฉพาะหน้า ต้องอาศัยประสบการณ์กับวิสัยทัศน์ เสียส่วนมาก

ขอบคุณ คุณนิภารัตน์

ถูกต้องที่สุดครับ ศาสตร์แห่งการบริหารเปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่ต้องเดินทางค้นหา

สิ่งเรียนเป็นศาสตร์เปรียบเสมือนชายป่า เราต้องใช้ศิลปะเพื่อจะเดินเข้าใหญ่ไม่ให่หลงทางครับ

สวัสดีค่ะท่าน "ครูพร"

ขออนุญาตเรียกนามแฝง "ครูพร" นะคะ (เฉพาะในบันทึกนี้) คนไม่มีรากรู้สึกอบอุ่นทุกครั้งที่ได้อ่านและเห็นใครเรียกขานตนเองว่า "ครู"

ขอบคุณสาระดี ๆ ที่นำมาให้ได้อ่านค่ะ

(^__^)

ขอบคุณ คุณคนไม่มีราก

ผมชอบนามแฝงนี้เช่นกันครับ รู้สึกเป็นคนที่คุ้นเคยกว่าครับ ตอนเข้าไปใหม่ๆ ไม่ได้เรียนรู้วิธีการนำเสนอ

มากนักเลยใช้ชื่อจริง

สวัสดีค่ะท่านผอ.วันชัย

มาเยี่ยมค่ะ

และได้เรียนรู้ หลักการบริหารแบบมืออาชีพ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณP MSU KM มีสิ่งใดควรปรับก็ขอคำแนะนำด้วยครับ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปถามข่าว ยังรอลุ้นวันที่ 8 นี้ค่ะ ว่าจะมีรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิสอบหรือเปล่า

เพราะเป็นแม่บ้านธรรมดาค่ะ อยากเรียนเพราะอยากรู้ เรียนจบแล้วอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยกว่าผู้ที่ทำงานประจำก็ได้ แถมเกรดตอนเรียนป.ตรี ก็ไม่สวยงามสักเท่าไหร่ ก็อาจไม่มีสิทธิสอบก็ได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ 

เป็นประโยชน์และนำไปประยุกต์ใช้ได้สำหรับตำแหน่งหัวหน้างาน

ขอบพระคุณค่ะ

 

ชื่นชมขอรับท่าน ผอ.

สวัสดีค่ะ

แวะมาส่งความระลึกถึงค่ะ

และเชิญชวนร่วมสร้างหอสมุดเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ด้วยกันนะคะ

http://gotoknow.org/blog/rongkham/349984

ขอบคุณค่ะ

P  ขอบคุณ  คุณณัฐรดา

                 ขอแสดงความยินดีล่วงหน้าครับ  ตั้งใจจริงมีหรือจะไม่สำเร็จ

ขอบคุณ คุณปั้นหยา

นำไปปรับใช้ครับ ถ้าเป็นประโยชน์บ้างก็ดีใจด้วยครับ

ขอบคุณ ท่าน k-kukiat

ท่านเป็นมืออาชีพในการบริหาร ถ้ามีสิ่งใดจะเสนอแนะก็ยินดีครับ

ขอบคุณ คุณครูมีนา

ผมเพิ่งกลับจากใต้ครับ จะไปดูรายละเอียดแล้วจะไปช่วยงานครับ ถ้าไม่ติดราชการเร่งด่วน

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาทักทายพี่ชาย และอยากให้พี่ชายมีรอยยิ้มเลยนำภาพนี้มาฝากค่ะ              
  • สวัสดีค่ะ ผอ.พรชัยP
  • มาเรียนรู้เรื่องการบริหาร  น่าสนใจค่ะ
  • ชอบรูปแบบการบริหาร  แบบพ่อคนดี  แบบผู้มีวิชา  แบบนักต่อสู้
    แบบผู้จัดการทีม  แบบมากเล่ห์เพทุบาย  ทั้ง ๕ แบบหากหลอมรวม
    ให้เป็นหนึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาคงรักและศรัทธาอย่างเปี่ยมล้นนะคะ

ขอบคุณค่ะสำหรับกลยุทธ์ที่ดีของ 3 P..(Position/Process/People) ค่ะ..ถ้าผู้บริหารนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้องค์กรพัฒนาตามเป้าหมายนะคะ..

 

  • สวัสดีค่ะ
  •  ว่าแล้ว....ว่าพี่ชายต้องลืมน้องสาวที่อยู่พะโต๊ะแน่ ๆ เลย จังหวัดชุมพรคือทางผ่านไปจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาจารย์ก็เลยไม่แวะไม่งั้นจะไม่เรียกว่าทางผ่าน 555 
  • ดูภาพคนสวยน้อยใจค่ะ แง แง แง......

           

 

สวัสดีค่ะ..วันนี้หนูสอบค่ะ..

มึนส์เลย..สงสัยไม่ได้ไปดูงานต่างประเทศแล้วล่ะ..

เอ้อ!..อดเจอกันเลย..ฮา..

สวัสดีค่ะ

มาส่งข่าว

หนึ่ง มีชื่อแล้วค่ะ ดีใจจัง

สอง ลงบันทึกฝากหนังสือคุณครูให้ห้องสมุดโรงเรียนครั้งที่สองค่ะ

ขอบคุณอาจารย์มาก ๆ ครับ สำหรับงานบริหาร ขอเป็นลูกศิษย์อาจารย์ด้วยคนครับผม

มากราบคาราวะ และเยี่ยมเยือนอาจารย์ คงสบายดีเช่นเคยนะครับ

ถ้าทำได้เหมือนกับทฤษฎีเป๊ะ โดยไ่ม่ประยุกต์ใช้ ก็คือเจ๋งทีุ่สุด

จริง ๆ แล้วความสำเร็จต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหลายผมคิดว่า

มันเป็นก้อนภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ใต้น้ำที่คนทั้งหลายไม่อาจ

เข้าถึง มันเป็นเคล็ดลับ หรือวิธีแปลกพิสดาร หรือ

การประยุกต์เกือบ 180 องศา

Ico32 ขอบคุณท่านวัฒนา การนำไปปรับใช้น่าจะประสบความสำเร็จมากขึ้นครับ

บางอย่างอาจจะใช้ประสบการณ์และการตัดสินใจครับ หากรู้ทฤษฎีก็จะเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งครับ

เป็นเนื้อหาทางทฤษฎี ที่น่าสนใจในยุคนี้ ซึ่งควรที่ผู้บริหารทั้งหลายจะได้อ่านและศึกษาเชิงลึกมากขึ้นครับ เพื่อความเป็นรูปธรรมอยากให้ลองสร้างโมเดลการบริหารตามแนวคิดนี้ อาจใช้ชื่อว่า "โมเดลการบริหารกลยุทธ์เชิงรุกเพื่อประสิทธิภาพสถานศึกษา " เพื่อดูว่า หน้าตาจะออกมาเป็นอย่างไร ผลการทดลองโมเดลเป็นอย่างไร แล้วนำเสนอ จะทำให้แนวคิดจากทฤษฎีลงสู่การปฏิบัติมากขึ้น และหากมีบทพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงได้ ก็จะเกิดคุณค่าต่อวงการบริหารการศึกษา ขอสนับสนุนความคิดนี้ครับ

ขอบคุณท่าน chat นับว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจครับ ยังไงคงขอความอนุเคราะห็ได้เป็นพี่เลี้ยงดำเนินการครับ กรุณาทิ้งเมล์

ไว้ดัวยครับจะได้ขอคำแนะนำ ขอบพระคุณท่านยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท