โครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัย


Academic excellence ของระบบมหาวิทยาลัยไทย จะเกิดขึ้นได้จริง แข่งขันได้กับประเทศอื่น จะต้องมีการยกเครื่องระบบ human resources ของสถาบันอุดมศึกษา


          เมื่อวันที่ ๔ มี.ค. ๕๓ มีการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ที่ สกอ. เรื่องความเข้มแข็งของสภามหาวิทยาลัย   ที่จะเป็นพลังขับดันความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย

          ศ. ดร. ศุภชัย ยาวะประภาษ ได้ชี้ให้เห็นภาพใหญ่ที่อาจจะเป็นอุปสรรคที่อุดมศึกษาไทยจะก้าวหน้า เข้มแข็งทางวิชาการอย่างแท้จริง   คือการที่โครงสร้างทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยเป็นโครงสร้างที่ผิด   ทำให้มหาวิทยาลัยไทยปรับตัวแข่งขันกับมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะในภูมิภาคนี้ไม่ได้ 

          โครงสร้างที่ผิด คือการที่อาจารย์เข้าไปทำหน้าที่ด้านธุระการหรืองานจัดการ ที่ควรเป็นหน้าที่ของบุคลากรสายสนับสนุน มากเกินไป   จนทำให้อาจารย์เสียเวลาไปกับงานที่ไม่ควรเป็นหน้าที่ของอาจารย์   มีผลให้อาจารย์ไม่มีเวลาทุ่มเทกับการทำหน้าที่ด้านวิชาการ   หากสภาพนี้ดำเนินต่อไป มหาวิทยาลัยไทยจะล้าหลังทางวิชาการ    เมื่อมหาวิทยาลัยในประเทศอื่นๆ เขาปรับตัว มีระบบการทำงานที่ให้เวลาอาจารย์มุ่งมั่นทำงานวิจัยและงานวิชาการอื่นๆ ได้อย่างจริงจังต่อเนื่อง 

          โครงสร้างที่ถูกต้อง (ดูของสหรัฐอเมริกาและยุโรปเป้นตัวอย่าง)   บุคลากรของมหาวิทยาลัยมี ๒ สาย   คือสายวิชาการ (teaching staff) กับสายจัดการ ถือเป็น supporting staff   ทั้งสองสายต้องได้คนดีและเก่ง และมีความภูมิใจในการทำหน้าที่ของตน    เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่มหาวิทยาลัย 

          เวลานี้ ระบบกำลังคนของมหาวิทยาลัยไทย ไม่ให้ความสำคัญ ไม่ให้เกียรติ ไม่ให้ค่าตอบแทนสูงตามความรับผิดชอบ แก่บุคลากรสายสนับสนุน   คนเก่งในสายนี้จึงลาออกไปทำงานอื่นที่ได้รับการยอมรับสูงกว่า 

          ตกสาย ท่านที่ปรึกษาโอภาส เขียววิชัย และ ผอ. ขจร จิตสุขุมมงคล มาคุยเรื่องการดำเนินการด้านวินัยและกฎหมายในมหาวิทยาลัย   คุยกันจนขยายออกมาที่ปัญหามหาวิทยาลัยขาดนักกฎหมายเก่งๆ    เพราะรักษาคนเก่งไว้ไม่ได้   เนื่องจากหน่วยงานอื่นเขาให้การยอมรับและการตอบแทนสูงกว่า 

          Academic excellence ของระบบมหาวิทยาลัยไทย จะเกิดขึ้นได้จริง แข่งขันได้กับประเทศอื่น   จะต้องมีการยกเครื่องระบบ human resources ของสถาบันอุดมศึกษา

 

 

วิจารณ์ พานิช
๔ มี.ค. ๕๓
                       
        

หมายเลขบันทึก: 345194เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2010 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ประศักดิ์ ถาวรยุติการต์

เห็นด้สวยอย่างยิ่ง นอกจากนี้เจ้าหน้าธุรการก็มีมากเกินไป เพราะว่างานซำซ้อนระหว่างคณะ และสำนักงานอธิการบดี

เห็นด้วย อีกคนหนึ่งค่ะ

"Academic excellence ของระบบมหาวิทยาลัยไทย จะเกิดขึ้นได้จริง แข่งขันได้กับประเทศอื่น จะต้องมีการยกเครื่องระบบ human resources ของสถาบันอุดมศึกษา"

ช่องว่าง ระหว่าง supporting staff และ teaching staff คือ ความเลื่อมล้ำของระบบ และ supporting staff ไม่ใช้ศักยภาพของตนเอง ให้สนับสนุน teaching staff อย่างแท้จริง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท