เราวิจัย เพื่อใคร...?


ในวันนี้เรากำลังครอบ Research Methodology แบบนี้ (ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) ลงไปกับคนหน้างานนั้นหรือไม่...?

ในบันทึกนี้ขอย้อนกลับไปทบทวนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์จากการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง R2R (Research to Routine) อย่างแท้จริง

เพราะในปัจจุบันที่มีหลายฝ่าย หลายองค์กรกำลังพัฒนา R2R อย่างเต็มที่ แต่ดูเหมือนว่าหลาย ๆ ฝ่ายนั้นจะประสบปัญหาคล้าย ๆ กันก็คือ “คนหน้างาน” ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนใจที่จะทำ “วิจัย” อย่างที่ผู้ร่างนโยบาย กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ใน Action plan ที่เสนอเพื่อของบประมาณหรือทำ TOR กับหน่วยงานเบื้องบนไว้นั้น

สิ่งนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องย้อนกลับมานึกถึงผลประโยชน์ที่แท้จริงจากการทำ R2R ในครั้งนี้ว่า เราทำไปเพื่อให้เกิดผลประโยชน์กับใคร (Who)

เพราะหลังจากที่ผมเองได้เห็น ได้พบ ได้เจอทั้งจากการสังเกตุและพบเจอกับเหตุการณ์จริงหลาย ๆ ครั้ง (ขอย้ำว่าเป็น Tacit Knowledge และตีความจากความคิดเห็นส่วนตัว) ก็พบว่ามีการมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของคนทำงานมากกว่าลูกค้า (Customers)

หรือว่าหลักการของ R2R นี้จะใช้หลักการเดียวกันกับการสร้างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ตามอนุกรมมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) คือ สร้างมาตรฐานภายในทั้งในส่วนของคนและกระบวนการผลิต โดยมุ่งหวังว่าเมื่อกระบวนการผลิตดี คนดี สิ่งที่มอบให้ “ลูกค้า” จะดีตาม ซึ่งถ้า R2R ดำเนินนโยบายตาม ISO สิ่งที่ผมกล่าวมาแล้วก็จะกล่าวต่อไปนั้นจะผิดทั้งหมดผมจึงขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

แต่ทว่าความเป็นจริงที่ผมเห็นก็คือ ผลประโยชน์จากงบประมาณภาษีของประชาชนส่วนใหญ่นั้นแทนที่จะย้อนกลับไปยังประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คนป่วย” นั้นกลับผลิดอกออกผลอยู่กับคนหน้างานที่ได้ผลงานทางวิชาการ ตำแหน่ง รายได้และเกียรติยศ (ซึ่งผมเองอาจจะแต่เฉพาะคนส่วนน้อยที่ไม่ค่อยดีครับ ต้องขออภัยคนดี ๆ ไว้อีกครั้งหนึ่ง)

 แท้ที่จริงแล้วผมเขียนบันทึกนี้ขึ้นมาก็ด้วยเพราะฉุกใจคิดขึ้นมาจากคำถามที่ว่า “ทำไมนะ คนหน้างานถึงไม่ชอบทำการวิจัย...?”
เมื่อผมได้เห็นคำถามนี้ผมก็คิดต่อขึ้นมาโดยทันทีว่า อะไรคือการวิจัยที่เราคิด และอะไรคือการวิจัยที่คนหน้างานคิด
เพราะตั้งแต่ในคำถามแรกที่ผมเกริ่นนำไว้แล้วว่า เราต้องทบทวนถึงเรื่องของ “ประโยชน์จากการวิจัย” กันให้แน่ชัดว่า เราวิจัยกันนี้เพื่อประโยชน์แก่ใคร เพื่อประโยชน์ต่อคนหน้างาน หรือเพื่อประโยชน์ต่อลูกค้า

ถ้าคนหน้างานในที่นี้เป็นอาจารย์ลูกค้าที่กล่าวถึงนี้ก็คือ “ลูกศิษย์” หรือถ้าคนหน้างานนี้เป็นหมอและพยาบาล คนหน้างานนี้ก็คือ “คนป่วย”

เราทำ R2R กันนี้เพื่อประโยชน์กับ “อาจารย์หรือลูกศิษย์…?”

เราทำ R2R กันนี้เพื่อประโยชน์กับหมอ พยาบาลหรือว่าคนไข้...?”

ถ้าเป็นในส่วนของคนหน้างานไม่ว่าจะเป็นหมอ เป็นพยาบาล เป็นอาจารย์หรือเป็นใครก็ตามนั้น สัญชาตญาณของคนย่อมต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองเพื่อความอยู่รอดเป็นธรรม แล้วนักวิชาการ R2R นี้เรียกการพัฒนาตามสัญชาตญาณนี้ว่าเป็น R2R หรือเปล่า
คนเราทุกคนนั้น “ไม่ได้โง่” คือ รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นลำบาก ไม่ดี แล้วจะไม่รู้จักแก้ไข ทุก ๆ คนนั้นย่อมแก้ไขในงานของตัวเองอยู่ทุก ๆ วันเป็นปกติและธรรมดาอยู่แล้ว แล้วสิ่งที่เขาแก้ไขในทุก ๆ วันเป็นเรื่องปกติธรรมดาแบบนั้นนักวิชาการ R2R จัดเรียกว่าเป็นการวิจัยหรือเปล่า...?

อย่างเช่นมีคุณหมอคนหนึ่งมาเล่าให้ผมฟังว่า เธอเป็นคนที่หาเส้นคนไข้ (เวลาที่จะฉีดยาหรือแทงเข็ม) เก่งที่สุดใครหาไม่ได้เธอหาได้ การทำแบบนี้เรียกว่าการวิจัยแบบ R2R หรือเปล่า...?

หรือยกตัวอย่างให้ง่ายไปกว่านั้น แค่บนโต๊ะของหมอ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาล เวลาเขาจะจัดเรียงเอกสาร เขาจะทำสีนั้น สีนี้ หาชั้น หาโต๊ะ หาคลิปอะไรมาหนีบเพื่อให้เขาทำงานได้เร็วขึ้น การพัฒนาหน้างานแบบนี้เรียกว่า R2R หรือเปล่า...?

หรือว่าการที่ผมยกตัวอย่างมาคร่าว ๆ นี้มัน “ธรรมดา” เกินไป
หรือว่าการที่ผมยกตัวอย่างมาคร่าว ๆ นี้มันไม่อยู่ใน Action Plan หรือ TOR ที่เขียนไว้ จึงไม่จัดเข้าข่ายเป็นการวิจัยแบบ R2R

ที่ผมยกตัวอย่างและกล่าวมานี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ปัญหาของ R2R ในทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ว่าคนหน้างานไม่ยอมทำ หรือไม่อยากทำ R2R หรือว่าปัญหาที่เจอกันนั้นเป็นเพราะว่าสิ่งที่คนหน้างานทำกันอยู่เป็นธรรมดา ๆ พัฒนางานของตนเองนั้นอยู่นอกเหนือกรอบทฤษฎีหรือ TOR ของนักวิชาการที่รับผิดชอบงานนี้...?

เมื่อเราพูดถึงการวิจัย เรามักจะคิดถึง Research Methodology ซึ่งเป็นอะไรที่แสนน่าเบื่อ อย่าว่าแต่คนทำงานเลย นักเรียน นักศึกษาไม่ว่าจะระดับใด แค่พูดถึงวิชาวิจัยก็เบินหน้าหนีกันทั้งนั้น

ในวันนี้เรากำลังครอบ Research Methodology แบบนี้ (ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) ลงไปกับคนหน้างานนั้นหรือไม่...?

ถึงแม้ว่า R2R จะนิยามว่าเป็น “การวิจัยที่เนียนเข้าไปในเนื้องาน” แต่การที่จะนำอะไรที่แสนน่าเบื่อใส่เข้าไปในเนื้องานนั้นเป็นอะไรที่คนหน้างานมักจะเกิดการต่อต้านเป็น “ธรรมดา” อยู่แล้วตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยิน

ตอนนี้ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นถึงลำดับและ Timing ของการเข้าก่อนและเข้าหลังอีกครั้งหนึ่ง
ถ้าหากเราจะตั้งการวิจัยแล้วใส่ให้เนียนเข้าไปในเนื้องานนั้นก็แบบหนึ่ง
แต่ถ้าหากเราเดินเข้าไปหน้างานแล้วชูหรือยกให้เขาเห็นว่าสิ่งที่เขาทำนั้นแหละคือ “การวิจัย” นั้นก็อีกอย่างหนึ่ง

เพราะเวลาส่วนใหญ่ที่เห็นจากการลงไปจัดกิจกรรม R2R ก็เห็นแต่ว่าเข้าไปจัดกิจกรรมกลุ่ม อยู่ในห้องประชุมก็ดี หรือรายล้อมอยู่ในโต๊ะ เก้าอี้เป็นส่วนมาก (สายตาของผมอาจจะมองได้ไม่กว้างขวางนัก)
ถ้าหากเราคิดว่า คนจะมาทำวิจัยโดยกิจกรรมแบบนี้น้อย ผมก็เห็นด้วย เพราะผมคนหนึ่งก็ยังไม่เห็นประโยชน์จากการทำกิจกรรมกลุ่มแบบนี้เท่ากับการพัฒนางานของตนเองที่ทำอยู่เป็น “ประจำ”

แต่ถึงอย่างไรเมื่อผมกลับไปอ่านคำนิยามของ R2R ซ้ำแล้ว ซ้ำอีกนั้น ผมก็จะเข้าใจได้ว่าคือการพัฒนาของคนที่ปฏิบัติงานประจำ (ซึ่งผมอาจจะเข้าใจผิด) แต่ความจริงที่ผมเห็น ผมกลับเห็นภาพลักษณ์ขอว R2R ที่ปรากฎจริงอีกอย่างหนึ่งคือ การดึงคนงานออกจากหน้างาน แล้วจัดเป็นกิจกรรมกลุ่ม ประชุม สัมมนา ต้องมีคนนำ มีวิทยากร

กระบวนการนี้ผมก็ขออนุญาตกล่าวพาดพิงไปถึงกระบวนการของ KM (Knowledge Management หรือ การจัดความรู้ รวมถึง LO หรือ Learning Organization ด้วยว่า ตอนนี้เราพยายามหาพร้อม “สร้าง” หลักการทฤษฎีต่าง ๆ ใส่เข้าไปในทั้งคนและองค์กร ทั้ง ๆ ที่คนและองค์กรนั้นเขาก็ทำเป็นปกติ ธรรมดา และ “ธรรมชาติ” อยู่แล้ว

ปัญหาหลัก ๆ ในปัจจุบันนี้จึงเป็นว่า “เราคิดว่าเขาไม่มี!!!”
เราคิดว่าเขาไม่มีก็เพราะว่าเขาทำคนละกรอบ คนละอย่างกับเรา แล้วสิ่งที่เขาทำคนละกรอบ คนละแบบกับเรานั้น เราจะสรุปว่าเขาไม่มี ไม่ดี ไม่เก่ง ไม่เจ๋งอย่างนั้นหรือไม่...?

แต่ในความรู้สึกของผม (ซึ่งขอย้ำว่าเป็นความเห็นส่วนตัว) ผมรู้สึกว่าเขา “เจ๋ง” กว่าเราเยอะ
เขาสามารถสร้างและพัฒนาคนและกิจการตามวัฒนธรรมองค์กรในรูปแบบของเขาได้ โดยไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยทฤษฎีอะไรมากมายคอยนำพา

ซึ่งสิ่งนี้จะเปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ จากการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันถ้าแบ่งแยกตามกลุ่มของผู้สอนจะสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ กลุ่มผู้ที่เรียนมาจาก (อาจารย์) กับกลุ่มที่ทำมาจาก (วิทยากร)

กลุ่มที่เรียนมามากนั้นส่วนใหญ่แล้วก็ต้องมี “ปริญญา” คอยแนบไว้เพื่อประกันว่า “ฉันมีความรู้”
ส่วนบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งนั้นเรียนมาน้อย แต่สามารถถูกรับเชิญเข้ามาเป็นวิทยากรและได้ชื่อเรียกว่าอาจารย์ได้เพราะเขามี “ความสำเร็จ” แนบท้ายไว้เพื่อประกันว่า “เขามีความรู้”

การทำ R2R ก็คล้ายคลึงกับสิ่งนี้คือ ทุกวันนี้เรากำลังพยายามทำหน้าที่ของ “อาจารย์” นำทฤษฎีใส่เข้าไปให้เนียนกับงานที่เขาทำ พอเราใส่เข้าไปปุ๊บ กรุ๊ปเลือดไม่ตรง คือ อยู่นอกเหนือกรอบหรือทฤษฎีของเรา เราก็หาว่าเขาทำผิด ไม่มี หรือไม่ได้ทำ สิ่งที่เขาทำผิดก็แค่เพียง “ทำไม่ถูกใจเรา” ก็เท่านั้น

จากการที่กล่าวยืดยาวมาถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่า สิ่งที่ผมพูดถึง (อาจจะตรงเกินไป) ยังไม่เอน เอียง หรือส่งผลกระทบตรง ๆ กับลูกค้าทั้งนักเรียนหรือว่า “คนป่วย” เลย
ตอนนี้เรากำลังถกเถียงกันอยู่ในแต่วงของ “คนทำงาน” ซึ่งผมก็ขอย้อนถึงหลักการของ ISO อีกครั้งหนึ่งว่า ถ้าเรามั่นใจว่าคนทำดี กระบวนการดี ผลผลิตที่จะส่งถึงมือลูกค้าดีนั้น ผมก็ขอให้ทั้งคนและกระบวนการนั้นมีมาตรฐานตามที่ตั้งใจไว้

แต่ถ้าเราเพียงแต่มองกันว่า เราจะสร้างผลงานทั้งตำแหน่ง หน้าที่ การงาน ผลงานทางวิชการให้เฉพาะคนหน้างานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ผมก็คิดว่าสิ่งที่เราทำกันอยู่นี้จะไม่คุ้มค่าเท่ากับเงินภาษีของประชาชนที่เราได้รับและทุก ๆ ฝ่ายตั้งความหวังไว้ให้เราได้จัดการกันในครั้งนี้...

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ
12 มีนาคม 2553

 

คำสำคัญ (Tags): #km#lo#r2r
หมายเลขบันทึก: 343750เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2010 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 13:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบพระคุณสำหรับความรู้

ผมว่าคงคงกลัวกันที่ชื่อด้วยครับ คิดว่าเป็นอะไรที่ไกลตัว มีวิจัยเมื่อไรก็ตัวใครตัวมัน ในมุมมองของผมอาจเริ่มจากกลุ่มที่สนใจก่อนแล้วค่อยขยายผลครับ

เป็นองค์ความรู้ในเรื่อง R2R ที่ให้แง่คิดได้ดีมากเลยครับ ถ้าเราไม่มาติดกรอบการวิจัยจนเกินไป น่าจะสามารถสร้าง R2R ได้ในทุกระดับ อย่างน้อยก็เกิดการพัฒนาตน พัฒนางาน ท้ายสุดประโยชน์ก็คงกลับมาสู่ผู้รับบริการในทางอ้อมได้เหมือนกันครับ

ปัญหาของ R2R ติดอยู่ที่กรอบจริง ๆ ดังที่ท่าน จักรี ว่า

เรา (นักวิชาการ) ชอบตั้งกรอบ ตั้งมาตรฐานลงไปว่า การทำแบบนี้ ขนาดนี้ ระดับจึงจะเรียกการวิจัย จึงจะเรียกได้ว่า "งานทางวิชาการ"

แต่ถ้าเราจะกันโดยเนื้องานของ R2R ว่าเป็นเรื่องของการพัฒนาที่หน้างานของคนทำงานแล้ว ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า คนไทยเนี่ยแหละเป็นคนที่ทำ R2R มากและประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก

ผมมั่นใจเป็นอย่างยิ่ง หากจะวัดด้วยต้นทุนทั้งทางด้านเงินและเวลา เมื่อผนวกกับผลสัมฤทธิ์ที่คนหน้างานสามารถพัฒนาวิธีการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานที่ไม่ดี ไม่ได้เรื่องกลับมาทำให้ดีและใช้งานได้อย่างมหัศจรรย์

ทำไมผมจึงมั่นใจเช่นนั้น เพราะคนไทยมีโอกาสที่จะพัฒนางานด้วย R2R มากกว่าคนชาติอื่น ๆ ในเรื่องนี้ต้องขอบคุณผู้บริหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักการเมืองที่คอรัปชั่นกันจนวัสดุและอุปกรณ์ที่ส่งถึงมือผู้ใช้งานส่วนใหญ่นั้นจะไม่ค่อยได้มาตรฐาน

การที่ได้รับอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยได้เรื่องหรือไม่ได้มาตรฐานนี้เองเป็นโอกาสที่จะทำให้คนหน้างานต้องพัฒนาของที่ใช้ไม่ได้กลับให้ใช้ได้ด้วย R2R

ยกตัวอย่างง่าย ๆ อาทิ รถเข็นผู้ป่วยที่เป็นรถเข็นสแตนเลสทั้งแบบรถและแบบเตียง แต่ละโรงพยาบาลก็มีการให้ผู้ผลิต ร้านนั้น ร้านนี้ประมูลแล้วก็สร้างด้วยรูปแบบที่แตกต่างกันไป

ถึงแม้นว่าจะมีแบบมาตรฐานกลาง แต่ทว่า การลั่วไหลในการประมูลหรือเสนอราคานั้นจะเป็นปัจจัยส่งผลให้อุปกรณ์ที่ได้มาใช้นานนั้นต่ำกว่ามาตรฐาน

แต่เมื่อได้มาแล้วคนที่ "ซวย" ก็คือคนใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นพนักงานตัวน้อย ๆ เงินเดือนกระจิ๊ด กระจ้อยร่อย จะไปพูดมาก บ่นมากก็ไม่ได้ ก็ต้องทนใช้ของที่ไม่ได้มาตรฐานนั้น

เมื่อของไม่ได้มาตรฐานใช้ไปซักพักก็พัง พังแล้วจะซ่อมก็ไม่มีงบ หรือกว่าจะรองบมาคนป่วยก็จะตายซะก่อน ดังนั้น วิชาช่างที่มีอยู่ในสายเลือดชาวไทย ก็ประยุกตร์ หรือที่วัยรุ่นมักเรียกกัน Adap นั้นก็สามารถปรับปรุงรถเข็นแย่ ๆ กลายเป็นรถเข็นที่สมบูรณ์ได้

ดังนั้น แค่เราได้ไปนั่งมองบุรุษพยาบาลเข็นเตียงคนไข้แค่นี้เราก็จะเห็นพัฒนาการของ R2R อย่างมากมายและสนุกสนาน

แต่ทว่าปัญหามันอยู่ที่นักวิชาการมักมองเรื่องเหล่านี้ว่า "ไร้สาระ" เพราะเป็นเรื่องที่พัฒนาจากคนที่นักวิชาการมีความเชื่อว่า "เขาโง่"

นักวิชาการมักมองว่าคนที่มีความรู้น้อยกว่าตน หรือต่ำต้อยนั้น "โง่" และสิ่งที่เขาทำนั้นก็ไม่ได้เรื่องตามไปด้วย

เมื่อกรอบของนักวิชาการเป็นแบบนั้น ก็เลยทำให้ R2R กลายเป็นอะไรที่จะต้องเกิดจากห้องประชุม ต้องเกิดจากเวทีสัมมนา หรือว่าจะต้องเกิดจากการเขียนเอกสารและได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ "เท่านั้น"

ผมจึงขอย้อนกลับไปถึงผลประโยชน์ของการวิจัยโดยทั่วไปที่นอกเหนือจาก R2R ว่าตกลงเราทำวิจัยกันทุกวันนี้เพื่อประโยชน์ของใคร

ถ้าหากเราใช้กรอบมาตรฐานเรื่องเอกสารเข้าไปคัด ไปกรองว่าอะไรควรจะเป็น R2R อะไรเป็นแค่ปัญญาไร้ค่าของคนหน้างาน เราจะทิ้งสิ่งดี ๆ ที่คนทำงานเขาพัฒนาแล้วเกิดประโยชน์ไปมากต่อมาก

ผมยังขอย้ำอีกครั้งว่า คนไทยเป็นคนที่ทำ R2R มากและประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก

ไม่ว่าจะเป็นช่างฝีมือในแขนงไหน ถ้าไปสัมผัสดูใกล้ ๆ ลองไปดูเครื่องมือที่เขาใช้ เขาสามารถประยุกตร์เครื่องมือไม่ว่าจะเป็นของฝรั่ง ของญี่ปุ่น หรือเกาหลี Adap เข้ามาใช้อะไหล่แบบไทย ๆ ได้หมด

สิ่งเหล่านี้ตกยกประโยชน์ให้กับความไม่มีมาตรฐานของคนไทย หรือว่าจะเรียกให้สวยงามตามภาษาวิชาการก็เรียกได้ว่า "ยืดหยุ่น" รู้จักประยุกตร์ใช้สิ่งของที่อยู่ใกล้ตัว

ฝรั่งหรือเมืองนอกเขาทำแบบนี้กันไม่ได้นะครับ เพราะบ้านเมืองเขามีมาตรฐาน แค่คนจะก่ออิฐสักก้อนหนึ่งยังต้องไปเข้าโรงเรียนเรียนกันไปเรื่องเป็นราว แต่บ้านเรานั้นคนที่ได้ไปสัมผัสใกล้ๆ ทำกันได้แทบทุกคนเพราะคนไทยนั้นเก่งที่สุดในโลกอยู่แล้ว

ความหัวรั้นก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งของนักทำ R2R ที่ดี ก็คือ ใครบอกอะไร (กู) ก็ไม่เชื่อ ที่มึงบอกไม่ดี กูจะขอลองทำแบบนี้ แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่สุดยอดที่สุดของคนที่จะหวังก้าวหน้าตามหลักการของ R2R

เพราะถ้าใครเป็นพวกหัวอ่อน ก็มักจะทำตามเขาไปเรื่อย เขาบอกอะไรว่าดีก็ทำตามเขาไปอย่างนั้น

ชอบลัดขั้นตอน

คุณสมบัติของคนไทยอีกแง่หนึ่งที่เป็นนักทำ R2R ที่ดีได้ก็คือ ชอบลัดขั้นตอน ลัดแล้วดีด้วย คือ รู้จักประยุกตร์ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอะไรที่มันเว่อร์ ๆ ที่นักวิชาการแบบนั่งโต๊ะเขียนมาก็รู้จักตัดออกไปบ้าง กล้าได้ กล้าเสีย

สิ่งที่เขียนมาเกี่ยวกับคนทำ R2R ในเมืองไทยถ้านักวิชาการอ่านเผิน ๆ จะมองว่าเป็นพวก "ชุ่ย" ไม่ชอบทำงานตามระบบ ระเบียบ

แต่สิ่งนี้ต้องขอย้อนกลับไปถึงเรื่องของระบบ ระเบียบด้วยครับ เพราะระบบ ระเบียบของเมืองนอกนั้น เขาออกมาจากคนทำงานที่หน้างาน คือ ออกมาจากคนทำงานจริง ๆ ดังนั้น เมื่อคนทำงานจริงเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน เขาจะเข้าใจหัวอกของคนทำงาน

แต่บ้านเรานั้นเป็นพวก "คนเขียนไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้เขียน" ดังนั้นคนเขียนส่วนใหญ่จะเรียนเยอะ อะไรดีก็เขียนไปซะหมด ส่วนคนทำถ้าทำไปตามที่นักวิชาการที่นั่งโต๊ะเขียนไว้ ก็อดตายกันพอดี เพราะกว่าจะก่ออิฐได้สักก้อนหนึ่งก็ต้องไปพิสูจน์ค่าทางเคมีกันซะก่อน

ปัญหา R2R ในวันนี้จึงอยู่ที่กรอบและตระแกรง ถ้าเราตั้งกรอบแล้วถือกรอบเดินเข้าไปหาคนทำงาน ก็ยากนักที่จะหาเจอ และถ้ายิ่งเราตั้งรูของตระแกรงไว้ว่าจะต้องเป็นผลงานทางวิชาการ ก็ต้องทำกันอีกหลายสิบหลายร้อยปี

แล้วสุดท้ายเราจะตั้งกรอบแล้วมีตระแกรงเหล่านี้ไว้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่ใคร...?

ยืนยันเลยครับว่า R2R เป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมครับท่านอาจารย์ ผมทำป.เก ตอนแรกก็ไม่รู้ทำไปทำไป พอทำไปรู้เลยครับว่า เป็นกระบวนการสร้างนวัตกรรมชัดๆเลยครับ

แต่ก่อนสอนวิชาความคิดสร้างสรรค์จะใช้เรื่องมืออื่นๆ ตอนนี้ผมไม่ค่อยใข้แล้วครับ จะใช้ R2R แทนครับ ได้ผลกว่าจริงๆครับ

เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และควรนำไปใช้ค่ะ

หลาย ๆ ครั้งเวลาที่ผมทำงานแล้วต้องหยุดและย้อนกลับมาถามตัวเองว่า เอ๊ะ...นี่เราทำไปเพื่อใคร

ทำไมเวลาเราคิด เราจะทำอะไร ทำไมเราถึงมองเห็นแต่ผลประโยชน์ของตนเอง สิ่งที่เราทำนี่เพื่อเราเองหรือเพื่อนักศึกษากันแน่...?

หลาย ๆ ครั้งผมก็พบว่า แผนที่วางไว้นั้นเป็นแผนการณ์ที่ "เห็นแก่ตัว" สิ้นดี เพราะมีแต่ที่จะเอาดีใส่ตัว แล้วไม่เห็นหัวคนที่เราจะต้องมุ่งให้ประโยชน์กับเขาอย่างแท้จริง

เมื่อก่อนผมทำพลาดมาเยอะ วันนี้ยังดีที่มีโอกาสนั่งย้อนกลับไปแล้วทบทวนความคิด

บางครั้งเวลาที่เราวิ่งวนอยู่ในสนาม เราก็มองไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด ไม่เห็นเป้าหมาย ไม่เห็นเส้นชัย ใครเขาวิ่งไปทางไหน เราก็วิ่งไปทางนั้น

หรือบางครั้งก็ด้วยวัฒนธรรมไทย ๆ ที่เกรงใจกันบ้าง ต้องทำตามคำสั่งบ้าง อยู่ได้ ถ้าอยู่เป็น

คนทำงานเป็นจึงเป็นคนที่ต้องทำงานตามคำสั่ง ห้ามหือ ได้แต่ "อือ..."

แต่ผมทำในทางกลับกันคือมีแต่หีอ ไม่มี "อือ..."

ดังนั้น ความเจริญก้าวหน้าในชีวิตรวมถึงการทำงานของผมนั้นจึงไม่มี หรือหาไม่ได้ง่ายนัก

การต่อสู้ด้วยอุดมการณ์ของคนในสังคมนี้จึงเต็มไปด้วยขวากและหนาม

สองเท้าของนักต่อสู้นั้นจึงเปียกไปด้วยเลือดและความเจ็บปวดที่โดนขวากหนามทั้งหลายมาทิ่มแทง

แต่ในวันหนึ่งผมยังเชื่อว่า เท้าของผมนั้นจะด้านและหนาพอที่จะเดินบนถนนที่มีแต่ขวากและหนามสายนี้

ถนนที่น้อยคนนักจะเลือกเดิน ถนนที่เดินทวนกระแสน้ำ ถนนที่ไม่ยอมให้กายและใจลอยไปตามน้ำ

แม้นว่าการลอยไปตามน้ำจะง่าย เพียงแค่ยึดคติว่า ได้ครับพี่ ดีครับผม เหมาะสมครับท่าน ผมก็ขอใช้คำพูดที่สั้นกว่านั้นคือ "ไม่ ไม่ ไม่ และ ไม่..."

ถึงวันนี้ใครต่อใครหลายคนที่ผมรู้จัก ผมนับถือ ยังใช้การเลื่อน การไหลไปตามน้ำ แต่ผมขอสละมือออกจากคนที่อ่อนแอแล้วปล่อยตัวปล่อยใจให้ไหลไปตามกระแสของน้ำนั้น

แม้นโบราณท่านจะว่า น้ำเชี่ยวอย่าเอาเรือเข้าไปขวาง ที่ผมพูดอย่างนี้ก็ใช่ว่าผมก็เอาเรือหรือชีวิตของผมนี้ไปขวางหรอกครับ แต่ผมขอพายทวนน้ำที่ไหลเชี่ยวนั้น

ถึงแม้นว่าการพายเรือในน้ำที่ไหลเชี่ยวของผม จะไม่สามารถทำให้ผมเดินหน้าต่อไปได้

ถึงแม้นว่าการพายเรือทวนกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวนั้นจะทำให้ผมถอยหลังจากจุดเดิมนี้ลงไป ผมก็ยังมั่นใจว่า ผมคงจะไม่ถอยไปไกลเหมือนกับคนที่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกระแสน้ำนั้น

เอานะ ลองสู้กันสักตั้ง ต้องสู้ สู้กัน เพราะถึงอย่างไรนั้นก็แค่ตาย... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท