การประกันคุณภาพห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัย 2


ทำการทดสอบทุกวันก่อนให้บริการ

ห้องปฏิบัติการรังสีวิทยา

หมายรวมถึงการให้บริการ  การใช้ทรัพยากรต่างๆตั้งแต่ผู้ให้บริการ  เครื่องมือ อุปกรณ์ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วแต่สิ่งที่ปรากฏจะเห็นได้ในรพ.ที่อยู่ในเมือง แต่ในชนบท ค่อนข้างไม่ค่อยได้พบเทคโนโลยี่แบบสมัยกันเท่าไร 

บางแห่งยังทำการถ่ายภาพรังสีจากเครื่องเอกซเรย์รุ่นเก่าๆ และยังล้างภาพรังสีด้วยมือ OH? (manual  processing)เขย่า hunger กันแขนโตเลย สูดดมสารเคมีกันตั้งแต่จบมาจนปัจจุบัน

แต่อย่างไรก็ต้องมีการพัฒนา  และการประกันคุณภาพเพื่อความปลอดภัยของผู้มารับบริการและผู้ให้บริการ

อุปกรณ์ที่ต้องทดสอบหรือตรวจสอบภายนอกทุกวันตามหลัก WHO

ตู้ดูฟิล์มทำความสะอาดด้านนอกให้สะอาดอย่าให้มีคราบติดที่แผ่นอะคิริกด้านส่องดูฟิล์มอาจทำให้เป็นอุปสรรค์ได้

การรักษาความสะอาดเครื่องเอกซเรย์ โดยเฉพาะเตียงเอกซเรย์ที่ผู้ป่วยนอนถ่ายภาพต้องไม่เป็นที่  ที่แพร่เฃื้อ(สกปรก)ควรทำความสะอาดทุกครั้งที่บริการผู้ป่วยเสร็จเพื่อเตรียมรับคนต่อไป

หลอดเอกซเรย์มีการอุ่นหัวหลอดทุกวันโดยการกดเอกซเรย์ที่ให้ปริมาณรังสีตำๆก่อนเริ่มทำงานทุกวัน พร้อมฟังเสียงผิดปกติขณะเตรียม และกดเอกซเรย์ เพื่อการแก้ไขที่ทันทีก่อนจะเกิดการเสียหายแก่หลอด

ด้านกลและ กลไกทางไฟฟ้า  ตรวจสายไฟ AC  ระบบล๊อค ระบบเลื่อนของหัวหลอด สวิทซ์ต่างๆ  hand switch   การรั่วซึมของนำมันที่หัวหลอด สายไฟแรงสูงที่ขั่วต่อ ระบบเลื่อนของเตียงที่ 2 way 4-6way  ปุ่มสวิทซ์ค่าต่างๆ ว่าทำงานปกติหรือไม่

ตู้ contrrol ระบบกราวด์ (สายดิน)ต้องมีและใช้งานได้ไม่ใช่พนักงานตัดหญ้าตัดขาดเมื่อไรก็ไม่ทราบ(อย่าเล่นกับไฟแรงสูง)

การทดสอบปฏิกิริยาของนำยาสร้างภาพ(Devenloper) ตั้งแต่เรื่องอุณหภูมิ ค่า PH  ค่าความถ่วงจำเพราะ 

การทดสอบซิลเวอร์ ที่ติดไปกับฟิล์ม ถ้าเราล้างคราบซิลเวอร์ออกจากฟิล์มไม่หมดพอสักระยะฟิล์มหรือภาพรังสีที่เราเก็บไว่ติดตามผลการรักษาจะเหลืองมีคราบอาจมองไม่เห็นภาพรังสีเลยก็ได้

คาศเซทภายนอกดูแลความสะอาด ระบบล๊อคใช้งานได้ดี แสงไม่รั่วได้

อปกรณ์ที่ช่วยจัดท่าผู้ป่วยสะอาดไม่มีคราบเลือด เฝือกเพราะจะเกิดFB ในฟิล์มได้

เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ ต้องดูแลความสะอาดให้ทั่วไม่ควรมีคราบน้ำยาติดตามที่ต่างๆ เพราะคราบน้ำยาสร้างภาพถ้าถูกกับอากาศจะเกิดการทำปฏิกิริยากันเป็นสีน้ำตาลเข้มจะเห็นรอยเปื้อนชัดเจน  ถาดส่งฟิล์มต้องไม่สกปรก  ช่องรองรับฟิล์มที่ล้างแล้วก็ต้องสะอาดไม่มีฝุ่นผง  ตรวจสอบตัวหนังสือ(digital)ที่แสดงหน้าเครื่องว่ายังใช้ได้อยู่ ถังน้ำยาเติมสะอาดมองเห็นระดับน้ำยาที่เหลือได้   ที่กรองน้ำเข้าเครื่องใช้งานได้ปกติ ถอดล้างทำความสะอาดใส้กรองบ่อยๆ   ระบบดูดกลิ่นน้ำยาใช้งานได้ตลอดเวลา  ไม่มีกลิ่นน้ำยารบกวนผู้ปฏิบัติงานและผู้มารับบริการ

ห้องล้างฟิล์มมีกลิ่นสะอาด พนังไม่มีเชื้อรา(ความชื่นสูง) ห้องมืดสนิทไม่มีแสงรอดเข้าได้  สะอาดไม่มียากไย่ ไยมองมุม ฝุ่นผง ถ้าสกปรกฝุ่นอาจปลิวลงในคาสเซทเวลาเอกฟิล์มออกล้างได้โดยเฉพาะห้องล้างฟิล์มที่ใช้พัดลมเพดาน

สถานที่เก็บฟิล์มหรือตู้เก็บฟิล์มที่ยังไม่ได้ใช้งานต้องปลอดภัยจากแสงรังสี ความชื้น และมีอุณภูมิเหมาะสมตั้งตรวจสอบทุกวัน เพราะถ้าไม่เหมาะสมฟิล์มก็จะเสื่อมสภาพเร็ว ความไวต่อแสง   สะกรีนจะลดลง  การเก็บฟิล์มและการนำออกมาใช้ต้องเป็นระบบ เข้าก่อนใช้ก่อน  การวางกล่องฟิล์มก็วางแนวตั้งอย่าซ้อนทับกันเพราะจะเกิดการกดทับอาจเป็นรอยในฟิล์มได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 344878เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้ไฟล์งาน "คูมือปฏิบัติงานประกันคุณภาพ ห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัย (Quality assurance workbook) ปี 2554 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไม่ทราบว่าพอมีให้ดาวน์โหลด หรือจะดาวน์โหลดได้ที่ไหน....ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท