สหรัฐอเมริกา : เหตุการณ์ U-2 1960 (The U – 2 Incident 1960)


เหตุการณ์  U-2 1960 (The U – 2 Incident 1960)

 

เครื่องบิน  U-2

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/1960_U-2_incident)

                U-2 เป็นเครื่องบินพิเศษ (เครื่อบินกึ่งเครื่องร่อน) บินได้สูงสามารถพ้นรัสมีการตรวจของเครื่องเรดาร์ ผลิตโดยบริษัท ล๊อคฮีท (Lock Heat Company) ในแคริฟอร์เนียเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๕๓ กองทัพอากาศสหรัฐได้ใช้เครื่องบิน U – 2 บินตรวจสอบสภาพอากาศ

                ในเวลาปี ค.ศ. ๑๙๖๐  เป็นช่วงเวลาที่โลกต้องประสบกับภาวะสงครามเย็น (Cool War 1945 – 1991) เป็นสงครามอุดมการณ์ทางความคิดที่แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่ายเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และ ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยโซเวียตรัสเซีย ทั้งสองทำสงครามทางด้านจิตวิทยา เช่น การชักนำประเทศต่าง ๆ เข้ามาเป็นพวกพ้องโดยให้กับสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศ การแข่งขันกันผลิตอาวุธ แข่งขันกันทางด้านวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญที่สุดคือการแข่งขันทางด้านการข่าว เครื่องบิน U–2 ได้ถูกนำมาใช้ในสงครามเย็นโดยหน่วยข่าวกรองของอเมริกา (CIA) ในภารกิจบินจรกรรมในพื้นที่รัสเซีย

                ต้นปี ค.ศ. ๑๙๖๐ หน่วยข่าวกรองจัดส่งนักบินที่สามารถขับเครื่องบิน U–2 ให้ประจำการที่ฐานทัพอากาศอเมริกาในตุรกี (ติดกับพรมแดนรัสเซีย) กำหนดให้นักบอนแอบปฏิบัติการณ์บินในน่านฟ้ารัสเซียเพื่อตรวจดูความเคลื่อนไหวของรัสเซีย   ในช่วงแรกรัสเซียเองก็ล่วงรู้ถึงปฏิบัติการลับนี้   แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดยืนยัน

 

Francis Gary Powers ผู้ขับเครื่อง U-2

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Francis_Gary_Powers)

                ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๑๙๖๐ นักบินเครื่อง U–2 ชื่อ ฟรานซีส จี. เพาเวอร์ส (Francis Gary Powers) ได้รับคำสั่งให้ขับเครื่องบิน U–2 จากตุรกีเข้าน่านฟ้ารัสเซียเพื่อทำการจรกรรมภาพถ่ายพื้นที่ของโซเวียรัสเซีย โดยให้บินไปลงที่นอร์เวย์  ระหว่างบินในน่านฟ้ารัสเซียนั้น รัสเซียทำการยิงเครื่อง U–2 จนขัดข้องต้องร่อนลงจอดฉุกเฉินในพื้นที่ของรัสเซีย และต้องยอมจำนนด้วยหลักฐานการบินจรกรรม

 

Nikita Sergeyevich Khrushchev

ผู้นำโซเวียตรัสเซีย

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Nikita_Khrushchev)

                รัสเซียรายงานให้โลกรับรู้ทันทีในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๑๙๖๐ ในพฤติกรรมของอมเริกาทันที และ นิกิต้า ครุฟชอฟ (Nikita Sergeyevich Khrushchev) ผู้นำโวเวียตรัสเซียออกมาประกาศในวันที่ ๗ พฤษภาคม ๑๙๖๐ ว่านักบินยังมีชีวิตอยู่แต่ถูกจับกุมเพราะถือว่าเป็นสายลับ จึงเพิ่มความตึงเครียดให้กับภาวะสงครามเย็นมากขึ้นที่สำคัญคือ เพิ่มความบาดหมางให้กับโซเวียตรัสเซียกับสหรัฐอเมริกา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถูกขนานนามว่า เหตุการณ์ The U–2 Incident 1960 ซึ่งก่อนหน้านี้มีแนวโน้มว่าสถานการกำลังจะคลี่คลายไปด้วยดี กล่าวคือนิกิต้า ครุฟซอฟ ได้ไปเยือนสหรัฐอเมริกา พักผ่อนที่แคมป์เดวิท (Camp Daid : บ้านพักประธานาธิบดีในรัฐเมรี่แลนด์) หารือกับประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) เพื่อลดความตึงเครียดของภาวะสงครามเย็น โดยเฉพาะการลดการผลิตอาวุธสงครามร้ายแรงเช่นระเบิดไฮโดรเจน และเชิญประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ไปเยือนโซเวียตรัสเซียในเดือนมิถุนายน ๑๙๖๐

 

 Dwight D. Eisenhower

34 th President of the United States

(ที่มาhttp://en.wikipedia.org/wiki/Dwight_D._Eisenhower)

 

ผลจากเหตุการณ์ U -2 ปี ๑๙๖๐

                ๑. ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกาออกมาประกาศในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๑๙๖๐ ว่าเป็นผู้สั่งให้เครื่องบิน U – 2 ทำการปฏิบัติการณ์ในครั้งนี้

                ๒. ในวันเปิดประชุมสหประชาชาติที่ปารีส ๑๖ พฤษภาคม ๑๙๖๐   ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ ประกาศยกเลิกใช้เครื่อง U–2 ปฏิบัติการจรกรรมและจะไม่มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก และนิกิต้า ครุฟซอฟประกาศยกเลิกการเชิยประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์เยือนรัสเซีย

                ๓. ระหว่างการประชุมสุดยอกที่กรุงปารีสมีการกล่าวหากันระหว่างผู้ร่วมประชุมจากฝ่ายโลกเสรี และฝ่ายโลกคอมมิวนิสต์ ส่งผลให้การประชุมล้มเหลว

                ๔. ผลการพิพากษาที่กรุงมอสโคว์ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๙ สิงหาคม ๑๙๖๐ ฟรานซีส จี. เพาเวอร์ส ถูกพิพากษาเป็นสายลับต้องโทาจำคุก ๑๐ ปี แต่ในปี ๑๙๖๒ รัสเซียปล่อย ฟรานซีส จี. เพาเวอร์สกลับสหรัฐอเมริกาเพื่อแลกกบัสายลับรัสเซียที่ชื่อ อดอลฟ เอเบล (Adolf Abel) ซึ่งถูกทางสหรัฐอเมริกาจับตัวไว้ก่อนหน้านี้

                ในภาวะสงคราม การข่าวถือว่าเป็นหัวใจซึ่งถ้าฝ่ายใดมีข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามมากเท่าใด ก็หมายถึงชัยชนะ ดังตำราพิชัยสงครามซุนวูกล่าวไว้ว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ไม่อาจให้อภัยได้หากรู้ว่าตนกำลังถูกจรกรรมการข่าว

 

วาทิน ศานติ์ สันติ : เรียบเรียง

อ้างอิง

อรพินท์ ปานนาค, รศ..ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ๒๕๕๑.

http://en.wikipedia.org/wiki/Nikita_Khrushchev. สืบค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://en.wikipedia.org/wiki/Dwight_D._Eisenhower.  สืบค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://en.wikipedia.org/wiki/Francis_Gary_Powers. สืบค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓.

http://en.wikipedia.org/wiki/1960_U-2_incident. สืบค้นเมื่อ ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๓.

หมายเลขบันทึก: 345896เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คอมเม้นต์เป็นกำลังใจกันหน่อยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท