จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

ไม่ขับเคลื่อนนโยบายหมายถึงถอยหลัง


ถึงที่ทำงานตอนเช้า ได้รับคำถามที่น่าสนใจจากเพื่อนร่วมงานว่า ทำงานแบบไม่มีวันหยุดแบบนี้ หนักอย่างนี้ที่บ้านไม่ออกอาการงอนบ้างหรือ คำถามนี้เกิดจากสถานการณ์ตอนนี้หลายบ้านเริ่มมีปัญหาแนวๆ นี้แล้วครับ อัลฮัมดุลิลลาห์ครับ ที่รอบนี้ผมคุยกับคนที่บ้านไว้ก่อนที่จะกลับมาทำงานแล้วครับว่า รอบนี้ไม่ได้ใช้ความอยากในการกลับมาทำงาน แต่เป็นความจำเป็นต้องกลับมา (ขอเมียรักจงเข้าใจ ฮา) แต่นั่นแหละครับ มันก็ต้องมีการชดเชยครับ ซึ่งผมเลือกที่จะใช้ช่วงเย็น ซึ่งบางทีก็เกือบๆ หกโมงเย็นแล้วก็ตาม พาครอบครัวไปนั่งรถเล่น เข้าเมืองยะลาบ้าง เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดของสมาชิกในบ้านครับ แต่ผมเชื่อว่าแนวๆ นี้นั้น พ่อบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบหรอก ผมแต่ก่อนระหว่างออกนอกบ้านกับเล่นกับลูกๆ ในบ้าน ผมเลือกอย่างหลังครับ แต่ตอนนี้ยังงัยก็ยอม

วันนี้นั่งทบทวนสภาพทั่วไปของงานครับ ได้แง่คิดที่น่าสนใจสำหรับตัวเองขึ้นมาเรื่องหนึ่งครับ เลยตั้งเป็นหัวข้อบันทึกนี้ อย่างหนึ่งที่ผมเจอคือ การที่ผู้บริหารทำงานโดยเป็นเพียงการติดตามงาน สั่งการลูกน้อง ให้งานเดินไปอย่างราบรื่น มันไม่พอครับ หากคนๆ หนึ่งถูกแต่งตั้งขึ้นมาแล้วทำงานเพียงคอยดูว่า งานมันเดินหรือเปล่า ไม่เดินก็ตามไปจี้ แล้วบอกว่า ทำให้เสร็จนะ แบบนี้สิ่งที่ผมพบก็คือว่า องค์กรถอยหลังครับ ที่สำคัญมันก่อให้เกิดปัญหากับองค์กรในอนาคตครับ

บทเรียนที่ผมเจอคือ การมองไปข้างหน้า การมีภาพข้างหน้าที่ชัดเจน เป็นเรื่องสำคัญของผู้บริหารมากๆ และเมื่อภาพข้างหน้ามันชัด สิ่งที่เป็นหน้าที่ของผู้บริหารก็คือ การถ่ายทอดลงไปยังลูกน้องครับ เพื่อให้เขาเกิดการดำเนินงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น เพื่อการก้าวเดินไปข้างหน้า ดังนั้นหากผู้บริหารขาดซึ่งนโยบาย ขาดภาพอนาคต องค์กรมันถอยหลังอย่างชัดเจนครับ เพราะเมื่อถึง ณ เวลาหนึ่งแล้ว เราจะพบเลยว่า เราไม่มีความพร้อมใดๆ เพื่อการก้าวเดินไปข้างหน้าเลย วันนี้ผมอยากจะพาองค์กรเดินไปข้างหน้าครับ แต่สุดท้ายผมก็พบว่า ฐานรองรับมันไม่พอครับ เราก็เลยต้องย้อนกลับมาปูฐานใหม่ ในขณะที่คู่แข่งเราเดินนำเราไปได้อีกสองสามก้าวเลยครับ (ขอถอนหายใจยาวๆ สักครั้งสองครั้งครับ) แต่ขอย้ำว่า เมื่อเรามีภาพอนาคตที่ชัดเจนมากขึ้น ไม่ช้าไม่นานเราจะก้าวทันครับ (อินชาอัลลอฮ์)

ออ. ก่อนจบบันทึกขอเล่ากิจกรรมของสาขาวิชาในวันนี้กันลืมไว้สักนิดหนึ่งครับ ช่วงสี่โมงเช้า เป็นช่วงกิจกรรมเสริมหลักสูตรครับ ทีมงานกำหนดจัดกันที่ห้องประชุมคณะอิสลามศึกษา ภาพที่ปรากฏคือ เก้าอี้นั่งไม่พอสำหรับนักศึกษาป.บัณฑิตวิชาชีพครู รุ่นนี้แล้วครับ กว่าจะได้เริ่มกิจกรรมเลยต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหาไปเกือบๆ ชั่วโมงครับ แต่ก็เป็นภาพที่น่าประทับใจทีเดียว เสียดายผมลืมหยิบกล้องถ่ายรูปไปด้วยครับ

เสร็จจากกิจกรรมเสริมหลักสูตร คณาจารย์ในสาขาวิชาก็มีกิจกรรมกันต่อครับ งานนี้ผมตั้งชื่อว่า lunch talk ครับ ความจริงตั้งใจจะคุยเรื่องของการเขียนบทความวิชาการครับ แต่สุดท้ายก็หยิบเอาประเด็นที่ค้างจากการประชุมเมื่อครั้งที่แล้วมาคุยต่อแทนครับ บรรยากาศมันอำนวยให้คุยกันได้

คำถามที่ใช้ในการคุยกันเลยเปลี่ยนเป็น "ห้องอะไรที่คณะศึกษาศาสตร์จำเป็นต้องมี?"

ขอสรุปแบบรัดกุมที่สุดครับว่า ที่คุยกันแบบเจาะลึกหนักๆ คือ micro teaching, self access learning, training/meeting room ครับ (ขอไม่นำเสนอรายละเอียดละครับ เพราะง่วงแล้ว)

รอบนี้ผมก็ลืมหยิบกล้อมถ่ายรูปมาบันทึกภาพไว้อีกเช่นกัน หากสถานการณ์อำนวยจะไปขอก๊อปปี้จากทีมงานมานำเสนอครับ

คำสำคัญ (Tags): #edu-km52#vision
หมายเลขบันทึก: 347631เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2010 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เรื่องทำงานไม่หยุดก็เป็นห่วงตัวเอง เพราะก่อนที่ผมจะต้องนอนยาว ก็ทำงานไม่หยุดเหมือนกัน
  • นอกจากเรื่องฐานไม่มั่นคง ต้องการความจริงจัง และพร้อมที่จะพัฒนาของบุคลากรด้วย
  • เรืองคณะศึกษาศาสตร์ ตอนที่จะสร้างก็คุยรูปแบบอาคารแล้วด้วย แต่ด้วยความรีบด่วนของคนจะให้เงิน ก็คิดว่าค่อยเปลี่ยนแปลงแก้ไข

รูปที่คิดว่าไปชาร์ตแบทกับครอบครัว(ทั้งครอบครัวที่ทำงานและที่บ้าน)

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

อาจารย์จะต้องไปชาร์ตแบตอีกรอบนะครับ 16-18 เม.ย. ที่หาดละงู สตูลครับ

อ่ะ เอาภาพล้นห้องประชุมมาฝาก

ขอบคุณครับอาจารย์ อัสสะกอมี 

ภาพแห่งความประทับใจจริงๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท