การทำนาแบบโยนกล้าที่สรรคบุรี


เกริ่นนำ 

    การรวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อการดำเนินกิจกรรมร่วมกันตั้งแต่การเรียนรู้ และการทำธุรกิจ เมื่อมีความแข็งแกร่งแล้วจะนำสิ่งดีๆ เข้าสู่กลุ่มและชุมชน  เช่น ศูนย์ส่งเสริมและผลิตข้าวชุมชนวัดพระแก้ว ต.แพรกศรีราช  อ.สรรคบุรี  จ.ชัยนาท  ได้ก่อตั้งด้วยเกษตรตำบลแพรกศรีราชา ดำเนินงานตามหลักการของกรมส่งเสริมการเกษตร จนประสบผลสำเร็จ และได้สร้างเครือข่ายประสานงานกับศูนย์ข้าวชุมชนในตำบลอื่นๆ  ของอำเภอสรรคบุรี เพื่อเรียนรู้ร่วมกันในรูปของ โรงเรียนชาวนา และอีกหลายกิจกรรมที่ได้รับการยื่นโอกาสจากหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ารวมให้การสนับสนุน โดยเฉพาะกิจกรรมแปลงทดสอบเพื่อพิสูจน์ทราบรูปแบบของการทำนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น การทำนาดำ นาหวานน้ำตม และทำนาแบบโยนกล้า  จากการทดสอบที่แสดงผลออกมาเชิงประจักษ์ให้ได้ทราบว่า การทำนาแบบโยนกล้าได้รับผลตอบแทนที่ดีแล้ว การนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อขยายผลสู่ชุมชนต่อไป จึงเป็นหน้าที่ของครูติดแผ่นดิน ผู้ที่สละเวลาและสร้างโอกาสในการสร้างองค์ความรู้ ด้วยการเข้าร่วมมาโดยตลอด

การแสวงหา

   จากการติดตามกิจกรรมของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอสรรคบุรีมาโดยตลอด  แต่ด้วยเหตุผลที่อ้างถึงประจำคือ “ไม่ว่างจากงานด่วน” ทั้งๆ ที่ครูติดแผ่นดินส่งข่าวมาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ไปเห็นความสำเร็จของผลงานที่น่าชื่นชม   เช่นครั้งนี้ได้รับข่าวสารจาก “ครูติดแผ่นดินข้าว” เกษตรกรต้นแบบข้าวตำบลห้วยกรดพัฒนา   ซึ่งมีนางชนิกา  ขันธนิยม  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ เป็นพี่เลี้ยง  แจ้งว่าได้เพาะกล้าไว้จำนวนมาก  พร้อมที่จะโยนลงแปลง  จึงขออนุญาต หัวหน้าฝ่ายยุทธศาสตร์และสารสนเทศ (นายปราโมทย์ รัตนสัมฤทธิ์)  และได้อนุญาตทันทีเพื่อให้นำสิ่งดีๆ สู่เกษตรกร โดยเฉพาะการลดต้นทุนการผลิตให้มากที่สุด ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ไม่ยากนัก

แนวคิด

    นายวิเชียร  สอนปาน ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 และประธานศูนย์ข้าวชุมชนบ้านคลองขี้เหล็ก ตำบลห้วยกรดพัฒนา อ. สรรคบุรี จ.ชัยนาท กล่าวว่า  ได้ตั้งศูนย์ข้าวชุมชนมาตั้งแต่ปี 2548 แต่ในช่วงนั้นพบปัญหาข้าววัชพืชมาก สมาชิกจึงขาดความมั่นใจในพันธุ์ข้าวที่ผลิตขึ้นมาเอง  จึงได้พยายามทำเป็นตัวอย่างให้สมาชิกได้รับรู้ แต่เสียทุนไปกับการกำจัดข้าววัชพืชจำนวนมากประมาณ  8,000 บาท/ครั้งในพื้นที่ 15 ไร่ แต่ได้ผลผลิตข้าวเพียง 6,000  กิโลกรัม  จึงทดลองนำความรู้การปลูกข้าวแบบโยนกล้ามาใช้อย่างจริงจังในพื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน ในปีแรกยังคงพบข้าววัชพืชบ้างแต่น้อยกว่าปลูกทั่วไปมาก แต่พอเริ่มครั้งนี้ 2  พบน้อยมากไม่ถึง 100 ต้น ด้วยต้นทุนประมาณ 2,100 บาท/ไร่ มีเพื่อนเกษตรกรสนใจมาก แต่บอกเสมอว่าขอให้ทำใจให้ได้เนื่องจากการทำนาแบบโยนกล้า ข้าวที่เห็นห่างๆ  จนเจ้าของนาไม่สบายใจ เพราะความเคยชินกับการปลูกข้าวที่ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์สูง แต่มีผู้สนใจและติดต่อมาหลายราย   จึงได้วางแผนลองรับการขยายตัวตอบสนองความต้องการของสมาชิกเป็นที่เรียบร้อย เพราะเป็นทางเลือกของการป้องกันและกำจัดข้าววัชพืชที่ดีที่สุด

การทำนาแบบโยนกล้า

     เริ่มจากการเตรียมกล้าข้าวเพื่อโยนกล้า ขั้นต้นนำเมล็ดพันธุ์มาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน  นำกระบะพลาสติกที่มีหลุมเป็นช่องเล็ก ๆ มาวางเรียงเป็นแถว ก่อนเทเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในกระบะของเครื่องหยอดเมล็ด หยอด 1 รอบ เมล็ดข้าวละหล่นลงสู่กระบะ สังเกตให้ทั่วเพื่อหยอดเมล็ดข้าวซ่อมในส่วนที่บกพร้อง เพื่อให้ได้เมล็ดในหลุมประมาณ 5-7 เมล็ด  ถ้าใส่น้อยพบปัญหาจากการถอนกล้า แต่ถ้ามากเกินพบปัญหาความชื้นและดินไม่พอ หยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวจนครบตามจำนวนที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับขนาดของกระบะ (100 กระบะต่อพื้นที่ 1 ไร่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว 10  กิโลกรัม) นำไปวางในที่มีแดดรำไร เทดินโคลนที่ตักดินเลนจากคลองทิ้งน้ำ นำมาเก็บเศษวัชพืชออก เทคลุมเมล็ดอีกครั้งให้เต็มหลุมพอดีอย่าให้ล้น เพราะรากจะเดินเข้าหากัน เกาะติดกันยากแก่การโยน ถ้าสังเกตดินแห้งให้รดน้ำให้ชุ่มชื้นพอประมาณทุกเช้า-เย็น ระยะเวลาการงอกและเจริญเติบโตประมาณ 12 วัน หรือความยาวของต้นกล้าประมาณ 3-4 เซนติเมตร

    การเตรียมดินในแปลงปลูก ใช้วิธีการไถดะ ไถคราด ทำเทือก ระดับน้ำเล็กน้อย เพราะถ้าน้ำแห้งจะสังเกตได้ยาก จากนั้นนำกล้าที่เพาะไว้ หยุดการให้น้ำ 1-2 วัน ตามสภาพของดิน เพราะถ้าตุ้มเปียกเมื่อโยนกล้าจะติดกัน เมื่อเห็นว่าตุ้มกล้าแห้งพอแล้วจึงดึงกล้าออกจากกระบะเพาะ ใส่ในตะกล้าเพื่อการขนย้าย(ตะกล้าใส่ผลไม้ เพราะจะมีเหล็กกั้นการทับ) ว้ หยุดการให้น้ำ 1-2 วัน ตามสถ ตามสถาพของดิน เพราะถ้าตุ้มเปียกจะณ 5-7 เมล็ด ม่เพียงพอ แต่ได้วางแผนลองรับจะสามารถใส่ได้ถึง 10 กระบะต่อ 1 ตะกล้า โยนได้ในพื้นที่ 1 ไร่) เพื่อเตรียมโยนลงสู่แปลงปลูกด้วยการโยนไปข้างหน้าระดับศีรษะ เพื่อให้ต้นข้าวหล่นลงในนาลักษณะตั้งตรงมากที่สุด ระยะห่างแต่ละต้นประมาณ 20เซนติเมตร เมื่อโยนจนเต็มแปลงนาแล้ว ให้โยนซ่อมในส่วนที่ไม่ได้ระยะที่ต้องการ ทิ้งไว้ 2 คืนรากจะติดดิน  จึงเริ่มระบายน้ำเข้าแปลงนาให้ระดับน้ำประมาณครึ่งลำต้นกล้า  การดูแลต่อไปเหมือนกับทำนาทั่วไป

 

   ผู้ใหญ่บ้านวิเชียร  ฝากถึงผู้อ่านอีกว่า ผลการดำเนินงานลดต้นทุนจำนวนมาก และเป็นที่ถูกใจของสมาชิก ใช้ต้นทุนประมาณ 2,000 บาท/ไร่ ผลผลิตข้าวที่ได้เท่ากับการปลูกโดยทั่วไป แต่ผู้จะทำแบบนี้ ต้องเตรียมใจ เนื่องจากจะเห็นข้าวบาง แต่จะแตกกอ และแน่นเมื่อข้าวอายุ 60 วัน ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ คือ ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว โรคแมลงน้อยลง เนื่องจากว่าไม่หนาแน่นเกินไป ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช ลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะข้าวไม่ถี่เกินไป  ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ยินดีต้อนรับครับ

คำสำคัญ (Tags): #กล้าโยน
หมายเลขบันทึก: 347803เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2010 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

    มาแวะเยี่ยมวิธีการที่ลดต้นทุน ในการปลูกข้าวค่ะ ข้าวบาง แต่จะแตกกอ และแน่นเมื่อข้าวอายุ 60 วัน เป็นวิธีการที่สุดยอดมากค่ะ   ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว โรคแมลงน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืช ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ด้วยหากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมมีเบอร์โทรศัพท์มั้ยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท