Learning Organization : การเรียนรู้ตลอดเวลา (Personal Mastery)


มอบวิถีแห่งการเรียนรู้ชีวิตให้กับผู้ร่วมงาน แล้วผู้ร่วมงานของเราทุก ๆ คนจะใฝ่การเรียนรู้ในทุก ๆ เวลา

ในความเป็นจริงคนเรานั้นมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา แต่เราควรที่จะย้อนกลับมาทำความเข้าใจก่อนว่า ประเภทของความรู้นั้นมีอะไรบ้าง

1. เรื่องที่จำเป็นต้องรู้ คือ เรื่องชีวิตและ “ลมหายใจ”
2. เรื่องที่ควรรู้ คือ เรื่องงานที่เราต้องรับผิดชอบ ในที่นี่ (LO) เราต้องส่งเสริมการเรียนรู้ของความรู้ในชั้นนี้
3. เรื่องที่รู้ก็ได้ไม่รู้ก็ได้ คือ เรื่องสัพเพเหระ เรื่องหนัง เรื่องละคร เรื่องใครจะตีรันฟันแทงกับใคร คนในองค์กรของเราเรียนรู้ความรู้ชั้นนีมากไปหรือเปล่า...?

เรื่องแรกนั้นเป็นความรู้พื้นฐานของชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่เรา “จำเป็นต้องรู้” ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับร่างกายของเรา เราจะรู้ได้ก็ด้วยการหมั่นพิจารณากาย มองกายของเราซึ่งสามารถทำได้ในทุกลมหายใจ ซึ่งในที่นี้ (LO) บางครั้งเราอาจจะมองว่า ไม่จำเป็นและไม่เป็น “สาระ” แต่แท้ที่จริงแล้ว การที่เราจะก้าวขึ้นบันไดขั้นที่ 2 คือ การไปเรียนรู้เรื่องการ เรื่องงาน เรื่องหน้าที่ เราต้องผ่านบันไดขั้นที่ 1 คือ ต้องเรียนรู้เรื่องชีวิตของตนเองให้ชำนาญ

เช่นเดียวกับการทำ R2R ถ้าหากจะไปให้คนหน้างานเริ่มต้นวิจัยงานของตนเอง มันก็ทำได้อยู่ แต่ไม่มั่นคงและถาวร เนื่องจากยังได้ก้าวเท้าลงในบันไดขั้นแรก เพียงแต่เราพยายามที่จะให้เขากระโดดขึ้นไปในขั้นที่สอง ถึงแม้นจะกระโดดข้ามไปได้บางครั้งก็ข้อเท้าเคล็ด ซึ่งนั่นจะมีปัญหาเมื่อเราจะต้องก้าวไปเจอความรู้ในสังคมที่หมักหมมไปด้วยกิเลส เพราะเราไม่มีพื้น ไม่มีฐานที่จะคัดกรองความรู้ที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น โดยเฉพาะความรู้ที่เป็นโทษไม่เกิด “ประโยชน์”

ผู้บริหารองค์กรแห่งการเรียนรู้ ต้องเห็นคุณค่าในการเรียนรู้เรื่อง “ชีวิต” อย่างจริงจัง
ต้องแสดงให้ผู้ร่วมงานทุกคนเห็นว่า ความรู้ในชีวิตนี้เป็นความรู้ที่สำคัญที่สุดที่เราจะต้อง “เรียนรู้”
เพราะถ้าหากผู้บริหารเรียนรู้ชีวิตตัวเองแล้ว ก็ไม่ใช่เป็นการยากเลยที่จะเข้าใจชีวิตของผู้ร่วมงาน

ในทุกวันนี้เราได้แต่สั่งให้เขาเรียนรู้ แต่เรายังไม่เขาใจพฤติกรรมการเรียนรู้
เอกสาร หรือตำรานั้น ไม่สามารถครอบคลุมบุคคลหลายพันล้านคนได้ แต่หากว่าเราเรียนรู้และเข้าใจตัวเราเพียงคนเดียว เราก็สามารถที่จะเข้าใจวิถีแห่งการเรียนรู้ของคนทุกคนได้

เมื่อเหยียบข้าซ้ายลงในบันไดขั้นที่หนึ่ง ขาขวาก็จะยกขึ้นไปเหยียบบนบันไดข้างที่สองเอง เพราะร่างกายของคนนั้นเป็น “อัตโนมัติ”
ทุก ๆ คนรักความก้าวหน้า และพยายามที่จะพัฒนาตนเองให้ดีไปกว่าจุดเดิมที่ยืนอยู่

มอบวิถีแห่งการเรียนรู้ชีวิต (Learning life method)ให้กับผู้ร่วมงาน แล้วผู้ร่วมงานของเราทุก ๆ คนจะใฝ่การเรียนรู้ในทุก ๆ เวลา

ไม่ว่าจะทำอะไร หรือก้าวไปทางไหน บอกกับเขาว่าทุก ๆ อย่างที่เขาสัมผัสนั้นเป็นความรู้
พยายามจัดกระบวนการเรียนรู้ในทุกสถานที่ ทุกเวลา
การจัดกระการเรียนรู้นั้นทำได้เพียงแค่เราพูด คุย ซักถาม “ให้ความสนใจ”
ผู้บริหาร ผู้จัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้มีหน้าที่พูด มีหน้าที่คุย ต่อยอดความรู้เล็ก ๆ ในทุกย่างก้าวของเขา เพื่อที่จะบอกเขาว่าทุก ๆ อย่างถ้ารักที่จะรู้ก็สามารถที่จะเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

ผู้บริหารไม่ควรรอแต่วันที่จะประชุม สัมมนาเพื่อที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้
ถ้าเราสร้างวัฒนธรรมเรียนรู้แบบโต๊ะกลม คือ รอวันที่มานั่งล้อมวงก่อนแล้วบอกเขาว่านี่คือ “การเรียนรู้” เขาก็จะต้องรอการเรียนรู้แบบนั้นอยู่วันยังค่ำ

การสร้างการเรียนรู้ตลอดเวลานี้อยู่ที่ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ที่จะบอกเขาว่าเวลาใดคือการเรียนรู้
ถ้าเราทำให้เขาเห็นว่าทุก ๆ เวลาคือการเรียนรู้ เขาก็จะเรียนรู้ได้ในทุกเวลา
ถ้าเราทำให้เขาเห็นเพียงว่า เวลาที่มีวิทยากรมา หรือเวลาที่บริษัทกำหนดไว้ว่านี่คือช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ เขาก็จะรอที่จะเข้าร่วมเรียนรู้เฉพาะในเวลานั้น
ถ้าหากเป็นต้องรอเข้าประชุมได้ถึงจะเรียนรู้ การเรียนรู้นั้นก็เป็นเพียงกิจกรรม กิจกรรมที่ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
แต่ถ้าหากเดินไปเรียนรู้ไป การเรียนรู้นั้นก็จะค่อย ๆ ผ่องถ่ายเข้าไปในสายเลือด ใน “ชีวิต...”

อย่าพึงมองว่าความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นไม่มีประโยชน์
ความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นคือสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นสามารถรวมกันเป็นพลังที่จะสร้างสรรค์ชีวิตแห่งการเรียนรู้ (Life's Learning)

 

หมายเลขบันทึก: 345891เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2010 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท