ป่ากับวิถีชีวิตไทย


สัญชาตญาณของคนในการสืบเผ่าพันธุ์ก็จะต้องเสาะแสวงหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการลงหลักปักฐาน,เหตุการณ์เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อคนเราเริ่มรู้จักกับธุรกิจ ซึ่งนำพามาซึ่งผลประโยชน์ที่เกินกว่าตัวเองจะกินจะใช้ได้หมดในชาตินี้,เพื่อสร้างความเจริญให้เทียบเท่ากับอารยะ,เขาผิดไหม? คนเราต้องการความอยู่รอด ไม่ทำก็อดตาย

ป่าในประเทศไทยมีอยู่ในทุกภูมิภาค คนเราตั้งแต่ยุคอดีตกาลก็เริ่มถักร้างถางพงสร้างที่อยู่อาศัยกันตามสถานที่ต่าง ๆ และโดยเฉพาะที่รามลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ แล้วก็เริ่มขยายตัวออกตามพื้นที่ที่มีลักษณะที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ มีอยู่ มีกิน มีอาหาร ผ่านวันและเวลาบ้านก็เลยขยายตัวเป็นชุมชน จากชุมชนเล็ก เป็นชุมชนใหญ่ มีลูกมีหลาน

สัญชาตญาณของคนในการสืบเผ่าพันธุ์ก็จะต้องเสาะแสวงหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการลงหลักปักฐาน จากพื้นที่หนึ่งก็ขยายไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง พอคนมากขึ้นเรื่อย ๆ พื้นที่เดิมก็เริ่มคับแคบ ใครมาก่อน อยู่ก่อน คนมาทีหลังทรัพยากรเหลือน้อย ก็ต้องเริ่มบุกเบิกแหล่งทรัพยากรใหม่ ๆ

แต่เหตุการณ์เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อคนเราเริ่มรู้จักกับธุรกิจ ซึ่งนำพามาซึ่งผลประโยชน์ที่เกินกว่าตัวเองจะกินจะใช้ได้หมดในชาตินี้ เริ่มเก็บสะสมทรัพย์ศฤงคารต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่งคั่ง ความสมดุลในการดำรงชีวิตเริ่มหมดไป ประกอบกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาจากความรู้ของมนุษย์ที่ขาดภูมิคุ้มกันในการสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่น่าสร้างขึ้นและใช้ไม่เกิดประโยชน์ จึงนำมาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า สิ่งอำนวยความสะดวก ประเภททำลายล้าง

จากเดิมที่คนหาพื้นที่ที่อยู่อาศัยหาอยู่หากิน นักธุรกิจคนจากภายนอกที่มีพลังอำนาจ ความรู้และเทคโนโลยีเหนือกว่า ก็เริ่มเข้ามากอบโกยเอาทรัพยากรอันล้ำค่าที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ทอง หินมีค่าต่าง ๆ โดยเฉพาะป่าไม้ แหล่งกำเนิดสรรพชีวิต ปลาใหญ่กินปลาน้อย คนต่างชาติรุกรานบ้านเราเพราะเป็นแหล่งไม้สักเนื้อดี คนในเมือง นักธุรกิจ เห็นช่องในการทำเงินจากสิ่งที่ธรรมชาติได้ลงทุนสร้างเอาไว้ เพียงแค่นำเครื่องมือเครื่องจักรเข้ามาทำอย่างไรก็ได้ที่จะนำสิ่งที่เรียกว่า "ไม้" ออกไปเพื่อขายให้ใครก็ได้ที่มีเงินซื้อ จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสี่ แล้วป่าของเราก็เริ่มหมดไป หมดไปเรื่อย ๆ

ประกอบกับการเจริญเติบโตของระบบทุนนิยม เป็นสร้างค่านิยมที่ค่อย ๆ คืบคลานเข้ามาแผ่และปลกคลุมวิถีชีวิตของสยามเมืองยิ้ม เมืองไทย เมืองพุทธ เมืองอันเงียบสงบ เพื่อสร้างความเจริญให้เทียบเท่ากับอารยะ การแข่งขันทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไฟฟ้า ประปา ถนน การสื่อสาร อาคาร สถานที่ต่าง ๆ วัฒนธรรมประเพณีที่ล้าหลัง ถูกปรับเปลี่ยนยกเลิก สิ่งสำคัญมากที่ถูกยกเลิกไปจากสังคมไทยก็คือ ค่านิยมในการรักและศรัทธาในตัวของตัวเอง ความศรัทธาในความเป็นไทย ถูกค่านิยมอันเลิศหรู ศิวิไลซ์ จากต่างประเทศ ผ่านพ่อค้าวานิช จากเมืองหลวง ผ่านหัวเมืองปริมณฑล จากตัวจังหวัด เข้าสู่ตัวอำเภอ และอย่างยิ่งยุคแห่งสารสนเทศ จากต่างประเทศเข้าถึงห้องนอนได้ภายในเสี้ยววินาที

“เงิน” ใครล่ะไม่อยากได้

นายทุนเข้ามาให้ตัดไม้ แต่ถ้าจะว่าไปคนเราก็ไม่ใช่เห็นเงินดีเสมอไป ยังมีคนดีอยู่ในกรุงศรีฯ เสมอ แต่ อำนาจของ “ลูกปืน” ซึ่งหมายความถึงชีวิต ความรักชีวิต ชีวิตลูก ชีวิตเมีย บางครั้งก็จำเป็นต้องทำ ทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ ก็หมดไป ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทรัพย์ในดินสินในน้ำก็ร่อยหรอลงไปเรื่อย ๆ บางส่วนเข้ามาหางานทำในบางกอก บางส่วนก็เริ่มที่จะลุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อุดสมบูรณ์ที่ยังเหลืออยู่น้อยนิด

เขาผิดไหม?

คนเราต้องการความอยู่รอด ไม่ทำก็อดตาย

ผ่านมาจนกาลปัจจุบัน รัฐบาลก็ทำการประกาศปิดป่า ยกเลิกสัมปทาน ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม และที่สำคัญเร่งฟื้นฟูอาชีพ เพื่อให้คนมีกิน มีใช้ และมีเงิน เพื่อจะได้หมุนเวียนแลกเปลี่ยนซื้อสินค้าให้ GDP เติบโต ตามเป้าหมายที่รัฐบาลได้วางไว้ ......

โปรดติดตามชมตอนต่อไปครับ : GDP กับความปัญหาความยากจนของเมืองไทย

หมายเลขบันทึก: 34708เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โดยส่วนตัว ผมคิดเสมอว่า ผืนป่าและต้นไม้เป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต ป่ายังมีความสามารถทำให้สิ่งที่ไม่มีชีวิตดูมีชีวิตชีวาได้  ผืนดินใดที่ไม่มีพรรณไม้ปกคลุม ก็เหมือนกับดินที่ตายไปแล้ว

ผมเห็นว่า การใช้ต้นทุนจากทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่จำเป็นในช่วงระยะเริ่มต้นของการพัฒนาชาติครับ

ทรัพยากรธรรมชาติบางประเภทที่ถูกนำมาใช้ สามารถสร้างตัวเองทดแทนขึ้นมาได้  เพียงแต่บ้านเมืองของเราพยายามวิ่งตามให้ทันประเทศอื่น ด้วยกระแสทุนนิยมมากจนความพอดี  พยายามเปลี่ยนแปลงไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม 

  • การนำทรัพยากรป่าไม้ของประเทศญีปุ่นมาใช้ภายในประเทศ พบว่า มีอัตราการผลิตภัณฑ์ไม้จากในประเทศน้อยมาก  ขณะที่ไม้ส่วนใหญ่ถูกนำเข้าจากต่างประเทศ
  • ญีปุ่นเคยเป็นประเทศอันดับต้นๆ ของผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้ทั้งก่อนและหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อเร่งพัฒนาประเทศ  
  •  แต่ในปัจจุบัน กลับมีการทำไม้จากป่าไม้น้อยมาก เนื่องจากประเทศของเขาประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติมากกว่าบ้านเรา จึงให้ความสำคัญกับพื้นที่ป่าไม้ในแง่ความปลอดภัยและความมั่งคงของชีวิตประชาชน 
  • นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายในการทำไม้ภายในประเทศ จะสูงกว่ารการนำเข้าไม้จากต่างประเทศมากครับ

อย่างไรก็ตามนโยบายการจัดการป่าไม้แต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมดา อาจจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและแผนพัฒนาประเทศด้วยกระมัง

ผมเอง ไม่ได้ติดตาม พรบ.ป่าชุมชน มานานแล้ว ไม่ทราบว่า ตอนนี้ส่งเรื่องถึงขั้นตอนไหน 

ในส่วนตัวผมคิดว่า พรบ.ป่าชุมชน น่าจะเป็นทางออกที่พึงพาได้ สำหรับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชุมชนที่มีความเข้มแข็งเพียงพอครับ

 

  • ข้อคิดเห็นของท่านอาจารย์จรัณธรมีค่ายิ่ง
  • ตอนนี้ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์ได้บวชเพื่อตอบแทนบุญคุณของคุณพ่อคุณแม่ ขอร่วมอนุโมทนาสาธุด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท