ดิฉันเป็นอาจารย์คนหนึ่งของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์ ได้ฟังKMก็หลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยได้ลงมือคิดหรือทำจริงๆสักครั้ง วันนี้ขอเล่าเรื่องที่ได้เริ่มต้นแลกเปลี่ยน เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานให้ฟัง
ดิฉันไปเล่าให้เพื่อนฟังว่า หมอวิจารณ์ (ขออนุญาตอ้างชื่อนะคะ)บอกว่า KM ไม่ได้ยากเย็นอะไร แต่เป็นกระบวนการเปิดหู เปิดตา และเปิดปากของเราที่ตั้งใจเล่าประสบการณ์ที่เราประทับใจ หรือทำได้สำเร็จ ตั้งใจฟังเรื่องเล่าของเพื่อน และชื่นชมกับสิ่งที่เพื่อนทำ เพื่อนๆบอกว่าน่าจะเติม การเปิดใจเข้าไปด้วย เพราะทุกวันนี้เราใช้แต่สมองทำงานมุ่งแต่จะให้ของตนสำเร็จ ไม่ค่อยได้ใช้หัวใจ ลืมมองคนข้างๆ จนคนเหล่านั้นจากเราไปถึงรู้ว่ามันสายไปแล้ว (มีการย้ายออกมากในหน่วยงาน)
เพื่อนๆหลายคนให้ความสนใจ เข้ามาร่วมก๊วนด้วย คิดไม่ถึง ได้สมาชิกมาถึง 9 คน คิดว่าน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีได้ ประเด็นการพูดคุยของวันนี้ (17 มิ.ย 2549) คือ ความภูมิใจ ความสำเร็จกับงานที่ทำ ดิฉันไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า เพื่อนไปทำอะไรดีๆมามากมาย สำหรับวันนี้ดิฉันขอเล่าสัก 2 เรื่องก่อน (ไม่แน่สมาชิกอาจจะได้อ่านจากเพื่อนร่วมก๊วนดิฉันโดยตรง เพราะสัญญากันว่า จะเข้ามาเป็นสมาชิก Gotoknow ทุกคน เพื่อให้เพื่อนคนอื่นๆ ช่วยวิภากย์ วิจารณ์ กับสิ่งที่เราคิด หรือทำไปแล้วและกำลังจะทำต่อไป)
ผศ.ดร.เกียรติกำจร กุศล ได้เล่าถึงการเรียนการสอน ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติของการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ที่มีการนำmind mapping มาใช้ ทำให้นักศึกษาสามารถconceptualize ในสิ่งที่เรียนในแต่ละครั้งได้ดียิ่งขึ้น และหลังจากการทำงานเสร็จหรือเรียนเสร็จในแต่ละครั้งก็มีการทำ mind map อีกครั้ง เพื่อสรุปรวบยอดสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ เด็กพอใจมากบอกว่าทำให้ง่ายต่อการจำ เพราะคนเรามักจะภาพได้ดีกว่าตัวอักษร และให้นักศึกษารวบรวมเป็นPortfolioของตนเอง ในการเตรียมตัวสอบรวบยอดของสภาการพยาบาลต่อไป
อาจารย์ เสาวลักษณ์ วงศ์นาถ ได้เล่าประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษในการ Conference ก่อนและหลังให้การพยาบาลผู้ป่วย กับนักศึกษาพยาบาลที่หอผู้ป่วย สัปดาห์ละครั้ง จากการที่วลัยลักษณ์ มีนักศึกษาพยาบาลจากประเทศออสเตรเลียมาฝึกงานทุกปี ทำให้นักศึกษาเราเกิดการตื่นตัวอยากพูดกับเพื่อนต่างชาติ จึงได้ขอให้อาจารย์ช่วยฝึกพูดให้ จากนั้นก็ได้ดำเนินงานเรื่อยมา พบว่าความสามารถในการพูดของนักศึกษาพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งพยาบาลในหอผู้ป่วยก็ได้ขอเข้ามาร่วมlสัมมนาด้วย จากประการณ์ตรงนี้ของนักศึกษา ทำให้เกิดความกล้า ปัจจุบันมีนักศึกษาป.ตรี 2 คน สมัครเรียนในรายวิชา ประเด็นสุขภาพโลกกับพี่หลักสูตร ป.โท ซึ่งต้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษ และได้ไปดูงานที่ออสเตเรียร่วมกับพี่ ป.โทด้วย อาจารย์ท่านเล่าด้วยความภูมิใจในตัวลูกศิษย์มาก ซึ่งดิฉัน ก็ชื่นชมกับผลงานของอาจารย์มาก เราคุยกันว่าวิชาอื่นๆอาจจะต้องเริ่มทำด้วย และจะใช้วันจันทร์เป็นวัน English Day ของสำนักวิชาพยาบาล
ดิฉันเริ่มรู้สึกว่า เข้าสู่."กลยุทธ์ ถอดล้อพ่วง." ได้แล้ว ซึ่งหากจะเล่าต่อไปก็คงจะทำได้ แต่มีคนแนะนำว่าในแต่ละครั้งไม่ควรเขียนยาวเกินไปทำให้คนอ่านเบื่อ หากมีคนสนใจดิฉันจะขอเล่าต่อในโอกาสหน้านะคะเป็นเรื่องเล่าที่ยอดเยี่ยมครับ นี่คือการจัดการความรู้ที่เนียนอยู่ในเนื้องาน
วิจารณ์ พานิช
อาจารย์คะ
ต้องขอบคุณอาจารย์ที่มาจุดประกายความคิด และขอบคุณที่ให้กำลังใจ ถึงแม้ว่าในระยะแรกการเขียนยังไม่ลื่นไหล แต่จากการได้เข้ามาอ่านของคนอื่นๆทำให้ได้แนวทางไปทำงานต่ออีกหลายๆอย่าง
จากการไดเปิดเวทีพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ หลายคนเห็นด้วยที่จะทำต่อ โดยสัญญาจะเป็นกำลังใจให้กัน ตอนนี้เราได้ best practice เกี่ยวกับการเรียนการสอนหลายเรื่องที่จะไปดำเนินการต่อ และได้ขยายไปที่นักศึกษา สำหรับงานวิจัยจะมีการตั้งวงพูดคุยในสัปดาห์หน้านี้
ขอให้อาจารย์ช่วยชี้แนะและเป็นกำลังใจให้พวกเราต่อไปนะคะ
ครูพยาบาลชุมชน
หนูขอชื่นชมอาจารย์มากค่ะที่ได้เริ่มต้นและเริ่มต้นได้ดีมากเลยค่ะ จะขอเดิตามรอยเท้าอาจารย์อย่างช้าๆแต่มั่นคงค่ะ ขอสัญญา
ตอนนี้กำลังจะ งานใหม่ จากการเป็นพยาบาล ไป เป็น อาจารย์พยาบาล แต่เป็น มหาลัยเอกชน ไม่รู้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องรึเปล่า ชิวิต การเป็นครูพยาบาล เหนื่อย ลำบาก มากมั้ย ช่วยแนะนำด้วย