มุมหนึ่งของ KM ในเวทีนวัตกรรมหุ้นส่วนการพัฒนาในพื้นที่ (ตอนที่2 : กาฬสินธุ์)


มีหลายชุมชนที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการเรียนรู้ได้หลายอำเภอ ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมของการต่อยอดในการแก้ปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่คือการถอดองค์ความรู้ของ “ศูนย์การเรียนรู้” ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย รูปธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความรู้ความสามารถ ความมีภูมิปัญญา และพลังของประชาสังคม ในการมาร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาความยากจน

การจัดการความรู้ของเมืองกาฬสินธุ์กับจินตนาการใหม่ในการแก้จน

             เมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำก่ำ ซึ่งแปลว่า "น้ำดำ" เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในภาคอีสานมีความเจริญทางด้านอารยธรรม    ทั้งด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และทรัพยากร  มีหลายชุมชนที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการเรียนรู้ได้หลายอำเภอ  ผลผลิตที่เป็นรูปธรรมของการต่อยอดในการแก้ปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่คือการถอดองค์ความรู้ของ “ศูนย์การเรียนรู้” ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย  รูปธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความรู้ความสามารถ  ความมีภูมิปัญญา และพลังของประชาสังคม ในการมาร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขปัญหาความยากจน โดยได้ประสานหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องมาร่วมหารือ และวางแผนหาแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยึดพื้นที่กาฬสินธุ์เป็นฐานที่มั่น
             สถานการณ์ปัญหาสังคมและความยากจนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผ่านมาในปี 2548  พบว่า มีผู้มาลงทะเบียนความยากจน จำนวน 179,618 ราย คิดเป็นร้อยละ   18.49 ของจำนวนประชากรทั้งจังหวัด สาเหตุของปัญหา 3 อันดับแรก   คือ ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน ร้อยละ 48.99 ปัญหาที่ดินทำกิน ร้อยละ 48.99 และ ไม่มีที่อยู่อาศัย ร้อยละ 8.77     
             การเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในพื้นที่ 18 แห่ง ที่มีศักยภาพในการจัดกระบวนการเรียนรู้จากฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้านออมทรัพย์และสวัสดิการ  ให้เป็นกลไกหนุนเสริมแผนการแก้ปัญหาความยากจนของพื้นที่
             คำตอบที่ไม่ใช่สูตรสำเร็จสู่การสร้างความยั่งยืนในระดับพื้นที่  เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนความคิดของคน และพัฒนาพลังปัญญา ยึดหลัก “เศรษฐกิจพอเพียง” สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน
ศูนย์เกษตรวิถีธรรมะ ชนะความยากจน...รูปธรรมต้นแบบแก้จนในพื้นที่ 
            “ศูนย์เกษตรวิถีธรรมะ ชนะความยากจน” เป็น 1 ใน 18 ศูนย์เรียนรู้ชุมชนที่เกิดขึ้นไม่นานนักในจังหวัดกาฬสินธุ์ หลักการของศูนย์เรียนรู้เป็นการถ่ายทอดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้ออกมาเป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งแก้ปัญหาของชุมชนในระดับพื้นที่ และเชื่อมประสานการเรียนรู้ระหว่างพื้นที่ โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ ถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศูนย์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน 18 ศูนย์มีองค์ความรู้แตกต่างกัน เช่น ด้านสวัสดิการชุมชน วิสาหกิจชุมชน หัตถกรรม สมุนไพร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ และด้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น
             “ศูนย์เกษตรวิถีธรรมะ ชนะความยากจน” เป็นศูนย์เรียนรู้แห่งแรก ตั้งอยู่ที่วัดป่านาคำ บ้านโคกกลาง ตำบลจุมจัง อำเภอกุฉินารายณ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรธรรมะ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2544 เดิมวัดป่านาคำเป็นศูนย์พัฒนาคุณธรรมประจำจังหวัด ในโครงการกองทัพธรรมกองทัพไทยร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ต่อมาในปี พ.ศ.2546 ได้ขยายงานด้านการบำบัดให้ไปสู่การสร้างอาชีพ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่อยู่ประมาณ 20 ไร่ มีบ้านลักษณะกระท่อม 20 หลัง เพื่อให้สมาชิกเข้าไปทำการเกษตรอินทรีย์ และกำลังจะพัฒนาไปสู่เกษตรธรรมชาติ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างกลุ่มอาชีพหารายได้ จนชาวบ้านสามารถพึ่งตนเองได้ 
  
ด้วยรูปแบบการบริหารจัดการที่เรียบง่ายของศูนย์เรียนรู้
             การบริหารจัดการของศูนย์เรียนรู้ ได้กำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ง่าย ๆ ร่วมกัน คือ มีประธาน, รองประธาน เลขานุการ, เหรัญญิก และกรรมการ ในการเป็นคณะกรรมการศูนย์ฯ
             ภายใต้กติกาของกลุ่มที่รับรู้เงื่อนไขร่วมกัน ตามลักษณะการดำเนินงานเพื่อให้ เกิดระเบียบวินัยร่วมกันของสมาชิก
• สมาชิกต้องเข้าประชุมทุกวันที่ 10 ของเดือน
• ถ้าไม่มาประชุมเกิน 3 ครั้ง ให้ตัดออกจากสมาชิก
• หักเงินเข้ากองทุนเดือนละ 10 บาท
• สมาชิกต้องปลูกผัก ,ทำนาปลอดสารพิษ โดยใช้ปุ๋ยชีวภาพเท่านั้น
วิถีแห่งการเกื้อหนุน…จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้
            จากการมีพระนักพัฒนา (พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย เจ้าอาวาส วัดป่านาคำ) ปัจจุบันเป็นผู้นำในการดำเนินงานของศูนย์ฯ มีความสามารถในการประสานงานกับ ศตจ.ระดับจังหวัด และฐานการเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้ และด้วยความเชื่อว่าของสมาชิกที่เห็นว่า “การทำเกษตรคือทางรอด” ดังนั้น จึงใช้เกษตรอินทรีย์เป็นอาวุธในการแก้ปัญหาความยากจน การนำเอาประสบการณ์การแก้ปัญหาความยากจนของตนเอง / ชุมชน ถ่ายทอดสู่ผู้อื่นที่สนใจ จนเกิดเครือข่ายเรียนรู้ กระจายภายในจังหวัดอย่างชัดเจน ประกอบกับศูนย์การเรียนรู้มีสมาชิกที่เข้มแข็งมีประสบการณ์ในด้านเกษตรอินทรีย์ รวมทั้งกระแสสังคมสนใจการบริโภคผักปลอดสาร นโยบายรัฐบาลประกาศให้กสิกรรมไร้สารพิษเป็นวาระแห่งชาติ
  
พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย  เจ้าคณะตำบลจุมจัง
ศูนย์พัฒนาคุณธรรม จ.กาฬสินธุ์
วัดป่านาคำ เลขที่ 106  หมู่ 6  บ้านโคกกลาง  ต.จุมจัง  อ.กุฉินารายณ์  จ.กาฬสินธุ์
ศักยภาพที่เป็นผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ชุมชน 
             การดำเนินการศูนย์เรียนรู้ชุมชน ช่วยให้ทัศนคติและพฤติกรรมของสมาชิก  มีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างแบบแผนในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง และพึ่งตนเอง  เกิดมีผู้นำในการเปลี่ยนแปลงในชุมชนที่เป็นแบบอย่างที่ดี
             การถ่ายทอด มีการถ่ายทอดประสบการณ์ ซึ่งเป็นการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งในระหว่างสมาชิกและภายนอกจากประสบการณ์จริง ทำให้เกิดการพัฒนาทักษะจากประสบการณ์ตรง และเกิดเครือข่ายเพิ่มขึ้น ความเข้มแข็งและความยั่งยืน มีกลุ่มเข้มแข็งสามารถแสวงหาแหล่งทุนและระดมทุนในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ จากสมาชิก ในชุมชน และภายนอก  
 
            ตัวอย่างการดำเนินการของศูนย์เรียนรู้เพื่อเอาชนะความยากจน จวบจนมาถึง ณ วันนี้ ถือเป็นภาพความพยายามสร้างให้คนเกิดการเรียนรู้ และเชื่อมั่นในศักยภาพตนเอง และหากมองศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่ใน จ.กาฬสินธุ์ หลายชุมชนมีความสามารถที่จะพัฒนาเป็นผู้นำในการสร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเชื่อว่าการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ของชุมชนในทิศทางข้างหน้า ซึ่งเริ่มต้นจากศักยภาพของคนในชุมชน ควรที่จะได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายในพื้นที่ทั้งในด้าน การพัฒนาหลักสูตรและทักษะการถ่ายทอด การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ โดยเฉพาะในการขยายผลศูนย์เรียนรู้ในการเป็นเจ้าภาพแก้ไขความยากจน ให้กว้างขวางต่อเนื่องครอบคลุมในพื้นที่ร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สนองต่อการแก้ปัญหาความยากจนภายในจังหวัดที่มากกว่านี้
            ดังที่ว่า “ศูนย์เรียนรู้ให้ปลาฉัน 1 ตัว ฉันมีกิน 1 วัน แต่ถ้าสอนฉันจับปลา ฉันจะมีกินตลอดไป”
หมายเลขบันทึก: 34670เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2006 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
  • เป็นชุมชนที่น่าสนใจนะครับ

ผมเป็นนักเรียนที่ไปอบรมที่วัดของพระอาจารย์ จากจังหวัดมุกดาหารคับ

ก็นอยากบอกว่าคิดถึงพระอาจารย์คับ

พี่ทศไปไหน


พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย  เจ้าคณะตำบลจุมจัง
ศูนย์พัฒนาคุณธรรม จ.กาฬสินธุ์
วัดป่านาคำ เลขที่ 106  หมู่ 6  บ้านโคกกลาง  ต.จุมจัง  อ.กุฉินารายณ์  จ.กาฬสินธุ์

อยากได้เบอร์ติดต่อ พระมหาสุภาพ พุทธวิริโย  ผมเณรอ๋อนะ ที่เคยอยู่ด้วยกันที่วัดแสงสรรค์ กุฏิหลวงตาเล็กครับ อยากได้เบอร์ติดต่อ ครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท