การบริหารจัดการในสถานศึกษา


การบริหารจัดการในสถานศึกษา

            การบริหารจัดการในสถานศึกษาทั้ง   4 ด้าน ใช้กรอบการบริหารของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล  โดยนําหลักการว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี   ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า    “ธรรมาภิบาล”        ไดแก หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม   หลักความโปร่งใส   หลักการมีสวนรวม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่ามาบูรณาการในการบริหารและจัดการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งใหกับโรงเรียนในฐานะที่เปนนิติบุคคลดวย โดยนำหลักธรรมาภิบาลดังกล่าวมาบูรณราการเขากับการดําเนินงานดานตาง ๆ  ของสถานศึกษาซึ่งไดแก  การดําเนินงานดานวิชาการ  งบประมาณ  บริหารงานบุคคล  และบริหารทั่วไป  และเปาหมายในการจัดการศึกษาคือทําใหผูเรียนเปนคนดี  เกง  และมีความสุข

    

1.ด้านวิชาการ

           งานวิชาการเปนงานหลัก  หรือเปนภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542 และที่แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มุงใหกระจายอํานาจในการบริหารจัดการไปใหสถานศึกษาใหมากที่สุด ดวยเจตนารมณที่จะใหสถานศึกษาดําเนินการไดโดยอิสระ คลองตัว รวดเร็ว  สอดคลองกับความตองการของผูเรียน  สถานศึกษา ชุมชน ทองถิ่น  และการมีสวนรวม จากผูมีสวนไดเสียทุกฝาย ซึ่งจะเปนปจจัยสําคัญทําใหสถานศึกษามีความเขมแข็งในการบริหารและ    การจัดการ สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรูตลอดจนการวัดผลประเมินผล รวมทั้งการ      วัดปจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ทองถิ่น ไดอยางมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

2.ด้านงบประมาณ

          การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษามุงเนนความเปนอิสระ ในการบริหารจัดการมีความคลองตัว โปรงใส ตรวจสอบได ยึดหลักการบริหารแบบมุงเนนผลสัมฤทธิ์ และบริหารงบประมาณแบบมุงเนนผลงาน ใหมีการจัดหาผลประโยชนจากทรัพยสินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายไดจากบริการมาใชบริหารจัดการเพื่อประโยชนทางการศึกษ  สงผลใหเกิดคุณภาพที่ดีขึ้นตอผูเรียน

3.ด้านบุคลากร

         การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษา    เปนภารกิจสําคัญที่มุงสงเสริมใหสถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา    เพื่อดําเนินการดานการบริหารงานบุคคลใหเกิดความคลองตัว อิสระภายใตกฎหมาย ระเบียบ เปนไปตามหลักธรรมาภิบาลขาราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาไดรับการพัฒนา มีความรู  ความสามารถ  มีขวัญกําลังใจ  ไดรับการยกยอง เชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและกาวหนาในวิชาชีพ ซึ่งจะสงผลตอการพัฒนาคุณภาพการ ศึกษาของผูเรียนเปนสําคัญ

4.ด้านการบริหารทั่วไป

          การบริหารทั่วไปเปนงานที่เกี่ยวของกับการจัดระบบบริหารองคกร  ใหบริการบริหารงานอื่น ๆ  บรรลุผลตามมาตรฐาน  คุณภาพและเปาหมายที่กําหนดไว  โดยมีบทบาทหลักในการประสานสงเสริม  สนับสนุนและการอํานวยการ ความสะดวกตาง  ๆ  ในการใหบริการการศึกษาทุกรูปแบบ  มุงพัฒนาสถานศึกษาใหใชนวัตกรรมและเทคโนโลยีอยางเหมาะสม  สงเสริมในการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  ตามหลักการบริหารงานที่มุงเนนผลสัมฤทธิ์ของงานเปนหลักโดยเนน ความโปรงใส  ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได  ตลอดจนการมีสวนรวมของบุคคล  ชุมชนและองคกรที่เกี่ยวของ เพื่อใหการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

           งานกิจการนักเรียนเป็นงานที่มุ่งให้นักเรียนมีคุณภาพในการดำเนินชีวิต ส่งเสริมให้นักเรียนมีกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมและมีหน้าที่ดูแลนักเรียน ชี้นำให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อีกทั้งมีทักษะชีวิต    นำไปสู่การนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในชีวิตจริง

หมายเลขบันทึก: 344752เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2010 13:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท