รายงานการพัฒนาโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยการบริหารแบบมีส่วนร่วม


การบริหารแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

ชื่อผลงานวิชาการ          รายงานการพัฒนาโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1โดยการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อผู้รายงาน                    นายรังสรรค์  เกิดศรี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนหนองหญ้าปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ

ปีที่รายงาน  2552

                   รายงานการพัฒนาโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1โดยการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการบริหารงานโรงเรียน   เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของชุมชนก่อนและหลังการพัฒนาโรงเรียนด้วยการบริหารแบบชุมชน มีส่วนร่วมในงานทั้ง 4 งาน คือ งานวิชาการ งานบริหารทั่วไป งานบุคคล และงานงบประมาณ และเพื่อประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง ในการพัฒนางานทั้ง 4 งาน คือ งานวิชาการ งานบริหารทั่วไป งานบุคคล และงานงบประมาณ ด้วยการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม ประชากรที่ใช้ในการรายงานการพัฒนาครั้งนี้ คือ  กรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง ในปีการศึกษา  2551 จำนวน 53  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) และแบบบันทึกต่างๆของโรงเรียน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และt-test( Dependent Samples)

                   ผลการพัฒนาปรากฏผลดังนี้

                           1.การพัฒนางานทั้ง 4 งาน คือ งานวิชาการ งานบริหารทั่วไป งานบุคคล และงานงบประมาณ โดยการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม  พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น มีงบประมาณในการจัดการศึกษามากขึ้น มีแผนปฏิบัติการประจำปีที่ตรงความต้องการ  ของชุมชนและชุมชนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนมากขึ้น

                           2.การมีส่วนร่วมของชุมก่อนและหลังการพัฒนาโรงเรียนโดยการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วมในงานทั้ง 4 งาน พบว่าก่อนและหลังการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                           3.การประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนหนองหญ้าปล้อง ในการพัฒนางานทั้ง 4 งาน โดยการบริหารแบบชุมชนมีส่วนร่วม พบว่า ชุมชนมีความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

หมายเลขบันทึก: 347020เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2010 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท