จากระด่นลันได เมื่อต้นรัตนโกสิทร์ ถึง ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะ ในกรุงเทพมหานคร


ทำไมบางคนเจอปัญหาร้อยแปดพันเก้า ถูกทำให้สูญหายโดยพี่น้องของตนเองเพียงเพื่อการแย่งมรดกกัน หรือการไม่ยอมรับคนคนนี้เพียงเพราะว่าเขาขี้เมา คนคนนี้ต้องผ่านการล่วงละเมิดทางเพศ ถูกบังคับให้ขายบริการจนตนเองมีอาการทางประสาท ต่าง ๆ นานา ในแต่ละปัญหาของแต่ละคน ทำไมเขายังสู้อยู่ได้ละ แต่ในทางกลับกันทำไมสังคมมองว่าเขาขี้เกียจ คุณพิพากษาว่าเขาขี้เกียจซึ่งในความเป็นจริงคุณได้รู้หรือเปล่าว่าคนคนหนึ่งที่หลุดออกจากโลกของความเป็นจริง

บทละครเรื่อง ระเด่นลันได ถ้าอ่านโดยไม่ทราบเค้ามูล ก็คงจะเข้าใจว่า เป็นบทแต่งสำหรับ เล่นละครตลก แต่ความจริง ไม่เป็นเช่นนั้น หนังสือเรื่อง ระเด่นลันไดนี้ที่แท้เป็นจดหมายเหตุ เรื่อง ระเด่นลันได เป็นหนังสือแต่งในรัชกาลที่ ๓ เล่ากันมาว่า ครั้งนั้น มีแขกคนหนึ่งชื่อ ลันได ทำนองจะเป็นพวกฮินดู ชาวอินเดีย ซัดเซพเนจร เข้ามาอาศัยอยู่ที่ใกล้โบสถ์พราหมณ์ ในกรุงเทพฯ เที่ยวสีซอขอทานเขาเลี้ยงชีพ พูดภาษาไทยก็มิใคร่ได้ หัดร้องเพลงขอทานได้เพียงว่า "สุวรรณหงส์ถูกหอกอย่าบอกใคร บอกใครก็บอกใคร" ร้องทวนอยู่แต่เท่านี้ แขกลันไดเที่ยวขอทาน จนคนรู้จักกันโดยมากในครั้งนั้น มีแขกอีกคน ๑ เรียกกันว่า แขกประดู่ ทำนองก็จะเป็นชาวอินเดีย เหมือนกัน ตั้งคอกเลียงวัวนม อยู่ที่หัวป้อม (อยู่ราวที่ สนามหน้าศาลสถิตยุติธรรม ทุกวันนี้) มีภรรยา เป็นหญิงแขกมลายู ซื่อประแดะ อยู่มาแขกลันได กับแขกประดู่ เกิดวิวาทกัน ด้วยเรื่องแย่งหญิงมลายูนั้น โดยทำนองที่กล่าวในเรื่องละคร คนทั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องขบขัน ก็โจษกันแพร่หลาย พระมหามนตรี (ทรัพย์) ทราบเรื่อง จึงคิดแต่งเป็นบทละครขึ้น


แต่หลายคนคงสงสัยว่า เรื่องนี้ สะท้อนภาพ อะไรของคนไร้บ้าน หรือผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ที่พยายามจะอธิบายก็คือว่า เรื่อง ระเด่นลันได นี้ชี้ให้เห็นว่า คนเร่ร่อน คนไร้บ้าน หรือผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ นั้นมีมาตั้งแต่หลายยุคหลายสมัย ไม่ใช่พึ่งมีเหมือนที่หลาย ๆ คนในสังคมเข้าใจ และในนามของจดหมายเหตุนั้นชี้ว่ามันถูกเขียนออกมาจากเรื่องราวจริง ที่ผู้เขียนพยายามที่จะถ่ายทอดออกมา และอยู่ในละแวกเสาชิงช้า คอกวัว เรื่อยมาบริเวณนั้น มานานแสนนาน


“ระเด่นลันไดเที่ยวสีซอขอข้าวกินตามตลาดเสาชิงช้า หน้าโบสถ์พราหมณ์ มีทหารหมาคอยเห่าหอนเฝ้ายามให้ พอโพล้เพล้ใกล้ค่ำก็สุมควันไล่ยุงแล้วนอนสูบกัญชาบนเสื่อลำแพนจนเมาพับ พอตะวันโด่งก็ตื่นขึ้นมาอาบน้ำล้างหน้าทาดินสอพอง สวมกางเกงขาดๆ สวมประคำดีควายสะพายยาม ถือกระบองกันหมาแล้วเที่ยวสีซอไปตามทางเหมือนอย่างเคย” ประโยคที่ถูกแปลตรงนี้ ก็ไม่ต่างจากวิถีชีวิต ของผู้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะเลยแม้ แต่น้อยอาบน้ำก็อาบน้ำในคลองกันส่วนใหญ่ หรือที่ใคร ๆ คุ้นเคย คือ คลองหลอด แม่น้ำเจ้าพระยา สมัยก่อนนั้นมีการสูบกัญชา แต่สมัยนี้คือการติดเหล้า ใส่เสื้อผ้าขาด ๆ มีถุงหรือกระเป๋ายาม ซึ่งภาพที่สะท้อนออกมานั้นก็ไม่แตกต่างจากยุคนี้ที่ผู้ที่ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะเป็นอยู่กัน


“สูงระหงทรงเพรียวเรียวรูด
งามละม้ายคลายอูฐกะหลาป๋า
พิศแต่หัวตลอดเท้าขาวแต่ตา
ทั้งสองแก้มกัลยาดังลูกยอ
คิ้วก่งเหมือนกงเขาดีดฝ้าย
จมูกละม้ายคล้านพร้าขอ
หูกลวงดวงพักตร์หักงอ
ลำคอโตตันสั้นกลม
สองเต้าห้อยตุงดังถุงตะเคียว
โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม
มันน่าเชยน่าชมนางเทวี ฯ”


ถ้าฟังจากการบรรยายถึงโฉมงามของนางประแดะ ที่นายประดู่ มองว่าสวยจับตาจับใจ ตรงนี้สะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตคู่ ที่คนไร้บ้าน เห็นผู้หญิง หรือคนที่เลือกมาใช้ชีวิตคู่ในถนน หรือพื้นที่สาธารณะ ร่วมกันนั้น ก็ไม่แตกต่างจากนางประแดะ ที่สังคมมองว่าสกปรก หน้าตาดูไม่ได้ แต่เขามองว่าสวย ตัวอย่างเช่น ยายนาง ที่ตัวดำ อ้วนกลม ผมยุ้งเหยิง แต่ก็มีสามี ในพื้นที่ที่ตนออกมาใช้ชีวิต หรือเรียกอีกแบบคือ ผู้ชายที่ดูแลเขา ผ่านมาแล้ว 2 คน คนปัจจุบัน เป็นคนที่สาม ซึ่งวิถีชีวิตก็ไม่ได้แตกต่างกัน


เมื่อกล่าวถึงวรรณคดี เรื่องนี้แล้ว ณ ปัจจุบัน ไม่สามารถหาตอนจบได้ (แต่เสียดายอยู่ที่ บทตอนท้ายในเล่มนี้ ยังขาดฉบับเดิมอยู่ สักสามฤาสี่หน้ากระดาษ เนื้อเรื่องที่ขาดเพียงใด) เมื่อเปรียบเทียบกับคนในสนามหลวง หรือผู้ที่ออกมาใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ นั้น สุดท้ายแล้วก็ไม่มีอะไรที่เป็นคำตอบในการแก้ปัญหา อย่างตายตัว แต่ละคน ก็แต่ละวิธี แต่ละคนก็มีแนวปัญหา หรือแนวทางที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในการทำงานที่อิสรชนกำลังทำอยู่นั้น ที่สังคมบางส่วนสงสัยว่าทำไมต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี บางคนใช้เวลาแค่ 6 เดือน เพราะแต่ละคนมีปมปัญหา หรือปมในใจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะแก้คลิกของปมนั้นได้เร็วกว่ากัน เพราะฉะนั้น การทำงานที่สำคัญที่อิสรชนพยายามบอก ก็คือว่า คนเหล่านี้เขาต้องการแค่เพื่อน ที่พร้อมจะฟัง จะพูดคุย หรือมองเขาด้วยสายตาที่เขาเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่เหมือนกับเรา ๆ ทั่วไป อิสรชนบอกอาสาสมัครทุกคนว่าเราไม่ได้ลงมาสอนเขาแต่เราลงมาเพื่อเรียนรู้เขา เขาคือครูที่สามารถสอนอะไรเราได้มากมาย

 

 


ทำไมบางคนเจอปัญหาร้อยแปดพันเก้า ถูกทำให้สูญหายโดยพี่น้องของตนเองเพียงเพื่อการแย่งมรดกกัน หรือการไม่ยอมรับคนคนนี้เพียงเพราะว่าเขาขี้เมา คนคนนี้ต้องผ่านการล่วงละเมิดทางเพศ ถูกบังคับให้ขายบริการจนตนเองมีอาการทางประสาท ต่าง ๆ นานา ในแต่ละปัญหาของแต่ละคน ทำไมเขายังสู้อยู่ได้ละ แต่ในทางกลับกันทำไมสังคมมองว่าเขาขี้เกียจ คุณพิพากษาว่าเขาขี้เกียจซึ่งในความเป็นจริงคุณได้รู้หรือเปล่าว่าคนคนหนึ่งที่หลุดออกจากโลกของความเป็นจริงนั้นเขาพบเจออะไรมาบ้าง ถ้าเป็นคุณแล้วคุณจะเข้มแข็งและมีชีวิตอยู่ได้อย่างเขาหรือไม่ คุณจะดิ้นรนเช่นไรเมื่อมาอยู่ถนน และไม่มีเงินสักบาท ไม่มีอะไรติดตัวเลยสักสิ่งเดียว มีแค่ตัวเปล่า ๆ คุณจะใช้ชีวิตอย่างไรในถนน เพื่ออยู่ได้มานานถึง 30 ปี ในบางคน สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่สะท้อนว่าเขาไม่ได้ขี้เกียจอย่างที่เราเข้าใจ


หรือแม้แต่ตัวละครของระเด่นลันไดเอง ที่นายประดู่ เป็นชาวอินเดีย พูดไทยไม่ค่อยได้ ร้องได้เพียงประโยคเดียว แต่ก็ขอทานเลี้ยงชีวิตตนเองเพื่ออยู่รอด สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราควรได้เรียนรู้และร่วมกันแก้ปัญหา คุณก็สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ เพียงแค่มีใจอยากจะมาเรียนรู้ โดยไม่มีกรอบเกณฑ์ใด ๆ มาด้วยใจ มาร่วมเป็นอาสาสมัครกับอิสรชนได้ที่ 086-628-2817 หรือ ใครสนใจบริจาคสนับสนุนกิจกรรมได้ที่ ธ.กรุงไทย สาขาเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชื่อบัญชี สมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน เลขบัญชี 031-0-03432-9 ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 344455เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 11:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท