โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง( 12) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง (3)ที่สวนทิพย์รีสอร์ท รายงานการประชุม


18-3-53

(ร่าง )สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการสร้างทีมงานในระบบพี่เลี้ยง

ตามโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง ปี 2553 รุ่นที่ 1

วันที่ 4 –5 มีค. 2553

ณ บ้านทิพย์สวนทองรีสอร์ท  อ.บางคนที จังหวัดสมุทรสาคร

 

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2553

 

เปิดการประชุม เวลา 09.00 น. โดย นายแพทย์ศิริศักดิ์ วรินทราวาท รองอธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมทั้งบรรยายเรื่อง วิสัยทัศน์และนโยบายกรมควบคุมโรคด้านการป้องกันควบคุมโรคในงานสาธารณสุขโดยได้ได้บอกถึงวิสัยทัศน์ของกรมซึ่งมีการเพิ่มเติมจากเดิมพร้อมสื่อความหมายของวิสัยทัศน์   ท่านยังกล่าวว่าหลายอย่างในวิสัยทัศน์ไม่ได้อยู่ในแผนงานกรม         

 

ในช่วง10.30-12.00  มีการนำเสนอ แนวทางการดำเนินงานการศึกษาปัญหาสาธารณสุขโดยน้องเลี้ยงซึ่ง อภิปรายโดย นายแพทย์  จรุง เมืองชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ   นพ. มงคล   อังคศรีทองกุล  ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค และนางสุจิตรา อังคศรีทองกุล  ผู้ทรงคุณวุฒิ  กรมควบคุมโรค  นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักระบาดวิทยา  นายแพทย์จีรพัฒน์ ศิริชัยสินธพ    รักษาการในตำแหน่ง นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง

 

                      เรื่องที่ 1 แพทย์หญิงปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สถาบันบำราศนราดูร นำเสนโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุขเรื่องการวางแผนครอบครัวและปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนครอบครัวในกลุ่มสตรีที่ติดเชื้อเอชไอวี ในสถาบันบำราศนราดูร           โดยได้เสนอความก้าวหน้าที่มีการปรึกษากับแพทย์ภายในและภายนอก         จากการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของกรมอนามัยทราบว่าถ้าโครงการได้ผลดีก็จะเอาผลไปใช้ในหน่วยต่างๆ       ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินการคือ   ได้รับมอบภารกิจมากขึ้น    มีเวลาปรึกษากับพี่เลี้ยงน้อย และขาดประสบการณ์การทำโครงการวิจัย   อจ.สุจิตราให้ดูเรื่องความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์กรมและนพ.จรุงให้เพิ่มเนื้อหาเพิ่มเติมในbackgroundว่ามีคนทำกันมากน้อยเพียงไร  การใช้คำถามที่เป็นstructure questionnaire เหมาะหรือไม่  

 

เรื่องที่ 2 นางสาวพนมพร ปิยะกุล  นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคฯ นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่ออำนาจการต่อรองให้คู่นอนใช้ถุงยางอนามัย และพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยของสตรีที่สมรสในโรงงานอุตสาหกรรมเขตกรุงเทพมหานคร”    ขณะนี้รอผ่านคณะกรรมการวิจัยกรมโดยเล่าถึงการขาดประสบการณ์การทำวิจัย   ต้องมาเขียนตามคำแนะนำจากหนังสือที่ได้มาจากสำนักKM ที่ละข้อ  พี่เลี้ยงได้ให้กำลังใจโดยแนะนำว่าการทำโครงการจะทำให้เรามีความเก่งขึ้นในทุกๆด้าน  และแนะนำเรื่องทำไมต้องทำที่โรงงาน   การให้ความหมายของอำนาจต่อรอง  อจ.สุจิตรา อยากให้พี่เลี้ยงช่วยน้องมากกว่านี้ และอยากเห็น career path ของน้องเลี้ยงที่ชัดเจน

  ในช่วง13.00-14.30 น  มีการบรรยายเรื่องการเสนอโครงการเพื่อการพิจารณาโดยคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย โดยนพ. ศุภชัย ฤกษ์งาม  นพ. ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค โดยท่านเล่าว่าถึงเป็นโอกาสดีที่ได้มาพบนักวิชาการแนวหน้า   การทำวิจัยต้องมีจริยธรรมมากขึ้น   ขณะนี้กว่าจะได้พิมพ์ในวารสารต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ( ทางด้านคลินิก  )      วัตถุประสงค์ของการบรรยาย เพื่อพัฒนาการดำเนินงานและคุณภาพงานวิจัยของ กรมควบคุมโรค     และปกป้องสิทธิ และสวัสดิภาพของของผู้ถูกวิจัย…โครงการวิจัยที่ต้องเสนอให้คณะกรรมการฯพิจารณา เป็นโครงการวิจัยในคน   มีบุคคลากรของกรมฯ ร่วมวิจัย    ใช้สถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ และ สิ่งอำนวยความสะดวกของกรม…แนวทางปฎิบัติ ในการส่งโครงการวิจัย…และขั้นตอนการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ.

หลังการบรรยายมีการนำเสนอโครงการต่อ 

 

เรื่องที่ 3 นางสาวจีรวรรณ ชงจังหรีด นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ สคร.ที่ 2 จังหวัดสระบุรี นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “การสำรวจการใช้สารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมีสำหรับควบคุมโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สคร.2 จังหวัดสระบุรี ปี2553” โดยแจ้งว่าได้รับการโอนเงินเมื่อ 2 มีค.53      มีการสร้างเครื่องมือหาความเที่ยงตรง  แจ้งหัวหน้าท้องถิ่นของจังหวัดต่างๆ          มีการนำเสนอภาพของสารเคมีที่ใช้ต่างๆกันซึ่งท้องถิ่นจะได้ข้อมูลจากผู้ขาย      ไม่มีข้อมูลทางวิชาการสนับสนุนเลย     ปัญหาของโครงการคือหน่วยงานคิดว่าเป็นงานส่วนตัว ไม่ใช่งานองค์กร        พี่เลี้ยงให้ความชื่นชมและผู้บังคับบัญชาจะช่วยสร้างความเข้าใจให้ผู้บังคับบัญชาทราบ

 

เรื่องที่ 4นำเสนอโดยนพ.ไพโรจน์.    จากสคร  ....นำเสนอโครงการ วิจัย       สถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยระหว่าง ปีงบประมาณ 2550-2552    วัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาความชุกของผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานในประเทศไทยระหว่างปีงบประมาณ 2550 -2552   (1 ตค. 49 – 30 กย. 52)    วัตถุประสงค์รองคือ  1 เพื่อศึกษารูปแบบการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา หลายขนานของประเทศไทย    2    เพื่อศึกษารูปแบบการใช้ยารักษาวัณโรคแนวที่สองของประเทศไทย  3 เพื่อศึกษาการผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลาย ขนานของประเทศไทย 4 เพื่อศึกษาระบบการรักษา ส่งต่อ และรายงานผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานของโรงพยาบาล        เนื่องจาก ไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคมาก   และ อัตราของ MDR-TB อาจจะต่ำกว่าความเป็นจริง      ปัญหาคือเรื่องของ   เวลา   งาน ประจำ  และ  Moral Support

 

เรื่องที่ 5 นายสีใส ยี่สุ่นแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สคร.ที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “การศึกษาความทันเวลาการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรฐาน ของหน่วยงานระดับปฏิบัติการ ในพื้นที่ สคร.9 จังหวัดพิษณุโลก   ได้เสนอความก้าวหน้าว่าได้มาอบรมระบาดวิทยาที่นครนายก    การทำงานมีความก้าวหน้าดี   น่าจะทำได้ทัน

วลา 16.00-17.00น  มีการอภิปรายเรื่องน้องเลี้ยงในความฝันของข้าพเจ้าโดย พญ ฉายศรี….นพ มงคล  อังคศรีทองกุล และนพ. สมัย  กังสวร ผุ้อำนวยการสคร3 ชลบุรีโดยมาเล่าถึงสิ่งที่อยากได้โดยพญ.ฉายศรีอยากให้น้องเลี้ยงมีความรักการควบคุมโรค   กล้าฝัน   มองชุมชนเป็นฐาน ที่โรงพยาบาลเป็นยอดน้ำแข็ง   มีความรู้ระบาดวิทยาพร้อมแจกหนังสือApplied Epidemiology คนละเล่ม     นพ.มงคล อยากได้น้องที่รู้จักองค์กรดี     มีความสามารถทางวิชาการ    เก่ง ดี  วิเคราะห์และสังเคราะข้อมูลเป็น   มีมารยาท        นพ.สมัยเล่าว่าไม่เคยฝัน        แต่ แนะนำว่าปัญหาของกรมมี 3 เรื่องที่ต้องดูแลคือ   1 ความ  smart ของคนกรม     2  การสร้างตัวตายตัวแทน    3  การหาคนเก่งคนดีเข้ามาทำงาน       กรมน่าจะมีการตอบสนองมากขึ้นโดยมี     excellence center   ปัญหาที่กรมต้องคิดคือ    บทบาท อบต.  สปสช.   โลกร้อน   คนในกรมน้อยลง        สิ่งที่ต้องทำคือทำสิ่งที่จังหวัดทำไม่ได้      โดยการสร้างคนดีที่มีอยู่เดิมโดยพัฒนาและให้ incentive ที่ไม่ใช่ตัวเงินเช่น C9 ทุกตำแหน่ง         ฝันอยากได้น้องเลี้ยงที่  เก่งดี สมองไว นิสัยดี มีไฟ ทำงานกับคนอื่นได้  เป็น ผู้ประสานที่ทีดี   เป็น producerที่ดี     เป็นFA ได้   ประสาน10ทิศ     มีการ เตรียมเป็นmentorที่ดี

 

             วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2553

    เวลา  8.30น   อจ.วันทนีย์  วัฒนาสุรกิตต์     บรรยายเรื่องการติดตามพัฒนาศักยภาพน้องเลี้ยงเพื่อยุทธศาสตร์แห่งความสำเร็จ โดยดู4 ข้อคือ   1 ความพึงพอใจ 2 ความเข้าใจหลักสุตร  3  เพิ่มเติมความรู้ทางวิชาการ  4  ทักษะการบริหาร     ท่านเล่าถึงวิธีเรียนรู้  หัวใจของการพัฒนาความเชี่ยวชาญ ต้องมีความรู้ทักษะด้านกว้าง   การออกแบบการจัดการเรียนรู้ของน้องเลี้ยงในโครงการนี้เป็นแบบ  backward design      

 

   เวลา 9.00น  บรรยายเรื่อง   New challenges for disease control systems   การวิเคราะห์เชิงระบบและระบบสาธารรสุขที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคในอนาคต โดยนพ. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข  ผู้อำนวยการสถาบัยวิจัยระบบสาธารรสุข 

              ท่านเล่าว่าประเทศไทยยังขาดคนคิดเชิงระบบ     คนที่เป็น outliner ต้องมี3ข้อคือ 1    IQ ถึง    2   มีโอกาสทำงาน    3 มีเวลาการทำในเรื่องที่สนใจอย่างน้อง10000ชั่วโมงหรือ 10 ปี       และเล่าถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อระบบการควบคุมโรคดังนี้

 .Changes of demand

     1 ประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มเป็น ¼ ในปี  2030

       2 Epidemiological transition

จาก  infectious diseases to NCD (chronic conditions) and diseases related to behaviour

Emerging and re-emerging infectious diseases

3 Strength of civic groups, NGOs and ICT

       4 Globalization and global movements of population

Care for the elderly from developed countries

Care for the foreigners (medical hub) and immigrants

Movements of healthcare professions-brain drain?

 

Health system changes  

1   Public sector reform    2  Decentralization  3  Establishment of several autonomous agencies under MOPH  4 Adjustment of MOPH under these changes     5  Effect of public contract model under UC and SSS

Poor provider patient relationship and increasing concern on human aspect of health care (humanized healthcare: HHC)

Increasing role of private provider and professional organization in policy process

No fault approach for compensation of patient’s damage from medical treatment

 

New challenges for DCS

Redefine roles and functions of DCS at different levels (central/provincial/local)

Local decision and response with central support

System design at local level

Development of its governing structure to involve new/potential partners at all levels but still maintaining technical integrity

Autonomous agencies

Local authorities

Civic groups and NGOs

Private companies???

Adoption of new policy process (i.e. NHA)

System capacity building based on KM approach and structural development?

How can KM be used in existing training programs?

How can existing structure (with rigid regulations?) be developed based on new knowledge?

How can KM be used to strengthen learning network?

KM vs. intelligent unit within DDC?

The use of ICT and social network in system development

 

นพ.ศุภมิตร  ได้กล่าวชื่นชมที่อาจารย์มาเล่าถึงความคิดเชิงระบบและคิดว่าเป็นการฟังทีดีที่สุดของปีนี้   พี่เลี้ยงและน้องเลี้ยงฟังแล้วต้องเข้าใจว่าเกี่ยวกับเราอย่างไร   งานของน้องเลี้ยงต้องทำในรูปของงานที่ทำแล้วพอใจ   ส่วนความมุ่งมั่นจะค่อยเกิดเองโดยไม่ต้องไม่ตั้งใจมุ่งมั่นต่อโครงการมากไป

 เวลา 10.00 น. ได้มีการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานศึกษาปัญหาสาธารณสุขของน้องเลี้ยง (ต่อ) จำนวน 4 เรื่อง อภิปรายโดย นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ  กรมควบคุมโรค       นายแพทย์ จีรพัฒน์  ผู้ทรงคุณวุฒิ  กรมควบคุมโรค              นพ. พรศักดิ์    พญ.ฉายศรี    และนายแพทย์โสภณ    เอี่ยมศิริถาวร

 

เรื่องที่  5 นายจักรกฤษณ์ พลราชม นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการสำนักโรคติดต่อทั่วไป นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “ การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในชุมชน: กรณีศึกษาโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ”  โดยพี่เลี้ยงแนะนำให้ดูเรื่องการแบ่งเวลา   ความสำเร็จของพื้นที่คืออะไร   เรียนรู้คนที่ทำคล้ายๆเราเพื่อมาปรับปรุง

 

เรื่องที่ 6  แพทย์หญิงอรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ  นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “ การกำหนดทิศทางของแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ : มุมมองของกรมควบคุมโรค ” โดยได้ไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิตามที่ต่างๆ        นพ ศุภมิตรชมว่าเป็นpolicy research ที่ดีเพราะเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วนของกรม   อ.สุจิตราแนะนำให้ใช้policy cycle มาช่วย   รอง สมศักดิ์แนะนำให้เอาไปให้ส่วนที่เกี่ยวข้องในกรมดูก่อนนำเสนอผู้บริหารกรม  นพ.พรศักดิ์  เสนอว่าต้องintegrate g-hkอบต. เพราะทั้งเงินและคนอยู่ที่อบต.  

เรื่องที่ 7  นายนัพวุฒิ ชื่นบาน นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สคร.ที่ 1 กรุงเทพฯ นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “การประเมินความเสี่ยงจากการใช้ก๊าซแอมโมเนียในอุตสาหกรรมผลิตน้ำแข็งเขตกรุงเทพมหานคร”    พี่เลี้ยงแนะนำให้เอาเรื่องการจัดการความเสี่ยงมาช่วย

 

เรื่องที่ 8   นางดารณี จุนเจริญวงศา นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี นำเสนอโครงการศึกษาปัญหาสาธารณสุข เรื่อง “พัฒนากรอบการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แบบครอบคลุมเบ็ดเสร็จ (Comprehensive   Surveillance)   เพื่อการสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคระดับเขต กรณีศึกษาโรคเบาหวาน   ความดันโลหิตสูง    หัวใจขาดเลือด    ปัญหาอุปสรรคอยู่ที่เป็นเรื่องไม่ตรงกับภาระงาน   แต่ยังมีความสุขที่ได้ทำ   พี่เลี้ยงแนะนำว่าเป็นเรื่องที่ยากและมีrisk factorมาก  อาจอาศัยNCD smart มาช่วย

ปิดการนำสนอโดยรองอธิบดี  นพ. สมศักดิ์    ขณะนี้เราอยู่ใน minor step เพื่อเข้าไปสู่major step ที่ทำให้กรมเราเก่งขึ้น

สรุปบทเรียนของการประชุม

1สิ่งที่คาดหวัง  มีการนำเสนอโครงการทีมีการพัฒนา   พี่เลี้ยงและน้องเลี้ยงมีการคุยกันและทราบปัญหาอุปสรรคของโครงการ

2สิ่งที่ได้มา   ทราบความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคของการทำโครงการของน้องเลี้ยง

การจัดสถานที่สดวกเพราะอยู่ใกล้กรุงเทพ  พี่เลี้ยงไปมาสะดวก    ผู้ทรงคุณวุฒิผลัดกันมา เพราะเห็นความสำคัญ     น้องมาทุกคนนอกจากน้องบางคนไม่ว่าง     น้องเลี้ยงชี้ให้เห็นปัญหาทำให้กรรมการสามารถนำมาพิจารณาในการทำโครงการในปีต่อไปเช่น หลักการคัดพี่และน้องเลี้ยงโดยทำโครงการให้เกิดประโยชน์แก่หน่วยงานและทีมงาน

การเชิญ ผอ. สคร. ของน้องเลี้ยงเข้ามาร่วมประชุมทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัญหาของน้องเลี้ยงแต่ละคนซึ่งอาจจะต้องขอความช่วยเหลือจากพี่เลี้ยงและผู้บริหาร

 3 สิ่งที่ต้องพัฒนา        พัฒนาการเลือกน้องเลี้ยงที่มีการคิดโครงการเป็นทีมและเสนอเรื่องที่ทีมและผู้บริหารสนใจทำให้ได้รับการสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้อง                                                                                                  

คำสำคัญ (Tags): #talent management
หมายเลขบันทึก: 345307เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2010 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท